“หมอประดิษฐ” หอบผลเคลียร์ใจ “สธ.-หมอชนบท” รายงาน ครม.สัญจร ปมการจ่ายค่าตอบแทน P4P ด้าน ครม.รับทราบตั้ง คกก.ร่วม ซื้อเวลาแก้กฎระเบียบข้อจำกัด และหามาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
วันนี้ (10 มิ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ถึงกรณีความคืบหน้าการจ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (P4P : Pay for Performance) ว่า ตนจะรายงานให้ ครม.วันนี้รับทราบถึงผลการประชุมร่วมระหว่างชมรมแพทย์ชนบทกับตัวแทนจากรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทน P4P โดยผลการประชุมเห็นตรงกันว่าให้มีการตั้งคณะกรรมการ เพื่อเข้าไปศึกษารายละเอียดต่างๆว่าจะมีแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างไรต่อไป หากมีการส่งชื่อโรงพยาบาลที่ยังไม่พร้อมในการดำเนินนโยบายนี้เข้ามา เราก็สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน เบื้องต้นมีธงอยู่แล้วว่าจะดำเนินการภายใน 30-60 วัน โดยทำไปทีละขั้นตอนก่อน เช่น การทำเรื่องชดเชย จากนั้นจะดำเนินการออกระเบียบใหม่ และโรงพยาบาลทุกแห่งก็ต้องดำเนินการพร้อมกันภายในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งทุกอย่างชัดเจน เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพูดคุย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เพราะเมื่อมาพูดคุยปรึกษาหารือร่วมกัน ก็จะแก้ปัญหาได้ดีกว่าการไม่ได้พูดคุยกันเลย ซึ่งต่างคนต่างไปคิดและเข้าใจกันเอาเอง
ด้าน นายธีรัตน์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุม ครม.ว่า ครม.มีมติรับทราบรายงานการปรึกษาหารือเรื่องการสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ตามที่ สธ.เสนอ ซึ่งจากที่มีการร้องเรียนในเรื่องการปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุข จากเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายมาเป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายร่วมกับ P4P และขยายตัวไปสู่เรื่องอื่นๆ นั้น นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในการปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนด้านความเป็นธรรมด้านสาธารณสุข 2 ครั้ง คือในวันที่ 4 และ 6 มิ.ย. 2556 ซึ่งมีผู้แทนจาก 3 กลุ่ม คือ ตัวแทนรัฐบาล คือ นายสุรนันทน์ ตัวแทน สธ.คือ นพ.ประดิษฐ และกลุ่มเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ประกอบด้วย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และกลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน โดยมีข้อสรุปดังนี้
1. ผลการปรึกษาหารือเป็นที่เข้าใจได้ว่าทุกฝ่ายเห็นด้วยกับหลักการ P4P ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการบริการต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เห็นด้วยว่าการคงบุคลากรทางการแพทย์ให้อยู่ในชนบท ซึ่งมาตรการหนึ่งที่จำเป็นคือมาตรการทางการเงิน และเห็นด้วยว่าต้องมีมาตรการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ไม่ได้คิดจะดึงผู้ที่มีรายได้สูงลงมา แต่จะหาวิธีฉุดผู้ที่มีรายได้น้อยขึ้นไป ซึ่งการทำ P4P เป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยได้
2. ที่ประชุมเข้าใจตรงกันว่า การทำ P4P มีบริบทในการทำงานของแต่ละหน่วยบริการมีความแตกต่างกัน หลักการที่สำคัญที่สุดคือต้องมีกติกากลางกำหนดขึ้นมา เพื่อให้แต่ละหน่วยบริการใช้ดำเนินการ ไม่ให้มีความแตกต่างหรือเกิดปัญหามากขึ้น เช่น ด้านความมั่นคง ไม่ใช้เงินมากเกินไป ขณะที่มีปัญหาค่าใช้จ่ายในสถานพยาบาลอยู่แล้ว สามารถนำรายละเอียดปลีกย่อยไปปรับให้เหมาะสมกับหน่วยบริการแต่ละระดับได้
