รพ.บุรีรัมย์ ฟุ้งตั้งศูนย์รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไร้รอยต่อทั้งจังหวัด พร้อมเปิดช่องทางด่วนพบแพทย์ 24 ชั่วโมง ให้ได้รับยาละลายลิ่มเลือดได้เร็ว ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น 16 เท่า ชี้จัดส่งทีมดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคนี้ถึงบ้าน ช่วยลดอัตราตายเหลือร้อยละ 5
วันนี้ (11 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังติดตามการดำเนินงานการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งระบบไร้รอยต่อของ จ.บุรีรัมย์ (Buriram Stroke Model) โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลลำปลายมาศ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โคกล่าม ว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอันดับที่ 3 และมีแนวโน้มสูงขึ้น มีอัตราความชุกโรค 1,850 คนต่อประชากร 1 แสนคน คาดว่าปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต จึงถือเป็น 1 ใน 10 ปัญหาสุขภาพที่ สธ.เร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาเป็นบริการระดับตติยภูมิเฉพาะด้าน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า การได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.38 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 2.23 ในปี 2555 อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 8.46 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 7.53 ในปี 2555 โดยปี 2556 ได้พัฒนาให้มีศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ในรูปแบบเครือข่ายบริการทุกเขตบริการ มีโรงพยาบาลเข้าร่วมแล้วหลายแห่ง
“สำหรับ จ.บุรีรัมย์ พบแนวโน้มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลจาก รพ.บุรีรัมย์ มีผู้ป่วยรายใหม่เข้ารักษาปีละประมาณ 1,800 ราย ร้อยละ 70 เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงมาก่อน รพ.บุรีรัมย์ ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 9 นครราชสีมา พัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรไร้รอยต่อทั้งจังหวัด ตั้งแต่ปี 2553 โดยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ รพ.สต. รพช.และ รพ.บุรีรัมย์” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เครือข่ายดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรนั้น ได้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ ให้รู้สัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง 3 อาการหลัก คือแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยวพูดไม่ได้ และตามองเห็นภาพซ้อน ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลจังหวัดทันที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดได้ทันภายใน 4.5 ชั่วโมง ซึ่งจะลดความพิการและความรุนแรงลงได้ โดย รพ.บุรีรัมย์ จัดช่องทางด่วนรับผู้ป่วยโดยเฉพาะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย และรับยาละลายลิ่มเลือดใน 1 ชั่วโมงตามมาตรฐานสากล ซึ่งให้การดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต 24 ชั่วโมง หากอาการปลอดภัยจะย้ายเข้าหอผู้ป่วยสามัญ และส่งต่อไปฟื้นฟูที่ รพช.ใกล้บ้าน ทั้งนี้ หลังจากเปิดบริการช่องทางด่วน ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากไม่ถึงร้อยละ 1 ในปี 2554 เพิ่มเป็นร้อยละ 16.4 หรือ 16 เท่าตัว หรือประมาณ ปีละ 150 ราย
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการแล้วไม่ไปพบแพทย์ทันทีและเกิดความพิการ เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นกลุ่มใหญ่พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยยาจะไม่ได้ผล จึงได้เน้นจัดระบบดูแลฟื้นฟูความพิการ ลดการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน เพราะผู้ป่วยจะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยจัดระบบให้ รพช.ทั้ง 21 แห่ง เพิ่มหน่วยบริการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยแห่งละ 2 เตียง จัดอบรมสหวิชาชีพ ดูแลทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน โดยจะมีการส่งประวัติการรักษาผู้ป่วยทุกรายจาก รพ.บุรีรัมย์ ให้ รพช. และ รพ.สต.ที่ดูแลต่อ ผลปรากฏว่า ได้ผลดี อัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 5 ต่ำกว่าระดับประเทศที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 7
