“หมอเกรียง” เชิดใส่ ไม่ขอร่วมประชุมตั้ง คกก.P4P บอกไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ต้องทำผ่าน “สุรนันทน์” เตรียมรวมตัวเคลื่อนไหว รร.เอเชีย แอร์พอร์ต 20 มิ.ย.แทนหน้าบ้านนายกฯ เพื่อหารือก่อนเคลื่อนพลต่อ ขณะที่ “หมอประดิษฐ” ขอรายชื่อ คกก.P4P และตรวจข้อมูล อภ.13 มิ.ย.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมเพื่อตั้งคณะกรรมการ P4P ปรากฏว่า ชมรมแพทย์ชนบท ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วม โดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สาเหตุที่ไม่เข้าร่วม เนื่องจากข้อตกลงในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. คือ การตั้งคณะกรรมการ และดำเนินการเรื่อง P4P จะต้องทำผ่านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขานุการการประชุม แต่การเรียกประชุมครั้งนี้กลับเป็น สธ.โดยมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.เป็นประธาน ซึ่งมองว่าไม่เป็นไปตามข้อตกลง ที่สำคัญพวกตนก็ไม่เชื่อมั่นว่า สธ.จะทำตามข้อเสนอที่ต้องการให้ใช้รายละเอียดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโรงพยาบาลชุมชนตามฉบับ 4 และ 6 การทำ P4P ต้องสมัครใจ และการเพิ่มค่าตอบแทนให้วิชาชีพอื่นด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าการไม่เข้าร่วมจะถูกมองว่าไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่ เพราะ ครม.ได้มอบให้ นพ.ประดิษฐ ดำเนินการตามข้อตกลง นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ข้อตกลงไม่ใช่ให้กระทรวงเรียกประชุมตั้งคณะกรรมการ P4P และไม่ใช่ว่าไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากพวกตนเตรียมรายชื่อที่จะเสนอเข้าร่วมคณะกรรมการชุดนี้แล้ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 13 มิ.ย.และจะส่งให้นายสุรนันทน์ และ ดร.คณิศ
“การเสนอ ครม.ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตว่า เพราะเหตุใดต้องเสนอวาระ 2 ครั้ง โดย รมว.สาธารณสุข เสนอข้อสรุปวาระที่ 6 เลขาธิการนายกฯ เสนอเข้าวาระที่ 7 แต่เป็นวาระของทั้ง สธ.และของเครือข่าย ไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใดต้องแยกกัน ไม่รวมกันเป็นวาระเดียว แสดงให้เห็นว่าต้องการเฉไฉอะไรหรือไม่” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าจะเดินหน้าประท้วงหน้าบ้านนายกฯอีกหรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่ล้มเลิกความคิด โดยในวันที่ 20 มิ.ย.แทนที่จะไปรวมตัวกันที่บ้านนายกฯ บุคลากรโรงพยาบาลชุมชนกว่า 800-1,000 คน จะรวมตัวกันที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต โดยจะนัดประชุมเพื่อติดตามปัญหาและหารือการเคลื่อนไหวว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า หากสุดท้ายไม่ได้ข้อยุติเรื่องนี้พวกตนอาจจะเดินทางจากโรงแรมเอเชียไปบ้านนายกฯก็เป็นได้ เพราะอย่างไรเสียจะไม่ยอมหยุด แต่จะเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป
ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อในส่วนของแพทย์โรงพยาบาลชุมชนที่จะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เบื้องต้นมีดังนี้ ตัวแทนชมรมแพทย์ชนบท มี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช นพ.รอซาลี ปัตยบุตร ผอ.รพ.รามัน จ.ยะลา และ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ รองประธานชมรมแพทย์ชนบท ชมรมทันตภูธร ได้แก่ ทพ.วัฒนา ทองปัสโณว์ โรงพยาบาลยุพราช จ.เลย, นพ.ยุทธนา สุทธิธนากร ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน คือ นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี รพ.50 พรรษา จ.อุบลราชธานี ตัวแทนผู้ป่วยฯ คือ นายธนพล ดอกแก้ว รองประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ชมรมคนรักหลักประกันสุขภาพ คือ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ส่วนสหภาพ อภ.คือ นายระวัย ภู่ระกา
