คนไทยป่วยเบาหวานกว่า 3 ล้านคน ตายวันละ 21 คน และจะเพิ่มอีก 2 เท่า ภายใน 26 ปีข้างหน้า เหตุมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เสี่ยงเกิดหลอดเลือดหัวใจและสมองสูงกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า มากกว่าครึ่งพบความผิดปกติปลายระบบประสาทและเซ็กซ์เสื่อมในผู้ชาย แนะป้องกันด้วย 3อ.2ส.
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคเรื้อรังกำลังเข้าขั้นวิกฤต และเป็นโรคที่ชาวเอเชียเป็นกันมาก โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ทั้งนี้ ในปี 2554 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 374 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน ในอีก 20 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้ 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเพิ่มจาก 58.7 ล้านคน เป็น 101 ล้านคน ในปี 2573
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทย ช่วงปี 2551-2552 ความชุกของโรคเบาหวานร้อยละ 6.9 หรือประมาณ 3.5 ล้านคน ความชุกในผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย แต่มีถึง 1.1 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วย และไม่สามารถควบคุมได้ 1.7 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านคน เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 คน ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูง 2-4 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติ และมากกว่าครึ่งพบความผิดปกติของปลายระบบประสาท และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
“ปี 2553 พบผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน ทั้งหมด 6,855 คน หรือวันละ 19 คน คิดเป็นอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน เท่ากับ 10.8 ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัด สธ.จำนวน 607,828 ครั้ง จากข้อมูลสถานการณ์โรคเบาหวานของไทย ภายในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2544-2553 พบว่า อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 4 เท่า และปี 2554 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 21 คนต่อวัน หากไม่มีการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ คาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในระยะเวลา 26 ปีข้างหน้า” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินมาตรฐาน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากจะทำให้เลือดมีความเข้มข้นและหนืดมากขึ้น หัวใจทำงานหนักขึ้น หลอดเลือดรับแรงดันมากขึ้น ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา โรคเบาหวานมี 2 ชนิด คือ 1.ต้องพึ่งอินซูลิน ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม การรักษาจะใช้การฉีดยาอินซูลิน เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายไปทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อน และ 2.ป้องกันได้ ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน จากการมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม การใช้ชีวิตประจำวันโดยขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงมีโอกาสหายจากโรคเบาหวานชนิดนี้ได้โดยไม่ต้องรับประทานยาตลอดชีวิต
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า อาการของโรคเบาหวานมีวิธีสังเกตดังนี้ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย แผลหายช้า คันตามผิวหนัง ขาดสมาธิ อาเจียน ปวดท้อง ชาปลายมือปลายเท้า บุคคลที่เสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ บุคคลอายุ 50 ปีขึ้นไป คนอ้วน/อ้วนลงพุง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีประวัติ พ่อ แม่ พี่น้องสายตรงเป็นเบาหวาน การป้องกันโรคเบาหวานต้องใช้หลัก โดยใช้หลัก 3อ. 2ส.ได้แก่ อาหาร การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และมีสัดส่วนเหมาะสม รับประทานผักและผลไม้มากขึ้น รับประทานปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มมากเกินไป หรืออาหารฟาสต์ฟูด ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลม
ออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นอย่างน้อย จำกัดชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์ของไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น อารมณ์ มีการจัดการกับอารมณ์ ฝึกสมาธิ และผ่อนคลายความเครียด การเผชิญกับปัญหาและแก้ปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม ยืดเส้นยืดสาย ไม่น้อยกว่า 5 นาที ฟังเพลง ทำงานอดิเรก พบปะเพื่อน จัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สดใส สร้างแรงจูงใจใน และสิ่งสำคัญคือ 2ส.ได้แก่ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคเรื้อรังกำลังเข้าขั้นวิกฤต และเป็นโรคที่ชาวเอเชียเป็นกันมาก โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ทั้งนี้ ในปี 2554 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 374 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน ในอีก 20 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้ 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเพิ่มจาก 58.7 ล้านคน เป็น 101 ล้านคน ในปี 2573
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทย ช่วงปี 2551-2552 ความชุกของโรคเบาหวานร้อยละ 6.9 หรือประมาณ 3.5 ล้านคน ความชุกในผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย แต่มีถึง 1.1 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วย และไม่สามารถควบคุมได้ 1.7 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านคน เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 คน ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูง 2-4 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติ และมากกว่าครึ่งพบความผิดปกติของปลายระบบประสาท และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
“ปี 2553 พบผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน ทั้งหมด 6,855 คน หรือวันละ 19 คน คิดเป็นอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน เท่ากับ 10.8 ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัด สธ.จำนวน 607,828 ครั้ง จากข้อมูลสถานการณ์โรคเบาหวานของไทย ภายในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2544-2553 พบว่า อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 4 เท่า และปี 2554 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 21 คนต่อวัน หากไม่มีการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ คาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในระยะเวลา 26 ปีข้างหน้า” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินมาตรฐาน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากจะทำให้เลือดมีความเข้มข้นและหนืดมากขึ้น หัวใจทำงานหนักขึ้น หลอดเลือดรับแรงดันมากขึ้น ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา โรคเบาหวานมี 2 ชนิด คือ 1.ต้องพึ่งอินซูลิน ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม การรักษาจะใช้การฉีดยาอินซูลิน เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายไปทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อน และ 2.ป้องกันได้ ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน จากการมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม การใช้ชีวิตประจำวันโดยขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงมีโอกาสหายจากโรคเบาหวานชนิดนี้ได้โดยไม่ต้องรับประทานยาตลอดชีวิต
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า อาการของโรคเบาหวานมีวิธีสังเกตดังนี้ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย แผลหายช้า คันตามผิวหนัง ขาดสมาธิ อาเจียน ปวดท้อง ชาปลายมือปลายเท้า บุคคลที่เสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ บุคคลอายุ 50 ปีขึ้นไป คนอ้วน/อ้วนลงพุง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีประวัติ พ่อ แม่ พี่น้องสายตรงเป็นเบาหวาน การป้องกันโรคเบาหวานต้องใช้หลัก โดยใช้หลัก 3อ. 2ส.ได้แก่ อาหาร การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และมีสัดส่วนเหมาะสม รับประทานผักและผลไม้มากขึ้น รับประทานปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มมากเกินไป หรืออาหารฟาสต์ฟูด ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลม
ออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นอย่างน้อย จำกัดชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์ของไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น อารมณ์ มีการจัดการกับอารมณ์ ฝึกสมาธิ และผ่อนคลายความเครียด การเผชิญกับปัญหาและแก้ปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม ยืดเส้นยืดสาย ไม่น้อยกว่า 5 นาที ฟังเพลง ทำงานอดิเรก พบปะเพื่อน จัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สดใส สร้างแรงจูงใจใน และสิ่งสำคัญคือ 2ส.ได้แก่ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา