นักวิชาการศึกษา เตือน! “จาตุรนต์” ระวังเจอแรงต้านกลุ่มครูที่ไม่เอาด้วยแนวคิด เกลี่ยอัตราครู ร.ร.ใหญ่แก้ปัญหาครูขาด ชี้ครูที่มาอยู่ในเมือง หรือ ร.ร.ใหญ่ได้ ส่วนใหญ่มักใช้ระบบเส้นสาย แต่ส่วนตัวเห็นด้วย
วันนี้ (22 ส.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายที่จะแก้ปัญหาขาดแคลนครู โดยมีแนวคิดเกลี่ยครูไปโรงเรียนที่ขาดแคลนครู โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ไปแก้ไขหลักเกณฑ์การโยกย้าย ว่า คิดว่าเป้าหมายของ รมว.ศึกษาธิการ นั้นไม่อยากให้เกิดการกระจุกตัวของครู เพราะส่วนใหญ่แล้วครูที่มีความสามารถ มีประสบการณ์สูง ก็มักจะขอย้ายไปอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ ส่วนข้อเสนอให้ใช้วิธีตัดโอนอัตรากำลังจากโรงเรียนที่มีครูเกินไปยังโรงเรียนที่ขาดแคลนครู ซึ่งจะเป็นการบังคับโดยอัตโนมัติให้ครูต้องย้ายตามอัตรากำลังไปในโรงเรียนที่ขาดครู นั้น ก.ค.ศ.จะต้องกลับไปดูหลักเกณฑ์การโอนย้าย เพราะขณะนี้การโอนย้ายส่วนใหญ่เป็นไปตามความประสงค์ของครู ไม่ได้เป็นการย้ายโดยมองประโยชน์ในเชิงบริหารจัดการอัตรากำลัง แต่หากจะเน้นโอนย้ายในเชิงบริหารอย่างเดียวก็อาจจะไปขัดต่อความประสงค์ของครู ตรงนี้ทาง ก.ค.ศ.คงต้องยกขึ้นมาเป็นประเด็นหารือในเชิงนโยบายเพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ให้ชัดเจนขึ้น
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางแก้ปัญหาของนายจาตุรนต์ ที่เสนอให้มีการเกลี่ยครูไปในโรงเรียนที่ขาด เพราะต้องยอมรับความจริงว่าเราไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนครู แต่เรามีปัญหาครูกระจุกตัว โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ และในโรงเรียนดัง ซึ่งหากทำสำเร็จจะสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนครูได้ โดยไม่จำเป็นต้องขออัตราบรรจุเพิ่ม หรือขอขยายอายุราชการขอครูที่เกษียณอายุเป็น 65 ปี ซึ่งครูที่เกษียณอายุราชการไปแล้วแม้จะมีประสบการณ์การสอนสูง แต่ก็อาจก้าวไปทันเด็กในยุคศตวรรษที่ 21
“หากนายจาตุรนต์จะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวจริง ต้องระวังเรื่องแรงต้าน เพราะครูที่สามารถย้ายไปอยู่ในเมือง หรือโรงเรียนดังได้ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบเส้นสาย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่มีมานาน นายจาตุรนต์ จะต้องแก้ปัญหาตรงนี้ให้ได้ก่อน จึงจะสามารถไปปรับระบบหรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ในภาพรวมได้” นายสมพงษ์ กล่าว
วันนี้ (22 ส.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายที่จะแก้ปัญหาขาดแคลนครู โดยมีแนวคิดเกลี่ยครูไปโรงเรียนที่ขาดแคลนครู โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ไปแก้ไขหลักเกณฑ์การโยกย้าย ว่า คิดว่าเป้าหมายของ รมว.ศึกษาธิการ นั้นไม่อยากให้เกิดการกระจุกตัวของครู เพราะส่วนใหญ่แล้วครูที่มีความสามารถ มีประสบการณ์สูง ก็มักจะขอย้ายไปอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ ส่วนข้อเสนอให้ใช้วิธีตัดโอนอัตรากำลังจากโรงเรียนที่มีครูเกินไปยังโรงเรียนที่ขาดแคลนครู ซึ่งจะเป็นการบังคับโดยอัตโนมัติให้ครูต้องย้ายตามอัตรากำลังไปในโรงเรียนที่ขาดครู นั้น ก.ค.ศ.จะต้องกลับไปดูหลักเกณฑ์การโอนย้าย เพราะขณะนี้การโอนย้ายส่วนใหญ่เป็นไปตามความประสงค์ของครู ไม่ได้เป็นการย้ายโดยมองประโยชน์ในเชิงบริหารจัดการอัตรากำลัง แต่หากจะเน้นโอนย้ายในเชิงบริหารอย่างเดียวก็อาจจะไปขัดต่อความประสงค์ของครู ตรงนี้ทาง ก.ค.ศ.คงต้องยกขึ้นมาเป็นประเด็นหารือในเชิงนโยบายเพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ให้ชัดเจนขึ้น
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางแก้ปัญหาของนายจาตุรนต์ ที่เสนอให้มีการเกลี่ยครูไปในโรงเรียนที่ขาด เพราะต้องยอมรับความจริงว่าเราไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนครู แต่เรามีปัญหาครูกระจุกตัว โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ และในโรงเรียนดัง ซึ่งหากทำสำเร็จจะสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนครูได้ โดยไม่จำเป็นต้องขออัตราบรรจุเพิ่ม หรือขอขยายอายุราชการขอครูที่เกษียณอายุเป็น 65 ปี ซึ่งครูที่เกษียณอายุราชการไปแล้วแม้จะมีประสบการณ์การสอนสูง แต่ก็อาจก้าวไปทันเด็กในยุคศตวรรษที่ 21
“หากนายจาตุรนต์จะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวจริง ต้องระวังเรื่องแรงต้าน เพราะครูที่สามารถย้ายไปอยู่ในเมือง หรือโรงเรียนดังได้ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบเส้นสาย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่มีมานาน นายจาตุรนต์ จะต้องแก้ปัญหาตรงนี้ให้ได้ก่อน จึงจะสามารถไปปรับระบบหรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ในภาพรวมได้” นายสมพงษ์ กล่าว