“หมอประดิษฐ” ปฐมนิเทศแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชฯ ใช้ทุน ยันไม่ตัดเบี้ยเลี้ยง แต่จ่ายแบบผสมผสาน โต้แพทย์ชนบทให้ข่าวแพทย์ลาออก เพราะเปลี่ยนวิธีจ่ายค่าตอบแทน ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ด้านหมอฟันถอดด้ามจับกลุ่มสวมปลอกแขนดำคัดค้าน P4P
วันนี้ (1 เม.ย.) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในพิธีปฐมนิเทศแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2556 ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และต้องทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลสังกัด สธ.จำนวน 2,640 คน แบ่งเป็นแพทย์ 1,755 คน จำนวนนี้เป็นแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท 664 คน ทันตแพทย์ 535 คน และเภสัชกร 350 คน เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องความรู้และความเข้าใจภาระงานที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และ สธ.
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้ สธ.ยังมีปัญหาเรื่องการกระจายตัวของบุคลากร อย่างแพทย์มีความต้องการแบบเต็มระบบคือ 13,764 คน แต่มีในระบบ 13,266 คน ทันตแพทย์ต้องการ 7,444 คน มีเพียง 4,123 คน ขาดอีก 2,774 คน เภสัชกรต้องการ 7,051 คน มีเพียง 5,814 คน ขาดอีก 1,237 คน และพยาบาลต้องการมากถึง 111,168 คน แต่มีเพียง 64,655 คน ขาดอีก 46,513 คน นับเป็นสาขาที่ขาดแคลนมากที่สุด ทำให้บางพื้นที่ต้องดูแลประชากรมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งที่สัดส่วนที่ควรจะเป็น อย่างแพทย์คือ 1 คนต่อประชากร 5,000 คน ทันตแพทย์คือ 1 คนต่อ 10,000 คน
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับการเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทน ยอมรับว่าที่ผ่านมาอาจยังสื่อสารได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นการตัดเบี้ยเลี้ยงทั้งหมด ซึ่งจากนี้จะเร่งทำความเข้าใจโดยการสื่อสารผ่านตัวบุคคลว่า เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็นเครื่องมือที่ดึงแพทย์ให้อยู่ในระบบ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในพื้นที่มานาน ซึ่งเงินดังกล่าวต้องนำมาจากเงินบำรุงของโรงพยาบาล ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาเงินบำรุงไม่เพียงพอ สธ.จึงต้องของบกลางที่บางครั้งก็ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จึงเปลี่ยนเป็นการของบแบบรายปีจำนวน 3,000 ล้านบาท มาช่วยเสริม โดยเงินดังกล่าวจะคิดเป็นแบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเฉพาะพื้นที่ห่างไกล และบวกตามภารกิจภาระงาน (P4P : Pay for Performance) จึงอยากให้เข้าใจว่าไม่ได้ยกเลิกแต่เป็นการผสมผสาน
“หลังจากผ่านมติ ครม.ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การทำ P4P หากในอนาคตภาระงานเพิ่มกระทรวงสามารถของบประมาณเพิ่มเติมได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีที่จะทำให้งบประมาณเกิดความมั่นคง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการปฐมนิเทศ ว่า มีนักศึกษาทันตแพทย์จบใหม่กลุ่มหนึ่งประมาณ 20-30 คน สวมปลอกแขนดำเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน โดยหนึ่งในนั้นกล่าวว่า เกณฑ์แบบใหม่ของ สธ.ไม่ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ และประชาชนไม่น่าจะได้ประโยชน์จากวิธีนี้ เพราะเป็นการเน้นเรื่องจำนวนครั้งกับเวลา เช่น คนไข้มาและสามารถตรวจได้กี่คน หากมามากก็ได้แต้มมาก จึงมองว่าเรื่องดังกล่าวประกาศใช้เร็วเกินไป ควรสอบถามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การสวมปลอกแขนดำ เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่า P4P ยังมีปัญหา และควรทำความเข้าใจให้ตรงกันอย่างรอบด้านก่อนประกาศใช้
เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นพ.ประดิษฐ ถึงกรณีดังกล่าว นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า เป็นเพียงการแสดงออกก่อนที่จะได้รับฟังและทำความเข้าใจ เชื่อว่าหลังจากที่ตนได้อธิบายทุกฝ่ายจะเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งนักศึกษาจบใหม่ด้วย ส่วนกรณีการลาออกที่แพทย์ชนบทออกมาระบุว่า เกิดจากการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนนั้นต้องมีการพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร เพราะตามปกติการลาออกต่อปีนั้น ส่วนใหญ่แพทย์จะไปศึกษาต่อหรือเปลี่ยนไปทำภาคเอกชน คงต้องเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นธรรม