3. ที่ประชุมเห็นต้องกันว่า จะทำP4Pที่เป็นไปตามบริบทของพื้นที่ ที่จัดให้เหมาะสมตั้งแต่ 1 ต.ค. 2556 โดยให้กระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงรายละเอียด หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและเตรียมความพร้อมให้โรงพยาบาล ทุกแห่งสามารถทำ P4P ได้ และระหว่างนี้ โรงพยาบาลที่ได้มีการดำเนินมาแล้ว ตั้งแต่ 1 เม.ย.2556 อาจมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำ P4P จะต้องได้รับการชดเชย ตามมติ ครม.สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ทำที่เกิดจากความไม่พร้อมของกระทรวงสาธารณสุข อันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนของข้อมูล จนไม่สามารถที่จะทำได้ก็จะได้รับการชดเชย แต่ทั้งนี้การชดเชยจะไม่รวมถึงผู้ที่ไม่ทำ เพราะจะเป็นอันตรายทางด้านจริยธรรม
ทั้งนี้ ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ 2 ประการ คือ 1.ปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นปัญหาอุปสรรคหรือไม่สอดคล้องแต่ละพื้นที่หรือระดับของหน่วยบริการให้ชัดเจน เพื่อเป็นหลักการที่ทุกคนต้องทำ เพื่อพัฒนา P4P ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยบริการแต่ละระดับ และให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ในระบบได้ และ 2.คิดมาตรการชดเชย เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามประกาศฉบับ 8 และการทำ P4P ตามฉบับ 9 รวมถึงผู้ต้องการจะทำ P4P แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ อันเนื่องจากความไม่พร้อมของ สธ.ที่ไม่สามารถสนับสนุนการทำ P4P หรือความไม่ชัดเจนของข้อมูลจนโรงพยาบาลไม่สามารถที่จะทำได้ก็จะได้รับการชดเชย แต่มาตรการนี้จะไม่ครอบคลุมถึงผู้ที่ตั้งใจต่อต้านหรือจะไม่ทำ เพราะจะเป็นอันตรายทางด้านจริยธรรรม
อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก P4P เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลายวิชาชีพ โดยจะถือหลักการทำงานด้วยเหตุและผล ไม่ใช้วิธีการตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะดำเนินการให้ได้ข้อสรุปภายใน 60 วัน เตรียมพร้อมก่อน 2 เดือน ก่อนที่จะดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 1 ต.ค. 2556
วันนี้ (10 มิ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ถึงกรณีความคืบหน้าการจ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (P4P : Pay for Performance) ว่า ตนจะรายงานให้ ครม.วันนี้รับทราบถึงผลการประชุมร่วมระหว่างชมรมแพทย์ชนบทกับตัวแทนจากรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทน P4P โดยผลการประชุมเห็นตรงกันว่าให้มีการตั้งคณะกรรมการ เพื่อเข้าไปศึกษารายละเอียดต่างๆว่าจะมีแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างไรต่อไป หากมีการส่งชื่อโรงพยาบาลที่ยังไม่พร้อมในการดำเนินนโยบายนี้เข้ามา เราก็สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน เบื้องต้นมีธงอยู่แล้วว่าจะดำเนินการภายใน 30-60 วัน โดยทำไปทีละขั้นตอนก่อน เช่น การทำเรื่องชดเชย จากนั้นจะดำเนินการออกระเบียบใหม่ และโรงพยาบาลทุกแห่งก็ต้องดำเนินการพร้อมกันภายในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งทุกอย่างชัดเจน เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพูดคุย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เพราะเมื่อมาพูดคุยปรึกษาหารือร่วมกัน ก็จะแก้ปัญหาได้ดีกว่าการไม่ได้พูดคุยกันเลย ซึ่งต่างคนต่างไปคิดและเข้าใจกันเอาเอง