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 16.00 น. นพ.ประดิษฐ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเรียกประชุมตัวแทนกลุ่มวิชาชีพในหน่วยบริการทุกระดับ เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานพัฒนาระบบค่าตอบแทน P4P และหารือแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา P4P ว่า การประชุมเป็นการดำเนินการตามมติที่ตกลงให้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษา P4P โดย ดร.คณิศ เลขานุการการประชุมหารือร่วม 3 ฝ่ายจะเป็นประธานคณะกรรมการ และมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.เป็นเลขานุการ ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะต้องทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันเพื่อให้ทันใช้ P4P วันที่ 1 ต.ค. 2556 โดยจะพิจารณาเรื่องค่าชดเชยกรณีทำและไม่ทำ P4P ส่วนการพิจารณารายละเอียดการทำ P4P ของโรงพยาบาลชุมชนนั้น จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการย่อยเพื่อศึกษาว่า บริบทเป็นอย่างไร เพราะโรงพยาบาลชุมชนเน้นการทำงานเชิงส่งเสริมป้องกันก็ต้องวัดผลการปฏิบัติงานตามนั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับสัดส่วนคณะกรรมการ เบื้องต้นขอให้ทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเสนอเข้ามาภายในวันที่ 13 มิ.ย. ส่วนรายชื่อสำหรับคณะทำงานที่จะเข้าไปดูข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) โดยเฉพาะกรณีข้อเท็จจริงการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากผอ.อภ.ขอให้ส่งมายัง ดร.คณิศ ภายในวันดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพื่อที่ตนจะได้ประกาศแต่งตั้งทั้ง 2 ชุดอย่างเป็นทางการ พร้อมทำงานได้ภายในสัปดาห์หน้าทันที
“ส่วนที่แพทย์ชนบทไม่เข้าร่วมประชุม ทราบว่าได้ให้เหตุผลว่า มีการสื่อสารคลาดเคลื่อน เพราะแพทย์บางส่วนเดินทางกลับต่างจังหวัด เดินทางมาเข้าร่วมไม่ได้” นพ.ประดิษฐ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมเพื่อตั้งคณะกรรมการ P4P ปรากฏว่า ชมรมแพทย์ชนบท ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วม โดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สาเหตุที่ไม่เข้าร่วม เนื่องจากข้อตกลงในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. คือ การตั้งคณะกรรมการ และดำเนินการเรื่อง P4P จะต้องทำผ่านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขานุการการประชุม แต่การเรียกประชุมครั้งนี้กลับเป็น สธ.โดยมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.เป็นประธาน ซึ่งมองว่าไม่เป็นไปตามข้อตกลง ที่สำคัญพวกตนก็ไม่เชื่อมั่นว่า สธ.จะทำตามข้อเสนอที่ต้องการให้ใช้รายละเอียดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโรงพยาบาลชุมชนตามฉบับ 4 และ 6 การทำ P4P ต้องสมัครใจ และการเพิ่มค่าตอบแทนให้วิชาชีพอื่นด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าการไม่เข้าร่วมจะถูกมองว่าไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่ เพราะ ครม.ได้มอบให้ นพ.ประดิษฐ ดำเนินการตามข้อตกลง นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ข้อตกลงไม่ใช่ให้กระทรวงเรียกประชุมตั้งคณะกรรมการ P4P และไม่ใช่ว่าไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากพวกตนเตรียมรายชื่อที่จะเสนอเข้าร่วมคณะกรรมการชุดนี้แล้ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 13 มิ.ย.และจะส่งให้นายสุรนันทน์ และ ดร.คณิศ
