หมอชนบทเตรียมเสนอหลักเกณฑ์จ่ายค่าตอบแทนฉบับ 10.1 เพิ่มเงินให้วิชาชีพพยาบาลและสายอาชีพอื่นๆ มั่นใจลดความเหลื่อมล้ำ หลังเจอกระแสเสนอร่างฉบับ 10 อาจทำให้เพื่อนร่วมวิชาชีพได้เงินน้อยลง ลั่น 20 มิ.ย.ประกาศจุดยืนเรียกร้องคณะทำงานเยียวยา P4P
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทเสนอให้ใช้คำว่า PQO (Pay for Quality and Outcome) แทนคำว่า P4P (Pay for Performance) ว่า หากเข้าใจในหลักการของคำว่า Performance ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะในเรื่องของวิธีทำ อย่างที่โรงพยาบาลชุมชนเสนอก็ถือว่าถูกต้อง เพราะการทำ P4P ก็ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพงานที่ได้รับและผลลัพธ์ที่จะเกิดกับประชาชนผู้รับบริการด้วย ดังนั้น ในรายละเอียดจะเป็นชื่ออะไรก็ไม่มีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทเสนอร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้เป็นฉบับที่ 10 ซึ่งนำเนื้อหาจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโรงพยาบาลชุมชนฉบับ 4 และ 6 มาปรับปรุงว่าทำได้หรือไม่ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ต้องอยู่ที่คณะทำงาน P4P พิจารณา เนื่องจากจะมีจากหลากหลายวิชาชีพ ที่สำคัญต้องไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในแต่ละวิชาชีพ และเงินที่ได้รับต้องไม่น้อยกว่าเดิม เมื่อมีการจ่ายตาม P4P แล้ว
ดร.คณิศ กล่าวว่า ไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตาม แต่หลักการยังเหมือนเดิม โดยทุกคนต้องอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน คือ มีการวัดผลการปฏิบัติงาน ส่วนจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละส่วน ซึ่งสามารถจ่ายได้ทั้งบุคคลและทั้งทีม ตรงนี้ต้องหารือในคณะทำงานฯ เพราะต้องเข้าใจว่าเมื่อนำงบประมาณมาใช้ก็ต้องมีการวัดผล เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการใช้งบนั้นๆ สำหรับการประชุมคณะทำงานฯในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปในประเด็นการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำและไม่ทำ P4P
เมื่อผู้สื่อข่าวถามไปยัง นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ว่า การที่ใช้ฉบับ 10 ซึ่งอิงเนื้อหาจากฉบับ 4 และ 6 จะส่งผลต่อวิชาชีพอื่นหรือไม่ โดยเฉพาะวิชาชีพพยาบาล เพราะได้รับเงินน้อยเหมือนเดิมคือ ทำงานเริ่มแรกได้ค่าตอบแทนเพียง 1,200 บาทต่อเดือน นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ได้พูดคุยกับวิชาชีพพยาบาลแล้วว่าจะเสนอในที่ประชุมคณะทำงานฯ ให้มีร่างแนวทางการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมฉบับ 10.1 ให้กับวิชาชีพพยาบาล และสายอาชีพอื่นๆ อย่างพยาบาล จะได้รับเงินค่าตอบแทนเริ่มต้นที่เดือนละ 1,800 บาท ส่วนบุคลากรอื่นๆ ที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา อย่างธุรการหรือการเงินจากเดิม 600 บาท ก็จะได้รับเป็น 900 บาท เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวทางลดความเหลื่อมล้ำ
เมื่อถามถึงการเสนอผลการประชุมคณะทำงานฯ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ในการประชุมใหญ่บุคลากรโรงพยาบาลชุมชนวันที่ 20 มิ.ย.ที่โรงแรมเซนทราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ศูนย์ราชการฯ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า จะมีการพูดในภาพรวมทั้งหมด ทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม ซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ประเด็นเรื่องค่าตอบแทน การเยียวยา และ P4P ซึ่งตรงนี้อยู่ที่บุคลากรโรงพยาบาลชุมชนว่าพอใจหรือไม่ ส่วนแนวทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องนายกรัฐมนตรี ขอให้รอการประชุมวันที่ 20 มิ.ย.ก่อนจึงจะสรุปได้
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ในการประชุมบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมชน จะมีการประกาศจุดยืนเรียกร้องให้คณะทำงานฯ ดำเนินการเรื่องการเยียวยาผลกระทบจาก P4P ภายในเดือนมิ.ย.นี้ หากไม่ดำเนินการคงต้องมีการพิจารณาถึงแนวทางเคลื่อนไหวต่อไป
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า ตนกังวลเรื่องที่มีการเสนอให้ใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินฉบับ 10 ที่อิงฉบับ 4 และ 6 ตรงนี้อาจส่งผลกระทบต่อวิชาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะพยาบาล เพราะในฉบับ 4 และ 6 ได้รับค่าตอบแทนน้อยเริ่มที่เดือนละ 1,200-1,800 บาทเท่านั้น
