“หมอประดิษฐ” ลั่นไม่คิดแปรรูป อภ. ปัดนัดผู้ผลิตยามาพบ แจงแค่ผู้ผลิตอาหารสหรัฐฯมาปรึกษาเรื่องการส่งออก พร้อมเปิดให้ตรวจสอบทุกเรื่อง ขออย่างเดียวกล่าวหาอะไรให้มีหลักฐาน อย่าเลื่อนลอย เสียงเข้มอย่าให้สุดทน กล่าวหาเสื่อมเสียมากเจอฟ้องแน่ ลั่นออกจากตำแหน่งเองหากทำสิ่งที่ทำร้ายประชาชน
วันนี้ (27 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข้อกล่าวหาต่างๆ ภายหลังคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) มีมติปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.ที่หลายฝ่ายออกมาระบุว่ามีการมุ่งเป้าแปรรูป อภ.รวมถึงกรณีความขัดแย้งภายใน สธ. ทั้งเรื่อง P4P การชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรีของกลุ่มแพทย์ชนบทและเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ ว่า การกล่าวหาว่าตนหรือรัฐบาลต้องการแปรรูป อภ.เป็นการกล่าวหาอย่างเลื่อนลอย ตนไม่เคยไปพบหรือชักจูงประธานสหภาพฯ อภ.ให้เห็นชอบเรื่องการแปรรูป ส่วนที่อดีต นพ.วิทิต ระบุว่า มีผู้ใหญ่เข้าไปคุยในเรื่องนี้ ตนไม่ทราบว่าคือใคร แต่หากหมายถึงตนขอชี้แจงว่าไม่ใช่เรื่องจริง ไม่จำเป็นต้องโน้มน้าว เพราะไม่คิดแปรรูป อภ. อยู่แล้ว มีแต่พยายามทำให้ อภ.มั่นคงมากขึ้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐของ อภ.จำนวน 75 ล้านบาท เรื่องนี้เกิดจากการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีข้อท้วงติงว่า เงินจำนวนนี้แม้ อภ.ชี้แจงว่าเป็นเงินซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเงินในการจูงใจให้ผู้ค้าจ่ายเงินตรงตามเวลา หากเป็นเช่นนี้จริงเงินจำนวนนี้ก็น่าจะเป็นเงินส่วนลดที่นำคืนเข้ารัฐโดยตรง ไม่ใช่เก็บมาใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวของหน่วยงาน ซึ่งเมื่อ สตง.ทักท้วงมาเช่นนี้ก็ขอให้ อภ.ดำเนินการเงินในส่วนนี้ให้ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายยา ถ้า อภ.ต้องการสนับสนุนกิจการของ สธ.ควรตั้งเป็นงบด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และอยู่ที่ สธ.หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะเสนอโครงการขอรับการสนับสนุน แต่ สธ.ต้องพิจารณาก่อนเพราะเป็นหัวหน้าส่วนซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
“งบส่วนนี้ในปี 2556 ยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายแต่อย่างใด และเงินยังอยู่ที่ อภ.เพราะอยู่ระหว่างการคิดแผนว่าจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างไร ไม่ได้มีการเร่งรีบใช้งบ แต่หากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายอดีต ผอ.อภ.จะเร่งรีบใช้งบอย่างไรอันนี้ตนไม่ทราบ เพราะมีการเสนอโครงการมายังผมเป็นโครงการฝึกอบรม ซึ่งผมก็ไม่ได้ทำอะไรเก็บไว้เฉยๆ แต่หากชมรมแพทย์ชนบทยังสงสัยก็ยินดีให้สตง.เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้อีกครั้งว่ามีการทำผิดระเบียบจริงหรือ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีกล่าวหาว่าตนนัดผู้ผลิตยามาหารือในช่วงปลายเดือนนั้น แท้จริงเป็นการนัดผู้ผลิตอาหารของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือกันในเรื่องการส่งออกอาหาร เป็นการนัดที่โปร่งใส อยากขอร้องผู้ที่กล่าวหาว่าควรแสดงหลักฐานด้วย เช่น กล่าวหาว่าถือหุ้นใน รพ.เอกชน หรือบริษัทยา ก็ควรนำหลักฐานมาแสดงให้ชัดเจนเพื่อที่ตนเองจะได้พิจารณาตนเอง แต่ขณะนี้ยังไม่ใช่จุดที่จะฟ้อง แต่หากเป็นการกล่าวหาที่สร้างความเสื่อมเสียหายมากก็จะพิจารณาอีกครั้ง