“ปกติมีแพทย์ลาออกจากระบบเพื่อศึกษาต่อ โอนสังกัดหน่วยงานอื่น และประกอบภารกิจส่วนตัว เฉลี่ยปีละ 600 คน โดยปี 2555 มีจำนวน 675 คน ขณะที่ปี 2556 ลาออกแล้ว 18 คน ส่วนใหญ่เป็นลาศึกษาต่อ และขอกลับมารับราชการใหม่หลังจากสำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ปีละประมาณ 100 คน” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ตามมติ ครม.ยังมีความห่วงใยแพทย์ที่อาจได้รับผลกระทบ จึงให้ สธ.ไปคิดวิธีการช่วยเหลือในลักษณะการประกันค่าตอบแทนขั้นต่ำ หากพบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบโดยได้รับค่าตอบแทนลดลงโดยมีนัยสำคัญ ให้ สธ.พิจารณาและดำเนินมาตรการช่วยเหลือไม่ให้เดือดร้อน ซึ่งจากตารางเปรียบเทียบรายได้แพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการระดับต่างๆ โดยรวมค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย แต่ยังไม่บวกเพิ่มด้วย P4P ยกตัวอย่าง เฉพาะโรงพยาบาลชุมชนเมือง 33 แห่ง พบว่า แพทย์ที่ทำงานปีที่ 1-3 เดิมได้รับค่าตอบแทน 42,600 บาท ใหม่ได้ 42,600 บาทต่อเดือน ปีที่ 4 เดิมได้ 60,960 ใหม่ได้ 52,960 บาท ปีที่ 11 เดิมได้ 87,700 บาท ใหม่ได้ 77,700 ปีที่ 21 เดิมได้ 126,200 บาท ใหม่ได้ 111,200 บาท ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับโดยไม่ได้บวกค่า P4P หากมีการนำมาบวก ค่าตอบแทนอาจไม่ลดลง แต่จะเพิ่มมากขึ้น
“สำหรับเรื่องคุณภาพจะมีการนำมาคิดแบบ P4P ด้วย เช่น หากรักษาปกติรวมแล้วจะได้เงิน 1,000 บาท แต่หากรักษาโดยไม่มีโรคแทรกซ้อน ค่ารวมก็จะขึ้นมาอยู่ที่ 1,100 บาท แต่หากมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นภาระที่เกิดขึ้นก็เป็นของโรงพยาบาลที่ต้องรับผิดชอบเอง เป็นต้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า จากนี้ไปจะทำความเข้าใจพร้อมกันทุกฝ่าย ทั้งระดับบุคคลและพื้นที่ ผ่านผู้ตรวจราชการ สธ.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ส่วนเรื่องการลาออกนั้น ตั้งแต่ปี 2550-ปัจจุบัน ทิศทางการลาออกยังเหมือนเดิม คือบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพลาออก ปีละ 600-700 คน สาเหตุส่วนใหญ่ไปศึกษาต่อและประกอบอาชีพส่วนตัว
วันนี้ (1 เม.ย.) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในพิธีปฐมนิเทศแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2556 ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และต้องทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลสังกัด สธ.จำนวน 2,640 คน แบ่งเป็นแพทย์ 1,755 คน จำนวนนี้เป็นแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท 664 คน ทันตแพทย์ 535 คน และเภสัชกร 350 คน เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องความรู้และความเข้าใจภาระงานที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และ สธ.
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้ สธ.ยังมีปัญหาเรื่องการกระจายตัวของบุคลากร อย่างแพทย์มีความต้องการแบบเต็มระบบคือ 13,764 คน แต่มีในระบบ 13,266 คน ทันตแพทย์ต้องการ 7,444 คน มีเพียง 4,123 คน ขาดอีก 2,774 คน เภสัชกรต้องการ 7,051 คน มีเพียง 5,814 คน ขาดอีก 1,237 คน และพยาบาลต้องการมากถึง 111,168 คน แต่มีเพียง 64,655 คน ขาดอีก 46,513 คน นับเป็นสาขาที่ขาดแคลนมากที่สุด ทำให้บางพื้นที่ต้องดูแลประชากรมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งที่สัดส่วนที่ควรจะเป็น อย่างแพทย์คือ 1 คนต่อประชากร 5,000 คน ทันตแพทย์คือ 1 คนต่อ 10,000 คน
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับการเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทน ยอมรับว่าที่ผ่านมาอาจยังสื่อสารได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นการตัดเบี้ยเลี้ยงทั้งหมด ซึ่งจากนี้จะเร่งทำความเข้าใจโดยการสื่อสารผ่านตัวบุคคลว่า เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็นเครื่องมือที่ดึงแพทย์ให้อยู่ในระบบ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในพื้นที่มานาน ซึ่งเงินดังกล่าวต้องนำมาจากเงินบำรุงของโรงพยาบาล ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาเงินบำรุงไม่เพียงพอ สธ.จึงต้องของบกลางที่บางครั้งก็ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จึงเปลี่ยนเป็นการของบแบบรายปีจำนวน 3,000 ล้านบาท มาช่วยเสริม โดยเงินดังกล่าวจะคิดเป็นแบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเฉพาะพื้นที่ห่างไกล และบวกตามภารกิจภาระงาน (P4P : Pay for Performance) จึงอยากให้เข้าใจว่าไม่ได้ยกเลิกแต่เป็นการผสมผสาน