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทเสนอให้ใช้คำว่า PQO (Pay for Quality and Outcome) แทนคำว่า P4P (Pay for Performance) ว่า หากเข้าใจในหลักการของคำว่า Performance ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะในเรื่องของวิธีทำ อย่างที่โรงพยาบาลชุมชนเสนอก็ถือว่าถูกต้อง เพราะการทำ P4P ก็ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพงานที่ได้รับและผลลัพธ์ที่จะเกิดกับประชาชนผู้รับบริการด้วย ดังนั้น ในรายละเอียดจะเป็นชื่ออะไรก็ไม่มีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทเสนอร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้เป็นฉบับที่ 10 ซึ่งนำเนื้อหาจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโรงพยาบาลชุมชนฉบับ 4 และ 6 มาปรับปรุงว่าทำได้หรือไม่ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ต้องอยู่ที่คณะทำงาน P4P พิจารณา เนื่องจากจะมีจากหลากหลายวิชาชีพ ที่สำคัญต้องไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในแต่ละวิชาชีพ และเงินที่ได้รับต้องไม่น้อยกว่าเดิม เมื่อมีการจ่ายตาม P4P แล้ว
ดร.คณิศ กล่าวว่า ไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตาม แต่หลักการยังเหมือนเดิม โดยทุกคนต้องอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน คือ มีการวัดผลการปฏิบัติงาน ส่วนจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละส่วน ซึ่งสามารถจ่ายได้ทั้งบุคคลและทั้งทีม ตรงนี้ต้องหารือในคณะทำงานฯ เพราะต้องเข้าใจว่าเมื่อนำงบประมาณมาใช้ก็ต้องมีการวัดผล เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการใช้งบนั้นๆ สำหรับการประชุมคณะทำงานฯในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปในประเด็นการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำและไม่ทำ P4P
เมื่อผู้สื่อข่าวถามไปยัง นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ว่า การที่ใช้ฉบับ 10 ซึ่งอิงเนื้อหาจากฉบับ 4 และ 6 จะส่งผลต่อวิชาชีพอื่นหรือไม่ โดยเฉพาะวิชาชีพพยาบาล เพราะได้รับเงินน้อยเหมือนเดิมคือ ทำงานเริ่มแรกได้ค่าตอบแทนเพียง 1,200 บาทต่อเดือน นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ได้พูดคุยกับวิชาชีพพยาบาลแล้วว่าจะเสนอในที่ประชุมคณะทำงานฯ ให้มีร่างแนวทางการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมฉบับ 10.1 ให้กับวิชาชีพพยาบาล และสายอาชีพอื่นๆ อย่างพยาบาล จะได้รับเงินค่าตอบแทนเริ่มต้นที่เดือนละ 1,800 บาท ส่วนบุคลากรอื่นๆ ที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา อย่างธุรการหรือการเงินจากเดิม 600 บาท ก็จะได้รับเป็น 900 บาท เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวทางลดความเหลื่อมล้ำ
เมื่อถามถึงการเสนอผลการประชุมคณะทำงานฯ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ในการประชุมใหญ่บุคลากรโรงพยาบาลชุมชนวันที่ 20 มิ.ย.ที่โรงแรมเซนทราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ศูนย์ราชการฯ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า จะมีการพูดในภาพรวมทั้งหมด ทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม ซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ประเด็นเรื่องค่าตอบแทน การเยียวยา และ P4P ซึ่งตรงนี้อยู่ที่บุคลากรโรงพยาบาลชุมชนว่าพอใจหรือไม่ ส่วนแนวทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องนายกรัฐมนตรี ขอให้รอการประชุมวันที่ 20 มิ.ย.ก่อนจึงจะสรุปได้
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ในการประชุมบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมชน จะมีการประกาศจุดยืนเรียกร้องให้คณะทำงานฯ ดำเนินการเรื่องการเยียวยาผลกระทบจาก P4P ภายในเดือนมิ.ย.นี้ หากไม่ดำเนินการคงต้องมีการพิจารณาถึงแนวทางเคลื่อนไหวต่อไป
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า ตนกังวลเรื่องที่มีการเสนอให้ใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินฉบับ 10 ที่อิงฉบับ 4 และ 6 ตรงนี้อาจส่งผลกระทบต่อวิชาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะพยาบาล เพราะในฉบับ 4 และ 6 ได้รับค่าตอบแทนน้อยเริ่มที่เดือนละ 1,200-1,800 บาทเท่านั้น