“การเสนอ ครม.ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตว่า เพราะเหตุใดต้องเสนอวาระ 2 ครั้ง โดย รมว.สาธารณสุข เสนอข้อสรุปวาระที่ 6 เลขาธิการนายกฯ เสนอเข้าวาระที่ 7 แต่เป็นวาระของทั้ง สธ.และของเครือข่าย ไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใดต้องแยกกัน ไม่รวมกันเป็นวาระเดียว แสดงให้เห็นว่าต้องการเฉไฉอะไรหรือไม่” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าจะเดินหน้าประท้วงหน้าบ้านนายกฯอีกหรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่ล้มเลิกความคิด โดยในวันที่ 20 มิ.ย.แทนที่จะไปรวมตัวกันที่บ้านนายกฯ บุคลากรโรงพยาบาลชุมชนกว่า 800-1,000 คน จะรวมตัวกันที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต โดยจะนัดประชุมเพื่อติดตามปัญหาและหารือการเคลื่อนไหวว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า หากสุดท้ายไม่ได้ข้อยุติเรื่องนี้พวกตนอาจจะเดินทางจากโรงแรมเอเชียไปบ้านนายกฯก็เป็นได้ เพราะอย่างไรเสียจะไม่ยอมหยุด แต่จะเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป
ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อในส่วนของแพทย์โรงพยาบาลชุมชนที่จะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เบื้องต้นมีดังนี้ ตัวแทนชมรมแพทย์ชนบท มี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช นพ.รอซาลี ปัตยบุตร ผอ.รพ.รามัน จ.ยะลา และ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ รองประธานชมรมแพทย์ชนบท ชมรมทันตภูธร ได้แก่ ทพ.วัฒนา ทองปัสโณว์ โรงพยาบาลยุพราช จ.เลย, นพ.ยุทธนา สุทธิธนากร ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน คือ นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี รพ.50 พรรษา จ.อุบลราชธานี ตัวแทนผู้ป่วยฯ คือ นายธนพล ดอกแก้ว รองประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ชมรมคนรักหลักประกันสุขภาพ คือ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ส่วนสหภาพ อภ.คือ นายระวัย ภู่ระกา
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 16.00 น. นพ.ประดิษฐ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเรียกประชุมตัวแทนกลุ่มวิชาชีพในหน่วยบริการทุกระดับ เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานพัฒนาระบบค่าตอบแทน P4P และหารือแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา P4P ว่า การประชุมเป็นการดำเนินการตามมติที่ตกลงให้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษา P4P โดย ดร.คณิศ เลขานุการการประชุมหารือร่วม 3 ฝ่ายจะเป็นประธานคณะกรรมการ และมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.เป็นเลขานุการ ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะต้องทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันเพื่อให้ทันใช้ P4P วันที่ 1 ต.ค. 2556 โดยจะพิจารณาเรื่องค่าชดเชยกรณีทำและไม่ทำ P4P ส่วนการพิจารณารายละเอียดการทำ P4P ของโรงพยาบาลชุมชนนั้น จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการย่อยเพื่อศึกษาว่า บริบทเป็นอย่างไร เพราะโรงพยาบาลชุมชนเน้นการทำงานเชิงส่งเสริมป้องกันก็ต้องวัดผลการปฏิบัติงานตามนั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับสัดส่วนคณะกรรมการ เบื้องต้นขอให้ทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเสนอเข้ามาภายในวันที่ 13 มิ.ย. ส่วนรายชื่อสำหรับคณะทำงานที่จะเข้าไปดูข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) โดยเฉพาะกรณีข้อเท็จจริงการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากผอ.อภ.ขอให้ส่งมายัง ดร.คณิศ ภายในวันดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพื่อที่ตนจะได้ประกาศแต่งตั้งทั้ง 2 ชุดอย่างเป็นทางการ พร้อมทำงานได้ภายในสัปดาห์หน้าทันที
“ส่วนที่แพทย์ชนบทไม่เข้าร่วมประชุม ทราบว่าได้ให้เหตุผลว่า มีการสื่อสารคลาดเคลื่อน เพราะแพทย์บางส่วนเดินทางกลับต่างจังหวัด เดินทางมาเข้าร่วมไม่ได้” นพ.ประดิษฐ กล่าว