ด้าน นายธีรัตน์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุม ครม.ว่า ครม.มีมติรับทราบรายงานการปรึกษาหารือเรื่องการสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ตามที่ สธ.เสนอ ซึ่งจากที่มีการร้องเรียนในเรื่องการปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุข จากเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายมาเป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายร่วมกับ P4P และขยายตัวไปสู่เรื่องอื่นๆ นั้น นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในการปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนด้านความเป็นธรรมด้านสาธารณสุข 2 ครั้ง คือในวันที่ 4 และ 6 มิ.ย. 2556 ซึ่งมีผู้แทนจาก 3 กลุ่ม คือ ตัวแทนรัฐบาล คือ นายสุรนันทน์ ตัวแทน สธ.คือ นพ.ประดิษฐ และกลุ่มเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ประกอบด้วย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และกลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน โดยมีข้อสรุปดังนี้
1. ผลการปรึกษาหารือเป็นที่เข้าใจได้ว่าทุกฝ่ายเห็นด้วยกับหลักการ P4P ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการบริการต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เห็นด้วยว่าการคงบุคลากรทางการแพทย์ให้อยู่ในชนบท ซึ่งมาตรการหนึ่งที่จำเป็นคือมาตรการทางการเงิน และเห็นด้วยว่าต้องมีมาตรการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ไม่ได้คิดจะดึงผู้ที่มีรายได้สูงลงมา แต่จะหาวิธีฉุดผู้ที่มีรายได้น้อยขึ้นไป ซึ่งการทำ P4P เป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยได้
2. ที่ประชุมเข้าใจตรงกันว่า การทำ P4P มีบริบทในการทำงานของแต่ละหน่วยบริการมีความแตกต่างกัน หลักการที่สำคัญที่สุดคือต้องมีกติกากลางกำหนดขึ้นมา เพื่อให้แต่ละหน่วยบริการใช้ดำเนินการ ไม่ให้มีความแตกต่างหรือเกิดปัญหามากขึ้น เช่น ด้านความมั่นคง ไม่ใช้เงินมากเกินไป ขณะที่มีปัญหาค่าใช้จ่ายในสถานพยาบาลอยู่แล้ว สามารถนำรายละเอียดปลีกย่อยไปปรับให้เหมาะสมกับหน่วยบริการแต่ละระดับได้
3. ที่ประชุมเห็นต้องกันว่า จะทำP4Pที่เป็นไปตามบริบทของพื้นที่ ที่จัดให้เหมาะสมตั้งแต่ 1 ต.ค. 2556 โดยให้กระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงรายละเอียด หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและเตรียมความพร้อมให้โรงพยาบาล ทุกแห่งสามารถทำ P4P ได้ และระหว่างนี้ โรงพยาบาลที่ได้มีการดำเนินมาแล้ว ตั้งแต่ 1 เม.ย.2556 อาจมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำ P4P จะต้องได้รับการชดเชย ตามมติ ครม.สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ทำที่เกิดจากความไม่พร้อมของกระทรวงสาธารณสุข อันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนของข้อมูล จนไม่สามารถที่จะทำได้ก็จะได้รับการชดเชย แต่ทั้งนี้การชดเชยจะไม่รวมถึงผู้ที่ไม่ทำ เพราะจะเป็นอันตรายทางด้านจริยธรรม
ทั้งนี้ ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ 2 ประการ คือ 1.ปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นปัญหาอุปสรรคหรือไม่สอดคล้องแต่ละพื้นที่หรือระดับของหน่วยบริการให้ชัดเจน เพื่อเป็นหลักการที่ทุกคนต้องทำ เพื่อพัฒนา P4P ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยบริการแต่ละระดับ และให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ในระบบได้ และ 2.คิดมาตรการชดเชย เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามประกาศฉบับ 8 และการทำ P4P ตามฉบับ 9 รวมถึงผู้ต้องการจะทำ P4P แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ อันเนื่องจากความไม่พร้อมของ สธ.ที่ไม่สามารถสนับสนุนการทำ P4P หรือความไม่ชัดเจนของข้อมูลจนโรงพยาบาลไม่สามารถที่จะทำได้ก็จะได้รับการชดเชย แต่มาตรการนี้จะไม่ครอบคลุมถึงผู้ที่ตั้งใจต่อต้านหรือจะไม่ทำ เพราะจะเป็นอันตรายทางด้านจริยธรรรม
อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก P4P เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลายวิชาชีพ โดยจะถือหลักการทำงานด้วยเหตุและผล ไม่ใช้วิธีการตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะดำเนินการให้ได้ข้อสรุปภายใน 60 วัน เตรียมพร้อมก่อน 2 เดือน ก่อนที่จะดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 1 ต.ค. 2556