ปลัด สธ.เซ็นประกาศใช้ P4P พร้อมส่งคู่มือแนวทางปฏิบัติให้ทุกโรงพยาบาล “หมอสุพรรณ” ย้ำหากการจัดพื้นที่ 4 ระดับไม่เหมาะสม สามารถอุทธรณ์ได้ถึง 19 เม.ย.นี้ เชื่อแพทย์ รพช.ยังมีจรรยาบรรณไม่ทิ้งคนไข้
วันนี้ (5 เม.ย.) นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุขเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างการจ่ายด้วยค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่ และการจ่ายตามแบบภาระงาน (P4P : Pay for Performance) ว่า คาดว่าวันนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.จะลงนามประกาศใช้ค่าตอบแทนตามภาระงาน ซึ่งจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2556 เป็นต้นไป เมื่อลงนามแล้วก็จะส่งประกาศดังกล่าวพร้อมหลักเกณฑ์ P4P ซึ่งเป็นคู่มือการปฏิบัติงานไปยังโรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การแบ่งพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็น 4 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ปกติ พื้นที่เฉพาะระดับ 1 และพื้นที่เฉพาะระดับ 2 ซึ่งได้ประกาศรายชื่อโรงพยาบาลตามพื้นที่ไปแล้ว หากโรงพยาบาลใดคิดว่าไม่เหมาะสม ขอให้อุทธรณ์เข้ามายังกระทรวงพร้อมเหตุผล ภายในวันที่ 19 เม.ย.นี้
“หลังได้รับข้อมูลจะมีการตั้งคณะกรรมการจัดสรรพื้นที่ขึ้นใหม่ ประกอบด้วย สธ. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ตัวแทนหน่วยบริการต่างๆ ชมรมต่างๆ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นคณะกรรมการตามมติ ครม.จะทบทวนอีกครั้งหนึ่งตามที่อุทธรณ์ ถ้าไม่เปลี่ยนก็ถือว่าปฏิบัติตามนั้น” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สธ.จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ4 ภาค เพื่อดูว่าแต่ละพื้นที่มีปัญหาอย่างไร โดยจะมีทีมคณะนักวิชาการไปให้คำแนะนำ เช่น กำหนดค่างานอย่างไร จะเก็บคะแนนอย่างไร จ่ายค่าตอบแทนอย่างไร ซึ่งต้องขอร้องน้องๆ ในหน่วยบริการทุกระดับ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียควรที่จะเข้ามาร่วมรับฟัง
ผู้สื่อข่าวถามถึงการเตรียมหยุดงานของแพทย์ใน รพช. นพ.สุพรรณ กล่าวว่า การหยุดงานตามปกติจะต้องมีการหาคนมาอยู่เวรแทน แต่หากโรงพยาบาลใดมีบุคลากรหยุดเยอะ ทาง สสจ.ก็จะมีการจัดบุคลากรข้าไปเสริม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกคนมีความรับผิดชอบ และยังคงเชื่อในจรรยาบรรณวิชาชีพของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือทุกๆ วิชาชีพว่าไม่กล้าทิ้งคนไข้ ส่วนการลาคือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเท่านั้น
เมื่อถามถึงการออกแถลงการณ์ของแพทย์ชนบทแต่ละภาค จะเป็นการสร้างความแตกแยกและทำให้ประชาชนกังวลหรือไม่ นพ.สุพรรณ กล่าวว่า จากการที่ได้ไปชี้แจงเรื่องนี้ผ่านสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย พบว่าเสียงสะท้อนดีมาก ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ต่างโทร.เข้ามาให้กำลังใจ โดยเรื่องในกระทรวงก็ขอให้คุยกัน แต่อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน ซึ่ง สธ.ยืนยันว่าประชาชนต้องไม่เดือดร้อนกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่กระบวนการต่างๆ ก็แสดงออกได้ตามสิทธิและหน้าที่ อย่างตนในฐานะผู้บริหารก็ต้องทำตามมติ ครม.
