ผู้ชุมนุมเมิน “หมอประดิษฐ” ส่งตัวแทนร่วมเจรจาแก้ปัญหา ลั่นต้องต้องล้มมติ ครม.เรื่อง P4P และใช้ประกาศ ฉบับ 4 และ 6 เหมือนเดิมเท่านั้นถึงจะเจรจา ด้าน รมว.สธ.เผยพร้อมแจงทุกเรื่อง ระบุให้ปลัด สธ.ตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลแล้ว ยินดีและดีใจหากแพทย์ชนบทจะใช้สติปัญญาร่วมกันตรวจสอบให้ สธ.โปร่งใส
วันนี้ (24 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มแพทย์ชนบท เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เอดส์ ไต และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ส่งตัวแทนไปเชิญตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าร่วมการหารือ แต่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยื่นข้อเสนอว่า จะเจรจาต่อเมื่อมีการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การปรับเกณฑ์ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และให้ สธ.นำประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน ฉบับ 4 และ ฉบับ 6 กลับมาใช้ เท่านั้น ในที่สุดจึงไม่มีการเจรจาร่วมกันแต่อย่างใด
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตนได้พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วในการเชิญตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าร่วมหารือ แต่การยื่นข้อเสนอดังกล่าวเป็นการล้มหลักการ ก็คงไม่สามารถพูดคุยกันต่อได้ ทั้งที่การหารือควรเป็นการปรึกษากันในเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์ เช่น พื้นที่ เกณฑ์อายุที่ไม่สอดคล้อง จะหาทางปรับแก้ตรงไหน เป็นต้น ซึ่งตนได้เตรียมข้อมูลรายละเอียดเพื่อชี้แจงไว้แล้ว ส่วนกรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลของจังหวัดที่บอกว่าเป็นความทุจริตและไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการ ก็จะให้ปลัด สธ.ไปตรวจสอบ หากกลุ่มแพทย์ชนบทต้องการร่วมตรวจสอบด้วยก็ยินดี และดีใจที่จะได้ร่วมกันใช้สติปัญญาในการทำให้กระทรวงโปร่งใสร่วมกัน
“ผมเป็นผู้ให้นโยบายเป็นเรื่องของหลักการ ส่วนหลักเกณฑ์การทำงานขอให้เป็นเรื่องของข้าราชการประจำ ไม่อยากให้เกิดการก้าวก่ายในการปฏิบัติมากเกินไป ส่วนเรื่องของความกลัวต่างๆ ทั้งการลาออก การล่าแต้ม การจัดสรรงบประมาณ เชื่อว่าคงไม่มีอะไรแบบนั้น เพราะทุกอยากมีความชัดเจน โดยมติ ครม.ก็ชัดเจน ถ้าเงินไม่พอก็สามารถขอเพิ่มได้ การใช้จินตนาการที่มากเกินไป มันทำให้ไม่มีการคุยกันต่อ และหาข้อยุติไม่ได้ หากทุกอย่างตั้งอยู่บนความกลัว ก็เหมือนตอนเริ่มทำโครงการ 30 บาทใหม่ๆ คนก็บอก 30 บาทจะไม่ดี แต่ก็สามารถเริ่มต้นมาได้" รมว.สาธารณสุข กล่าวและว่า ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 เดือนนี้ เราจมปลักกับปัญหานี้มามากแล้ว อยากให้มองไปข้างหน้าว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากการทำงานอย่างไร จึงอยากให้มาทำความเข้าใจกัน ส่วนเรื่อง อภ.หรือผู้ป่วยที่มาร้องเรียน ยังไม่อยากแถลงในตอนนี้เพราะจะกลายเป็นการพูดฝั่งเดียว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ก่อนใช้ประกาศฉบับที่ 8 และ 9 สธ.ได้เปิดโอกาสให้โรงพยาบาลที่จะขอเปลี่ยนแปลงนิยามของพื้นที่ให้ส่งเรื่องมาภายในวันที่ 19 เม.ย.โดยมีคณะกรรมการ ร่วมกับ หน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง ซึ่งปัจจุบันหลายโรงพยาบาลส่งเข้ามาแล้ว เพื่อพิจารณาในสัปดาห์หน้า ส่วนประเด็นเรื่องการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน มีประเด็นเรื่องการรับฟังความเห็นและการปรับ โดยเรื่องการเก็บคะแนน ในประกาศเปิดความยืดหยุ่นให้คณะกรรมการระดับเขตสามารถหารือกันได้ ในการเก็บคะแนน รวมงานส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟู การออกพื้นที่ การบริหาร เพื่อเก็บค่าคะแนนด้วย ส่วนเรื่องวงเงิน มีการเขียนไว้ว่า จะมีการออนท็อปด้วยเงินบำรุงอย่างน้อยร้อยละ 1 ของค่าแรงขั้นต่ำ หากจะเพิ่มเป็น ร้อยละ 2 ให้เป็นอำนาจของระดับเขต แต่หากมากกว่านั้น ให้เป็นอำนาจของกรรมการระดับกระทรวง โดยมีการประชุมชี้แจงกับตัวแทนระดับเขต จังหวัด และ ผอ.รพศ. รพท.ไปแล้ว ส่วนเงินงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ให้นำกลับมาเป็นค่าตอบแทนการจ่ายตามผลการปฏิบัติงานด้วย
“ครม.มีความห่วงใยในเรื่องดังกล่าวและให้ สธ.เร่งทำความเข้าใจ โดยมีการมอบหมายให้ผู้ตรวจและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเร่งทำความเข้าใจ โดย รมว.สาธารณสุข และผมจะเดินทางไปที่ จ.อุบลราชธานี ในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.) เพื่อทำความเข้าใจและภายในเดือนหน้าจะมีการเรียกประชุมทั้งประเทศ แบ่งเป็น 6 รุ่น เพื่ออธิบายการวางแนวทางพัฒนาสธ.และการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานด้วย” ปลัด สธ.กล่าว
