แพทย์ชนบทเตรียมเปิดรายชื่อคณะทำงานตรวจการปลด “หมอวิทิต” และคณะทำงาน P4P 9 มิ.ย.นี้ บอกขอดูทีท่า “สุรนันทน์-ประดิษฐ” ก่อนว่าจริงใจหรือไม่ ย้ำไม่ได้พูดว่าจะเลิกก่อม็อบ แต่ขอรอดูการตัดสินใจของนายกฯก่อน เผยเตรียมตะเพิด “หมอสุพรรณ” จากตำแหน่งรองปลัด สธ.ด้วย เหตุทำแตกแยก
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เรื่องการตั้งคณะทำงานเพื่อดูหลักฐานข้อมูลการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และการตั้งคณะทำงาน P4P เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และหามาตรการเยียวยาร่วมกันนั้น ทางกลุ่มเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ชมรมแพทย์ชนบท กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. และเครือข่ายผู้ป่วยนั้น ได้มีการวางบุคคลไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ยังไม่ทราบว่าจะได้ส่งตัวแทนเข้าไปร่วมเท่าใด เนื่องจากต้องรอดูตัวเลขที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่ จ.กำแพงเพชร เสียก่อน ว่าทางเครือข่ายจะส่งตัวแทนได้กี่คน โดยจะเปิดเผยรายชื่อในวันที่ 9 มิ.ย.นี้
นพ.อารักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ก็เพื่อรอดูการรายงานผลสรุปการหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ ดร.คณิต แสงสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะสรุปให้แก่นายกฯอย่างไร เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าทั้งสองคนจะไม่หักหลังพวกตน และคาดหวังว่า นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐฒนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะรายงานผลการประชุมดังกล่าวในที่ประชุม ครม.สัญจรด้วย เพราะหากไม่รายงานในช่วงเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า นพ.ประดิษฐ ไม่มีความจริงใจต่อพวกตน
นพ.อารักษ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม กลุ่มเครือข่ายฯยังมีความเห็นว่าจะยื่นเรื่องถึงนายกฯให้ปลด นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ให้พ้นจากตำแหน่งรองปลัด สธ.ด้วย เนื่องจากยังข้องใจและสงสัยในตัว นพ.สุพรรณ หลายเรื่องที่พยายามพูดให้เกิดความแตกแยกระหว่างการไปอธิบายเรื่อง P4P ในที่ต่างๆ
“คาดว่าในส่วนของคณะทำงานเรื่อง P4P น่าจะมีผมเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้วย แต่ยังคงต้องรอตัวเลขที่ชัดเจน ส่วนการยุติการชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ ทางกลุ่มยังไม่เคยพูดว่าจะยุติ เนื่องจากผลระเบียบยังไม่ออกมา ทั้งนี้ ทางกลุ่มมีการเตรียมพร้อมอยู่แล้ว แต่จะชุมนุมหรือไม่นั้นอยู่ที่การตัดสินใจของนายกฯ ในการประชุม ครม.สัญจร ส่วนเรื่อง นพ.ประดิษฐ ก็ยังยืนยันคำเดิมว่าต้องปลด เนื่องจากได้ยื่นเรื่องให้นายกฯแล้ว” นพ.อารักษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ชมรมแพทย์ชนบทได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการเจรจาร่วม 3 ฝ่าย มีใจความโดยย่อว่า เป็นการประกาศชัยชนะต่อ นพ.ประดิษฐ เพราะจากที่เคยไม่ยอมถอย และมีการดันมวลชนมาสู้สุดท้ายกลับยอมหมดรูป ถอยกรูดขอแต่เพียงรักษาหน้าว่าไม่แพ้เท่านั้น ชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายฯ ได้สรุปผลการเจจรจาว่า เราไม่ใช่ชนะแต่เรื่อง P4P เท่านั้น แต่เราสามารถหยุด นพ.ประดิษฐในหลายเรื่องสำคัญ ทั้งเรื่องระบบร่วมจ่าย การทำลายหลักการผู้ซื้อและผู้ให้บริการ รัฐบาลยอมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปลด ผอ.อภ.อย่างไม่เป็นธรรม โดยเป็นคำสั่งที่ลงนามโดยนายกฯ และที่สำคัญทำให้การเดินหน้าปฏิบัติการรวบของ นพ.ประดิษฐ สะดุดและต้องคิดให้หนักขึ้น