นพ.สุพรรณ กล่าวถึงเกณฑ์การคิดคะแนน P4P ที่ รพช.ห่วงว่าจะมีปัญหา ว่า ขณะนี้รายละเอียดต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เพราะมีกรรมการหน่วยบริการ กรรมการระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับกระทรวง ร่วมกำหนดแนวทาง โดยให้แต่ละโรงพยาบาลตกลงภายในกันเองว่าควรคิดคะแนนอย่างไรในระหว่างวิชาชีพ ซึ่งแต่ละวิชาชีพควรมีอัตราขั้นต่ำเท่าไร ตรงนี้หน่วยบริการจะรู้ดีที่สุดว่าโรงพยาบาลมีงานอะไรบ้าง และทำมากน้อยเพียงใด ส่วนเรื่องการแย่งทำแต้มนั้น อย่าคิดว่าเป็นแค่การรักษาพยาบาลผู้ป่วย เพราะยังมีงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การทำงานในพื้นที่ หรืองานคุ้มครองผู้บริโภค ก็นับว่าเป็นแต้มทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่แพทย์ชุมชนจะทำงานสู่ชาวบ้าน ที่สำคัญยังมีการถ่วงดุลด้วยเรื่องของคะแนนคุณภาพด้วย อย่างไรก็ตาม แต่ละวิชาชีพจะมีมาตรฐานอยู่แล้ว หากไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาวิชาชีพก็ต้องพิจารณากันเอง สำหรับการบันทึกภาระงานสามารถตรวจสอบได้ เพราะจะมีกรรมการคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งมาจากทุกวิชาชพร่วมกันตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าจริงหรือไม่ หากไม่จริงกรรมการหน่วยบริการก็ต้องจัดการ แต่ถ้าไม่สามารถจัดการได้ก็ต้องให้ระดับจังหวัด ระดับเขต หรือระดับกระทรวงจัดการตามลำดับ
วันนี้ (5 เม.ย.) นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุขเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างการจ่ายด้วยค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่ และการจ่ายตามแบบภาระงาน (P4P : Pay for Performance) ว่า คาดว่าวันนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.จะลงนามประกาศใช้ค่าตอบแทนตามภาระงาน ซึ่งจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2556 เป็นต้นไป เมื่อลงนามแล้วก็จะส่งประกาศดังกล่าวพร้อมหลักเกณฑ์ P4P ซึ่งเป็นคู่มือการปฏิบัติงานไปยังโรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การแบ่งพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็น 4 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ปกติ พื้นที่เฉพาะระดับ 1 และพื้นที่เฉพาะระดับ 2 ซึ่งได้ประกาศรายชื่อโรงพยาบาลตามพื้นที่ไปแล้ว หากโรงพยาบาลใดคิดว่าไม่เหมาะสม ขอให้อุทธรณ์เข้ามายังกระทรวงพร้อมเหตุผล ภายในวันที่ 19 เม.ย.นี้
“หลังได้รับข้อมูลจะมีการตั้งคณะกรรมการจัดสรรพื้นที่ขึ้นใหม่ ประกอบด้วย สธ. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ตัวแทนหน่วยบริการต่างๆ ชมรมต่างๆ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นคณะกรรมการตามมติ ครม.จะทบทวนอีกครั้งหนึ่งตามที่อุทธรณ์ ถ้าไม่เปลี่ยนก็ถือว่าปฏิบัติตามนั้น” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สธ.จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ4 ภาค เพื่อดูว่าแต่ละพื้นที่มีปัญหาอย่างไร โดยจะมีทีมคณะนักวิชาการไปให้คำแนะนำ เช่น กำหนดค่างานอย่างไร จะเก็บคะแนนอย่างไร จ่ายค่าตอบแทนอย่างไร ซึ่งต้องขอร้องน้องๆ ในหน่วยบริการทุกระดับ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียควรที่จะเข้ามาร่วมรับฟัง
ผู้สื่อข่าวถามถึงการเตรียมหยุดงานของแพทย์ใน รพช. นพ.สุพรรณ กล่าวว่า การหยุดงานตามปกติจะต้องมีการหาคนมาอยู่เวรแทน แต่หากโรงพยาบาลใดมีบุคลากรหยุดเยอะ ทาง สสจ.ก็จะมีการจัดบุคลากรข้าไปเสริม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกคนมีความรับผิดชอบ และยังคงเชื่อในจรรยาบรรณวิชาชีพของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือทุกๆ วิชาชีพว่าไม่กล้าทิ้งคนไข้ ส่วนการลาคือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเท่านั้น
เมื่อถามถึงการออกแถลงการณ์ของแพทย์ชนบทแต่ละภาค จะเป็นการสร้างความแตกแยกและทำให้ประชาชนกังวลหรือไม่ นพ.สุพรรณ กล่าวว่า จากการที่ได้ไปชี้แจงเรื่องนี้ผ่านสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย พบว่าเสียงสะท้อนดีมาก ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ต่างโทร.เข้ามาให้กำลังใจ โดยเรื่องในกระทรวงก็ขอให้คุยกัน แต่อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน ซึ่ง สธ.ยืนยันว่าประชาชนต้องไม่เดือดร้อนกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่กระบวนการต่างๆ ก็แสดงออกได้ตามสิทธิและหน้าที่ อย่างตนในฐานะผู้บริหารก็ต้องทำตามมติ ครม.
นพ.สุพรรณ กล่าวถึงเกณฑ์การคิดคะแนน P4P ที่ รพช.ห่วงว่าจะมีปัญหา ว่า ขณะนี้รายละเอียดต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เพราะมีกรรมการหน่วยบริการ กรรมการระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับกระทรวง ร่วมกำหนดแนวทาง โดยให้แต่ละโรงพยาบาลตกลงภายในกันเองว่าควรคิดคะแนนอย่างไรในระหว่างวิชาชีพ ซึ่งแต่ละวิชาชีพควรมีอัตราขั้นต่ำเท่าไร ตรงนี้หน่วยบริการจะรู้ดีที่สุดว่าโรงพยาบาลมีงานอะไรบ้าง และทำมากน้อยเพียงใด ส่วนเรื่องการแย่งทำแต้มนั้น อย่าคิดว่าเป็นแค่การรักษาพยาบาลผู้ป่วย เพราะยังมีงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การทำงานในพื้นที่ หรืองานคุ้มครองผู้บริโภค ก็นับว่าเป็นแต้มทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่แพทย์ชุมชนจะทำงานสู่ชาวบ้าน ที่สำคัญยังมีการถ่วงดุลด้วยเรื่องของคะแนนคุณภาพด้วย อย่างไรก็ตาม แต่ละวิชาชีพจะมีมาตรฐานอยู่แล้ว หากไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาวิชาชีพก็ต้องพิจารณากันเอง สำหรับการบันทึกภาระงานสามารถตรวจสอบได้ เพราะจะมีกรรมการคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งมาจากทุกวิชาชพร่วมกันตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าจริงหรือไม่ หากไม่จริงกรรมการหน่วยบริการก็ต้องจัดการ แต่ถ้าไม่สามารถจัดการได้ก็ต้องให้ระดับจังหวัด ระดับเขต หรือระดับกระทรวงจัดการตามลำดับ