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า กรณีม็อบแพทย์ชนบทที่จะไปที่หน้าบ้านนายกฯ ตนไม่มีความกังวลใดๆ และได้เรียนให้นายกฯทราบแล้ว นายกฯเข้าใจและไม่ได้กังวลอะไรเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตนไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องในรูปแบบนี้ และอยากขอให้พิจารณาการดำเนินการเหมาะสม ถูกต้อง หรือมีเหตุผลหรือไม่ หากเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี แต่นโยบายยังเหมือนเดิมจะทำอย่างไร
“ผมไม่เคยคิดจะลุกจากเก้าอี้เพียงการถูกกล่าวหาในเรื่องต่างๆ เพราะสัญญาเข้ามาทำงานแล้ว ก็ต้องทำให้สำเร็จ จะลุกจากเก้าอี้ต่อเมื่อผมทำสิ่งที่ทำร้ายประชาชน หรืออยู่ในเก้าอี้แล้วไม่ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เมื่อถึงเวลานั้นผมมีศักดิ์ศรี ผมจะลาออก” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า การเข้าร่วมชุมนุมดังกล่าว สธ.จะพิจารณาผู้เข้าร่วมชุมนุมใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.การเข้าร่วมชุมนุมเป็นการทำผิดวินัยหรือไม่ เพราะทุกคนเป็นข้าราชการย่อมมีวินัยที่ต้องปฏิบัติตาม 2.การเปิดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้รับการอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาหรือกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) หรือไม่ และ 3.ทำตามจรรยาบรรณวิชาชีพหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทยสภาจะต้องพิจารณา อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้จะพยายามสื่อสารกับผู้บริหารในทุกระดับเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น
วันนี้ (27 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข้อกล่าวหาต่างๆ ภายหลังคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) มีมติปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.ที่หลายฝ่ายออกมาระบุว่ามีการมุ่งเป้าแปรรูป อภ.รวมถึงกรณีความขัดแย้งภายใน สธ. ทั้งเรื่อง P4P การชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรีของกลุ่มแพทย์ชนบทและเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ ว่า การกล่าวหาว่าตนหรือรัฐบาลต้องการแปรรูป อภ.เป็นการกล่าวหาอย่างเลื่อนลอย ตนไม่เคยไปพบหรือชักจูงประธานสหภาพฯ อภ.ให้เห็นชอบเรื่องการแปรรูป ส่วนที่อดีต นพ.วิทิต ระบุว่า มีผู้ใหญ่เข้าไปคุยในเรื่องนี้ ตนไม่ทราบว่าคือใคร แต่หากหมายถึงตนขอชี้แจงว่าไม่ใช่เรื่องจริง ไม่จำเป็นต้องโน้มน้าว เพราะไม่คิดแปรรูป อภ. อยู่แล้ว มีแต่พยายามทำให้ อภ.มั่นคงมากขึ้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐของ อภ.จำนวน 75 ล้านบาท เรื่องนี้เกิดจากการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีข้อท้วงติงว่า เงินจำนวนนี้แม้ อภ.ชี้แจงว่าเป็นเงินซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเงินในการจูงใจให้ผู้ค้าจ่ายเงินตรงตามเวลา หากเป็นเช่นนี้จริงเงินจำนวนนี้ก็น่าจะเป็นเงินส่วนลดที่นำคืนเข้ารัฐโดยตรง ไม่ใช่เก็บมาใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวของหน่วยงาน ซึ่งเมื่อ สตง.ทักท้วงมาเช่นนี้ก็ขอให้ อภ.ดำเนินการเงินในส่วนนี้ให้ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายยา ถ้า อภ.ต้องการสนับสนุนกิจการของ สธ.ควรตั้งเป็นงบด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และอยู่ที่ สธ.หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะเสนอโครงการขอรับการสนับสนุน แต่ สธ.ต้องพิจารณาก่อนเพราะเป็นหัวหน้าส่วนซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