“ในระยะยาววางแผนจะเน้นการป้องกันเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ติดตามความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันผู้ป่วยให้ต่อเนื่อง หากผิดปกติให้หาสาเหตุทุกราย เพื่อลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ การรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ ประคับประคองไม่ให้เกิดความพิการ โดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญหากประชาชนรู้จักอาการสัญญาณเตือนโรคแต่เนิ่นๆ และพบแพทย์ได้เร็วที่สุด จะลดความพิการ ลดการตายได้ และลดภาระญาติได้ เพราะหากเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตแล้วจะใช้เวลาฟื้นฟูไม่ต่ำกว่า 1 ปี” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (11 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังติดตามการดำเนินงานการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งระบบไร้รอยต่อของ จ.บุรีรัมย์ (Buriram Stroke Model) โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลลำปลายมาศ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โคกล่าม ว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอันดับที่ 3 และมีแนวโน้มสูงขึ้น มีอัตราความชุกโรค 1,850 คนต่อประชากร 1 แสนคน คาดว่าปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต จึงถือเป็น 1 ใน 10 ปัญหาสุขภาพที่ สธ.เร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาเป็นบริการระดับตติยภูมิเฉพาะด้าน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า การได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.38 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 2.23 ในปี 2555 อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 8.46 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 7.53 ในปี 2555 โดยปี 2556 ได้พัฒนาให้มีศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ในรูปแบบเครือข่ายบริการทุกเขตบริการ มีโรงพยาบาลเข้าร่วมแล้วหลายแห่ง
“สำหรับ จ.บุรีรัมย์ พบแนวโน้มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลจาก รพ.บุรีรัมย์ มีผู้ป่วยรายใหม่เข้ารักษาปีละประมาณ 1,800 ราย ร้อยละ 70 เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงมาก่อน รพ.บุรีรัมย์ ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 9 นครราชสีมา พัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรไร้รอยต่อทั้งจังหวัด ตั้งแต่ปี 2553 โดยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ รพ.สต. รพช.และ รพ.บุรีรัมย์” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เครือข่ายดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรนั้น ได้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ ให้รู้สัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง 3 อาการหลัก คือแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยวพูดไม่ได้ และตามองเห็นภาพซ้อน ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลจังหวัดทันที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดได้ทันภายใน 4.5 ชั่วโมง ซึ่งจะลดความพิการและความรุนแรงลงได้ โดย รพ.บุรีรัมย์ จัดช่องทางด่วนรับผู้ป่วยโดยเฉพาะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย และรับยาละลายลิ่มเลือดใน 1 ชั่วโมงตามมาตรฐานสากล ซึ่งให้การดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต 24 ชั่วโมง หากอาการปลอดภัยจะย้ายเข้าหอผู้ป่วยสามัญ และส่งต่อไปฟื้นฟูที่ รพช.ใกล้บ้าน ทั้งนี้ หลังจากเปิดบริการช่องทางด่วน ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากไม่ถึงร้อยละ 1 ในปี 2554 เพิ่มเป็นร้อยละ 16.4 หรือ 16 เท่าตัว หรือประมาณ ปีละ 150 ราย
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการแล้วไม่ไปพบแพทย์ทันทีและเกิดความพิการ เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นกลุ่มใหญ่พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยยาจะไม่ได้ผล จึงได้เน้นจัดระบบดูแลฟื้นฟูความพิการ ลดการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน เพราะผู้ป่วยจะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยจัดระบบให้ รพช.ทั้ง 21 แห่ง เพิ่มหน่วยบริการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยแห่งละ 2 เตียง จัดอบรมสหวิชาชีพ ดูแลทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน โดยจะมีการส่งประวัติการรักษาผู้ป่วยทุกรายจาก รพ.บุรีรัมย์ ให้ รพช. และ รพ.สต.ที่ดูแลต่อ ผลปรากฏว่า ได้ผลดี อัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 5 ต่ำกว่าระดับประเทศที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 7
“ในระยะยาววางแผนจะเน้นการป้องกันเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ติดตามความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันผู้ป่วยให้ต่อเนื่อง หากผิดปกติให้หาสาเหตุทุกราย เพื่อลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ การรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ ประคับประคองไม่ให้เกิดความพิการ โดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญหากประชาชนรู้จักอาการสัญญาณเตือนโรคแต่เนิ่นๆ และพบแพทย์ได้เร็วที่สุด จะลดความพิการ ลดการตายได้ และลดภาระญาติได้ เพราะหากเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตแล้วจะใช้เวลาฟื้นฟูไม่ต่ำกว่า 1 ปี” รมว.สาธารณสุข กล่าว