นอกจากนี้ ชมรมแพทย์ชนบทยังออกแถลงการณ์สรุปผลการเจรจา 3 ฝ่าย ด้วยว่า 1.รัฐบาลยืนยันไม่ใช้ระบบร่วมจ่าย 2.รัฐบาลจะยกเลิกการเก็บ 30 บาท หากทบทวนข้อมูลแล้วว่าไม่คุ้มค่าและไม่เหมาะสม 3.รมว.สาธารณสุขยืนยันที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะไม่มีการโอนอำนาจการจัดสรรงบประมาณให้เขตบริการสุขภาพของ สธ.4.ยืนยันจะไม่มีการแทรกแซงการบริหารงานของ สปสช. 5.นายกฯจะออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการปลด นพ.วิทิต 6.รัฐบาลยืนยันจะไม่มีแปรรูป อภ.7.รมว.สาธารณสุข ยืนยันจะไม่มีการใช้เงินสะสม 4,000 ล้านบาทของ อภ.สร้างศูนย์ความเป็นเลิศของ สธ 8.รมว.สาธารณสุข ยืนยันจะไม่ให้มีการโอนงบประมาณโครงการสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจำนวน 75 ล้านให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และให้เป็นไปตามข้อสังเกตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ 9.กรณีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของโรงพยาบาลชุมชน จะมีการออกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับใหม่ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน ให้มีรายละเอียดตามฉบับ4และ6 โดยมอบหมายให้ ดร.คนิศ ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน มีการเยียวยาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2556 ต่อผู้ถูกรอนสิทธิ์ ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 31 มี.ค.โดยให้ชดเชยเท่ากับส่วนต่างระหว่างอัตราตามเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 4, 6 และฉบับที่ 8 ทั้งหมด ทุกกลุ่มวิชาชีพ โดยมีการตั้งคณะกรรมการที่มาจากสหวิชาชีพ เพื่อพิจารณาปรับปรุงอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ในกลุ่มวิชาชีพอื่นๆ ให้เกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น และพิจารณากำหนดพื้นที่ใหม่ โดยการทำ P4P ให้เป็นไปโดยสมัครใจ หากนำมาใช้งานในโรงพยาบาลชุมชน ต้องให้ทุกภาคส่วนและสหวิชาชีพ ศึกษาและกำหนดหลักการ หลักเกณฑ์รายละเอียด ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชนแต่ละแห่งก่อน ส่วนการปลด นพ.ประดิษฐ ออกจากตำแหน่งได้มอบข้อมูลและหลักฐานให้กับนายกฯพิจารณาแล้ว โดยจะมีการนำสรุปผลการเจรจาเข้าสู่ ครม.สัญจรในวันที่ 11 มิ.ย.ซึ่งชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายฯ จะติดตามผลการประชุม เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวต่อไป
ด้าน นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผอ.รพ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา แกนนำชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นพ.สุพรรณ เป็นคนสำคัญที่จัดทำรายละเอียดนโยบาย P4P ที่ผิดพลาดไปเป็นการเก็บแต้มรายกิจกรรม จนเกิดความเสียหายมากมายต่อระบบ ทั้งยังแอบอ้างว่าการบรรจุพยาบาล 2 หมื่นอัตราเป็นผลงานของตนเอง ชอบให้ร้ายผู้อื่น เอาดีเข้าตัว จึงเป็นอีกคนที่แพทย์ชนบทเสนอให้ไล่ไปให้พ้นจาก สธ.ที่สำคัญเวลาไปสัมมนาชี้แจงนโยบาย P4P ต่างจังหวัด มีการพูดว่าพวกหมอที่ค้าน P4P มี 2 ทางเลือกคือ เลิกค้านเสียแล้วหันมาทำ P4P หรือหากไม่คิดจะทำตามนโยบายก็ให้ลาออกไป ซึ่งเป็นการสะท้อนความในใจของผู้ใหญ่ในกระทรวงที่คงอยากพูดนานแล้ว แต่เก็บไว้จนทนไม่ไหวจากการเดินสายไปที่ไหนก็ถูกโรงพยาบาลชุมชนตามไปค้านทุกที่ ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อ นพ.สุพรรณ ที่ต้องรับผิดชอบต่อความแตกแยกที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากรองปลัด สธ.และ รมว.สาธารณสุขต้องไม่ตั้งให้เป็นคนเช่นนี้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นอันขาด