วันนี้ (24 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มแพทย์ชนบท เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เอดส์ ไต และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ส่งตัวแทนไปเชิญตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าร่วมการหารือ แต่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยื่นข้อเสนอว่า จะเจรจาต่อเมื่อมีการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การปรับเกณฑ์ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และให้ สธ.นำประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน ฉบับ 4 และ ฉบับ 6 กลับมาใช้ เท่านั้น ในที่สุดจึงไม่มีการเจรจาร่วมกันแต่อย่างใด
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตนได้พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วในการเชิญตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าร่วมหารือ แต่การยื่นข้อเสนอดังกล่าวเป็นการล้มหลักการ ก็คงไม่สามารถพูดคุยกันต่อได้ ทั้งที่การหารือควรเป็นการปรึกษากันในเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์ เช่น พื้นที่ เกณฑ์อายุที่ไม่สอดคล้อง จะหาทางปรับแก้ตรงไหน เป็นต้น ซึ่งตนได้เตรียมข้อมูลรายละเอียดเพื่อชี้แจงไว้แล้ว ส่วนกรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลของจังหวัดที่บอกว่าเป็นความทุจริตและไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการ ก็จะให้ปลัด สธ.ไปตรวจสอบ หากกลุ่มแพทย์ชนบทต้องการร่วมตรวจสอบด้วยก็ยินดี และดีใจที่จะได้ร่วมกันใช้สติปัญญาในการทำให้กระทรวงโปร่งใสร่วมกัน
“ผมเป็นผู้ให้นโยบายเป็นเรื่องของหลักการ ส่วนหลักเกณฑ์การทำงานขอให้เป็นเรื่องของข้าราชการประจำ ไม่อยากให้เกิดการก้าวก่ายในการปฏิบัติมากเกินไป ส่วนเรื่องของความกลัวต่างๆ ทั้งการลาออก การล่าแต้ม การจัดสรรงบประมาณ เชื่อว่าคงไม่มีอะไรแบบนั้น เพราะทุกอยากมีความชัดเจน โดยมติ ครม.ก็ชัดเจน ถ้าเงินไม่พอก็สามารถขอเพิ่มได้ การใช้จินตนาการที่มากเกินไป มันทำให้ไม่มีการคุยกันต่อ และหาข้อยุติไม่ได้ หากทุกอย่างตั้งอยู่บนความกลัว ก็เหมือนตอนเริ่มทำโครงการ 30 บาทใหม่ๆ คนก็บอก 30 บาทจะไม่ดี แต่ก็สามารถเริ่มต้นมาได้" รมว.สาธารณสุข กล่าวและว่า ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 เดือนนี้ เราจมปลักกับปัญหานี้มามากแล้ว อยากให้มองไปข้างหน้าว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากการทำงานอย่างไร จึงอยากให้มาทำความเข้าใจกัน ส่วนเรื่อง อภ.หรือผู้ป่วยที่มาร้องเรียน ยังไม่อยากแถลงในตอนนี้เพราะจะกลายเป็นการพูดฝั่งเดียว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ก่อนใช้ประกาศฉบับที่ 8 และ 9 สธ.ได้เปิดโอกาสให้โรงพยาบาลที่จะขอเปลี่ยนแปลงนิยามของพื้นที่ให้ส่งเรื่องมาภายในวันที่ 19 เม.ย.โดยมีคณะกรรมการ ร่วมกับ หน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง ซึ่งปัจจุบันหลายโรงพยาบาลส่งเข้ามาแล้ว เพื่อพิจารณาในสัปดาห์หน้า ส่วนประเด็นเรื่องการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน มีประเด็นเรื่องการรับฟังความเห็นและการปรับ โดยเรื่องการเก็บคะแนน ในประกาศเปิดความยืดหยุ่นให้คณะกรรมการระดับเขตสามารถหารือกันได้ ในการเก็บคะแนน รวมงานส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟู การออกพื้นที่ การบริหาร เพื่อเก็บค่าคะแนนด้วย ส่วนเรื่องวงเงิน มีการเขียนไว้ว่า จะมีการออนท็อปด้วยเงินบำรุงอย่างน้อยร้อยละ 1 ของค่าแรงขั้นต่ำ หากจะเพิ่มเป็น ร้อยละ 2 ให้เป็นอำนาจของระดับเขต แต่หากมากกว่านั้น ให้เป็นอำนาจของกรรมการระดับกระทรวง โดยมีการประชุมชี้แจงกับตัวแทนระดับเขต จังหวัด และ ผอ.รพศ. รพท.ไปแล้ว ส่วนเงินงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ให้นำกลับมาเป็นค่าตอบแทนการจ่ายตามผลการปฏิบัติงานด้วย
“ครม.มีความห่วงใยในเรื่องดังกล่าวและให้ สธ.เร่งทำความเข้าใจ โดยมีการมอบหมายให้ผู้ตรวจและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเร่งทำความเข้าใจ โดย รมว.สาธารณสุข และผมจะเดินทางไปที่ จ.อุบลราชธานี ในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.) เพื่อทำความเข้าใจและภายในเดือนหน้าจะมีการเรียกประชุมทั้งประเทศ แบ่งเป็น 6 รุ่น เพื่ออธิบายการวางแนวทางพัฒนาสธ.และการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานด้วย” ปลัด สธ.กล่าว