“หลังจากผ่านมติ ครม.ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การทำ P4P หากในอนาคตภาระงานเพิ่มกระทรวงสามารถของบประมาณเพิ่มเติมได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีที่จะทำให้งบประมาณเกิดความมั่นคง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการปฐมนิเทศ ว่า มีนักศึกษาทันตแพทย์จบใหม่กลุ่มหนึ่งประมาณ 20-30 คน สวมปลอกแขนดำเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน โดยหนึ่งในนั้นกล่าวว่า เกณฑ์แบบใหม่ของ สธ.ไม่ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ และประชาชนไม่น่าจะได้ประโยชน์จากวิธีนี้ เพราะเป็นการเน้นเรื่องจำนวนครั้งกับเวลา เช่น คนไข้มาและสามารถตรวจได้กี่คน หากมามากก็ได้แต้มมาก จึงมองว่าเรื่องดังกล่าวประกาศใช้เร็วเกินไป ควรสอบถามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การสวมปลอกแขนดำ เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่า P4P ยังมีปัญหา และควรทำความเข้าใจให้ตรงกันอย่างรอบด้านก่อนประกาศใช้
เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นพ.ประดิษฐ ถึงกรณีดังกล่าว นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า เป็นเพียงการแสดงออกก่อนที่จะได้รับฟังและทำความเข้าใจ เชื่อว่าหลังจากที่ตนได้อธิบายทุกฝ่ายจะเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งนักศึกษาจบใหม่ด้วย ส่วนกรณีการลาออกที่แพทย์ชนบทออกมาระบุว่า เกิดจากการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนนั้นต้องมีการพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร เพราะตามปกติการลาออกต่อปีนั้น ส่วนใหญ่แพทย์จะไปศึกษาต่อหรือเปลี่ยนไปทำภาคเอกชน คงต้องเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นธรรม
“ปกติมีแพทย์ลาออกจากระบบเพื่อศึกษาต่อ โอนสังกัดหน่วยงานอื่น และประกอบภารกิจส่วนตัว เฉลี่ยปีละ 600 คน โดยปี 2555 มีจำนวน 675 คน ขณะที่ปี 2556 ลาออกแล้ว 18 คน ส่วนใหญ่เป็นลาศึกษาต่อ และขอกลับมารับราชการใหม่หลังจากสำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ปีละประมาณ 100 คน” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ตามมติ ครม.ยังมีความห่วงใยแพทย์ที่อาจได้รับผลกระทบ จึงให้ สธ.ไปคิดวิธีการช่วยเหลือในลักษณะการประกันค่าตอบแทนขั้นต่ำ หากพบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบโดยได้รับค่าตอบแทนลดลงโดยมีนัยสำคัญ ให้ สธ.พิจารณาและดำเนินมาตรการช่วยเหลือไม่ให้เดือดร้อน ซึ่งจากตารางเปรียบเทียบรายได้แพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการระดับต่างๆ โดยรวมค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย แต่ยังไม่บวกเพิ่มด้วย P4P ยกตัวอย่าง เฉพาะโรงพยาบาลชุมชนเมือง 33 แห่ง พบว่า แพทย์ที่ทำงานปีที่ 1-3 เดิมได้รับค่าตอบแทน 42,600 บาท ใหม่ได้ 42,600 บาทต่อเดือน ปีที่ 4 เดิมได้ 60,960 ใหม่ได้ 52,960 บาท ปีที่ 11 เดิมได้ 87,700 บาท ใหม่ได้ 77,700 ปีที่ 21 เดิมได้ 126,200 บาท ใหม่ได้ 111,200 บาท ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับโดยไม่ได้บวกค่า P4P หากมีการนำมาบวก ค่าตอบแทนอาจไม่ลดลง แต่จะเพิ่มมากขึ้น
“สำหรับเรื่องคุณภาพจะมีการนำมาคิดแบบ P4P ด้วย เช่น หากรักษาปกติรวมแล้วจะได้เงิน 1,000 บาท แต่หากรักษาโดยไม่มีโรคแทรกซ้อน ค่ารวมก็จะขึ้นมาอยู่ที่ 1,100 บาท แต่หากมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นภาระที่เกิดขึ้นก็เป็นของโรงพยาบาลที่ต้องรับผิดชอบเอง เป็นต้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า จากนี้ไปจะทำความเข้าใจพร้อมกันทุกฝ่าย ทั้งระดับบุคคลและพื้นที่ ผ่านผู้ตรวจราชการ สธ.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ส่วนเรื่องการลาออกนั้น ตั้งแต่ปี 2550-ปัจจุบัน ทิศทางการลาออกยังเหมือนเดิม คือบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพลาออก ปีละ 600-700 คน สาเหตุส่วนใหญ่ไปศึกษาต่อและประกอบอาชีพส่วนตัว