“งบส่วนนี้ในปี 2556 ยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายแต่อย่างใด และเงินยังอยู่ที่ อภ.เพราะอยู่ระหว่างการคิดแผนว่าจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างไร ไม่ได้มีการเร่งรีบใช้งบ แต่หากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายอดีต ผอ.อภ.จะเร่งรีบใช้งบอย่างไรอันนี้ตนไม่ทราบ เพราะมีการเสนอโครงการมายังผมเป็นโครงการฝึกอบรม ซึ่งผมก็ไม่ได้ทำอะไรเก็บไว้เฉยๆ แต่หากชมรมแพทย์ชนบทยังสงสัยก็ยินดีให้สตง.เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้อีกครั้งว่ามีการทำผิดระเบียบจริงหรือ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีกล่าวหาว่าตนนัดผู้ผลิตยามาหารือในช่วงปลายเดือนนั้น แท้จริงเป็นการนัดผู้ผลิตอาหารของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือกันในเรื่องการส่งออกอาหาร เป็นการนัดที่โปร่งใส อยากขอร้องผู้ที่กล่าวหาว่าควรแสดงหลักฐานด้วย เช่น กล่าวหาว่าถือหุ้นใน รพ.เอกชน หรือบริษัทยา ก็ควรนำหลักฐานมาแสดงให้ชัดเจนเพื่อที่ตนเองจะได้พิจารณาตนเอง แต่ขณะนี้ยังไม่ใช่จุดที่จะฟ้อง แต่หากเป็นการกล่าวหาที่สร้างความเสื่อมเสียหายมากก็จะพิจารณาอีกครั้ง
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า กรณีม็อบแพทย์ชนบทที่จะไปที่หน้าบ้านนายกฯ ตนไม่มีความกังวลใดๆ และได้เรียนให้นายกฯทราบแล้ว นายกฯเข้าใจและไม่ได้กังวลอะไรเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตนไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องในรูปแบบนี้ และอยากขอให้พิจารณาการดำเนินการเหมาะสม ถูกต้อง หรือมีเหตุผลหรือไม่ หากเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี แต่นโยบายยังเหมือนเดิมจะทำอย่างไร
“ผมไม่เคยคิดจะลุกจากเก้าอี้เพียงการถูกกล่าวหาในเรื่องต่างๆ เพราะสัญญาเข้ามาทำงานแล้ว ก็ต้องทำให้สำเร็จ จะลุกจากเก้าอี้ต่อเมื่อผมทำสิ่งที่ทำร้ายประชาชน หรืออยู่ในเก้าอี้แล้วไม่ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เมื่อถึงเวลานั้นผมมีศักดิ์ศรี ผมจะลาออก” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า การเข้าร่วมชุมนุมดังกล่าว สธ.จะพิจารณาผู้เข้าร่วมชุมนุมใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.การเข้าร่วมชุมนุมเป็นการทำผิดวินัยหรือไม่ เพราะทุกคนเป็นข้าราชการย่อมมีวินัยที่ต้องปฏิบัติตาม 2.การเปิดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้รับการอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาหรือกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) หรือไม่ และ 3.ทำตามจรรยาบรรณวิชาชีพหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทยสภาจะต้องพิจารณา อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้จะพยายามสื่อสารกับผู้บริหารในทุกระดับเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น