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เรื่องการตั้งคณะทำงานเพื่อดูหลักฐานข้อมูลการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และการตั้งคณะทำงาน P4P เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และหามาตรการเยียวยาร่วมกันนั้น ทางกลุ่มเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ชมรมแพทย์ชนบท กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. และเครือข่ายผู้ป่วยนั้น ได้มีการวางบุคคลไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ยังไม่ทราบว่าจะได้ส่งตัวแทนเข้าไปร่วมเท่าใด เนื่องจากต้องรอดูตัวเลขที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่ จ.กำแพงเพชร เสียก่อน ว่าทางเครือข่ายจะส่งตัวแทนได้กี่คน โดยจะเปิดเผยรายชื่อในวันที่ 9 มิ.ย.นี้
นพ.อารักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ก็เพื่อรอดูการรายงานผลสรุปการหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ ดร.คณิต แสงสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะสรุปให้แก่นายกฯอย่างไร เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าทั้งสองคนจะไม่หักหลังพวกตน และคาดหวังว่า นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐฒนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะรายงานผลการประชุมดังกล่าวในที่ประชุม ครม.สัญจรด้วย เพราะหากไม่รายงานในช่วงเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า นพ.ประดิษฐ ไม่มีความจริงใจต่อพวกตน
นพ.อารักษ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม กลุ่มเครือข่ายฯยังมีความเห็นว่าจะยื่นเรื่องถึงนายกฯให้ปลด นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ให้พ้นจากตำแหน่งรองปลัด สธ.ด้วย เนื่องจากยังข้องใจและสงสัยในตัว นพ.สุพรรณ หลายเรื่องที่พยายามพูดให้เกิดความแตกแยกระหว่างการไปอธิบายเรื่อง P4P ในที่ต่างๆ
“คาดว่าในส่วนของคณะทำงานเรื่อง P4P น่าจะมีผมเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้วย แต่ยังคงต้องรอตัวเลขที่ชัดเจน ส่วนการยุติการชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ ทางกลุ่มยังไม่เคยพูดว่าจะยุติ เนื่องจากผลระเบียบยังไม่ออกมา ทั้งนี้ ทางกลุ่มมีการเตรียมพร้อมอยู่แล้ว แต่จะชุมนุมหรือไม่นั้นอยู่ที่การตัดสินใจของนายกฯ ในการประชุม ครม.สัญจร ส่วนเรื่อง นพ.ประดิษฐ ก็ยังยืนยันคำเดิมว่าต้องปลด เนื่องจากได้ยื่นเรื่องให้นายกฯแล้ว” นพ.อารักษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ชมรมแพทย์ชนบทได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการเจรจาร่วม 3 ฝ่าย มีใจความโดยย่อว่า เป็นการประกาศชัยชนะต่อ นพ.ประดิษฐ เพราะจากที่เคยไม่ยอมถอย และมีการดันมวลชนมาสู้สุดท้ายกลับยอมหมดรูป ถอยกรูดขอแต่เพียงรักษาหน้าว่าไม่แพ้เท่านั้น ชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายฯ ได้สรุปผลการเจจรจาว่า เราไม่ใช่ชนะแต่เรื่อง P4P เท่านั้น แต่เราสามารถหยุด นพ.ประดิษฐในหลายเรื่องสำคัญ ทั้งเรื่องระบบร่วมจ่าย การทำลายหลักการผู้ซื้อและผู้ให้บริการ รัฐบาลยอมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปลด ผอ.อภ.อย่างไม่เป็นธรรม โดยเป็นคำสั่งที่ลงนามโดยนายกฯ และที่สำคัญทำให้การเดินหน้าปฏิบัติการรวบของ นพ.ประดิษฐ สะดุดและต้องคิดให้หนักขึ้น
นอกจากนี้ ชมรมแพทย์ชนบทยังออกแถลงการณ์สรุปผลการเจรจา 3 ฝ่าย ด้วยว่า 1.รัฐบาลยืนยันไม่ใช้ระบบร่วมจ่าย 2.รัฐบาลจะยกเลิกการเก็บ 30 บาท หากทบทวนข้อมูลแล้วว่าไม่คุ้มค่าและไม่เหมาะสม 3.รมว.สาธารณสุขยืนยันที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะไม่มีการโอนอำนาจการจัดสรรงบประมาณให้เขตบริการสุขภาพของ สธ.4.ยืนยันจะไม่มีการแทรกแซงการบริหารงานของ สปสช. 5.นายกฯจะออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการปลด นพ.วิทิต 6.รัฐบาลยืนยันจะไม่มีแปรรูป อภ.7.รมว.สาธารณสุข ยืนยันจะไม่มีการใช้เงินสะสม 4,000 ล้านบาทของ อภ.สร้างศูนย์ความเป็นเลิศของ สธ 8.รมว.สาธารณสุข ยืนยันจะไม่ให้มีการโอนงบประมาณโครงการสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจำนวน 75 ล้านให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และให้เป็นไปตามข้อสังเกตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ 9.กรณีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของโรงพยาบาลชุมชน จะมีการออกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับใหม่ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน ให้มีรายละเอียดตามฉบับ4และ6 โดยมอบหมายให้ ดร.คนิศ ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน มีการเยียวยาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2556 ต่อผู้ถูกรอนสิทธิ์ ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 31 มี.ค.โดยให้ชดเชยเท่ากับส่วนต่างระหว่างอัตราตามเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 4, 6 และฉบับที่ 8 ทั้งหมด ทุกกลุ่มวิชาชีพ โดยมีการตั้งคณะกรรมการที่มาจากสหวิชาชีพ เพื่อพิจารณาปรับปรุงอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ในกลุ่มวิชาชีพอื่นๆ ให้เกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น และพิจารณากำหนดพื้นที่ใหม่ โดยการทำ P4P ให้เป็นไปโดยสมัครใจ หากนำมาใช้งานในโรงพยาบาลชุมชน ต้องให้ทุกภาคส่วนและสหวิชาชีพ ศึกษาและกำหนดหลักการ หลักเกณฑ์รายละเอียด ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชนแต่ละแห่งก่อน ส่วนการปลด นพ.ประดิษฐ ออกจากตำแหน่งได้มอบข้อมูลและหลักฐานให้กับนายกฯพิจารณาแล้ว โดยจะมีการนำสรุปผลการเจรจาเข้าสู่ ครม.สัญจรในวันที่ 11 มิ.ย.ซึ่งชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายฯ จะติดตามผลการประชุม เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวต่อไป
ด้าน นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผอ.รพ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา แกนนำชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นพ.สุพรรณ เป็นคนสำคัญที่จัดทำรายละเอียดนโยบาย P4P ที่ผิดพลาดไปเป็นการเก็บแต้มรายกิจกรรม จนเกิดความเสียหายมากมายต่อระบบ ทั้งยังแอบอ้างว่าการบรรจุพยาบาล 2 หมื่นอัตราเป็นผลงานของตนเอง ชอบให้ร้ายผู้อื่น เอาดีเข้าตัว จึงเป็นอีกคนที่แพทย์ชนบทเสนอให้ไล่ไปให้พ้นจาก สธ.ที่สำคัญเวลาไปสัมมนาชี้แจงนโยบาย P4P ต่างจังหวัด มีการพูดว่าพวกหมอที่ค้าน P4P มี 2 ทางเลือกคือ เลิกค้านเสียแล้วหันมาทำ P4P หรือหากไม่คิดจะทำตามนโยบายก็ให้ลาออกไป ซึ่งเป็นการสะท้อนความในใจของผู้ใหญ่ในกระทรวงที่คงอยากพูดนานแล้ว แต่เก็บไว้จนทนไม่ไหวจากการเดินสายไปที่ไหนก็ถูกโรงพยาบาลชุมชนตามไปค้านทุกที่ ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อ นพ.สุพรรณ ที่ต้องรับผิดชอบต่อความแตกแยกที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากรองปลัด สธ.และ รมว.สาธารณสุขต้องไม่ตั้งให้เป็นคนเช่นนี้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นอันขาด