หมอชนบทเสนอเปลี่ยนชื่อการทำ P4P เป็น PQO หรือจ่ายค่าตอบแทนตามคุณภาพงาน พร้อมยื่นร่างหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนฉบับใหม่ ปรับพื้นที่ รพช.221 แห่ง เชื่อช่วยลดงบประมาณได้ 500 ล.บาท ส่วนคณะทำงาน P4P สั่งตั้งคณะทำงานย่อย 3 ชุดดูเรื่องการเยียวยา-KPI รพช.-ปัญหาสายงานอื่น ก่อนเริ่มเดินหน้า P4P เต็มสูบ ต.ค.นี้
วันนี้ (18 มิ.ย.) ดร.คณิศ แสงสุพรรณ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำข้อเสนอการดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ครั้งที่ 1/2556 ว่า ที่ประชุมได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานย่อยขึ้นมา 3 ชุด เพื่อพิจารณาใน 3 ประเด็น คือ 1.คณะทำงานย่อยชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิธีการจ่ายค่าตอบแทน P4P โดยมี พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธาน ทำหน้าที่พิจารณาในเรื่องจำนวนเงินชดเชยที่จะใช้ แหล่งที่มาของเงินและระเบียบการเบิกจ่ายว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งแนวทางการเยียวยาชัดเจนว่า ให้นำจำนวนเงินที่เคยได้รับตามระเบียบเดิมตั้งแล้วลบด้วยจำนวนเงินที่ได้รับตามระเบียบ P4P หากได้รับเงินน้อยกว่าก็ให้มีการชดเชย
ดร.คณิศ กล่าวอีกว่า 2.คณะทำงานย่อยกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผล (KPI) ที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลชุมชน โดยมี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทเป็นประธาน เนื่องจาก P4P จะต้องมีการเดินหน้าต่ออย่างเป็นระบบพร้อมกันตั้งแต่ ต.ค.2556 กลุ่มโรงพยาบาลชุมชนจึงต้องเตรียมทำระบบประเมินผล ซึ่งในบริบทของโรงพยาบาลชุมชนจะต้องวัดผลเป็นรายโรงพยาบาลว่ามีการทำงานเป็นอย่างไร ไม่ใช่วัดผลเป็นรายบุคคลซึ่งวัดยาก และ 3.คณะทำงานย่อยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอื่นที่อาจจะมีบางจุดที่ต้องปรับ จะมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.เป็นประธาน
“P4P จะเดินหน้าพร้อมกันทั้งหมดเดือน ต.ค.2556 เป็นระบบใหม่ที่ทุกคนจะเดินไปพร้อมกัน ซึ่งคณะทำงานชุดย่อยจะมีเวลาดำเนินการเพียง 2 เดือนให้แล้วเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด จึงขอให้มีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 21 มิ.ย.นี้” ดร.คณิศ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การประชุมยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการเยียวยาว่าจะดำเนินการทันทีหรือไม่ หรือต้องรอจนถึงเมื่อใด หากไม่ชัดเจนก็จะเกิดปัญหาตามมา เพราะความเสียหายจากนโยบาย P4P เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2556 ทั้งนี้ ในที่ประชุมกลุ่มแพทย์โรงพยาบาลชุมชนได้เสนอ 2 เรื่อง คือ 1.หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยา โดยแนวทางการเยียวยาต่อผู้ถูกรอนสิทธิจากการบังคับใช้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงิน ค่าตอบแทน ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2556 ซึ่งจะต้องอิงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินฉบับที่ 4 และฉบับที่ 6 โดยเอามาบวกลบตามผลกระทบที่ได้รับ
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า 2.หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้เป็นไปตามฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นฉบับที่นำเนื้อหาจากฉบับ 4 และ 6 มาปรับปรุง โดยหลักเกณฑ์ใหม่ครั้งนี้ โรงพยาบาลชุมชนได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง 221 แห่งจากทั้งหมด 738 แห่ง ซึ่งการปรับพื้นที่ใหม่จะช่วยลดงบประมาณที่ต้องจ่ายให้บุคลากรลงไปร้อยละ 30 หรือประมาณ 500 ล้านบาท จากวงเงินทั้งหมด 1,500 ล้านบาท ยกตัวอย่าง รพ.บางบัวทอง มีการปรับพื้นที่ใหม่ให้เจริญขึ้น เดิมแพทย์ได้รับเงินค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท ก็เหลือ 30,000 บาท เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้โรงพยาบาลชุมชนรับได้ แต่การทำ P4P ต้องคุยในรายละเอียดอีกครั้ง โดยต้องยึดบริบทของแต่ละพื้นที่ และต้องทำด้วยความสมัครใจ
“พวกเราเห็นว่าไม่ควรใช้คำว่า P4P แต่ต้องเปลี่ยนเป็น PQO (Pay for Quality and Outcome) ซึ่งเป็นการจ่ายตามคุณภาพผลงาน ไม่ใช่แค่การนับแต้ม และต้องคิดในรูปแบบทีมงาน ไม่ใช่ตัวบุคคล โดยข้อสรุปจากการประชุมครั้งนี้จะนำเข้าที่ประชุมบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนในวันที่ 20 มิ.ย. ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ส่วนจะมีการเคลื่อนไหวหรือไม่ ต้องรอผลการประชุมในวันดังกล่าว” ประธานชมรมฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวรับประทานอาหารร่วมกับ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เพื่อหารือถึงปัญหาที่ผ่านมา นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ได้รับประทานอาหาร เป็นเพียงการหารือกันที่กระทรวง ถึงทิศทางการปรับปรุงนโยบายค่าตอบแทน และปัญหา P4P ซึ่ง นพ.ประดิษฐ แค่แวะมาทักทาย แต่ส่วนใหญ่พูดคุยกับ ดร.คณิศ
วันเดียวกัน นพ.ประดิษฐ กล่าวภายหลังหารือเพื่อทำความเข้าใจกับกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ว่า เป็นการทำความเข้าใจเรื่องการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ อภ.ว่าจะเข้ามาทำงานกันอย่างไร มีขอบเขตการตรวจสอบอย่างไร หากสงสัยในกระบวนการสอบสวนว่าหลักฐานเป็นอย่างไร คณะกรรมการก็จะชี้แจงได้ แต่หากถามเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องนี้ คณะกรรมการก็ไม่สามารถตอบได้ นอกจากนี้ ได้ทำความเข้าใจและขอให้สหภาพฯ ช่วยเข้ามาทำงานเพื่อทำให้องค์กรเคลื่อนต่อไปได้ การทำงานจะได้ราบรื่น ซึ่งทางสหภาพฯ ก็รับปากจะเข้าไปทำความเข้าใจให้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระแสการปรับ ครม.ซึ่งอาจจะมีรายชื่อ นพ.ประดิษฐ ถูกปรับออกด้วยนั้น นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า หากนายกรัฐมนตรีต้องการปรับเปลี่ยนก็ต้องทำตามผู้บังคับบัญชา ไม่ได้ลำบากใจ เพราะไม่ได้คาดหวังอะไร แต่ตั้งใจเข้ามาทำงาน ก็แล้วแต่ดุลยพินิจของนายกฯ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้หมดกำลังใจ เพียงแต่รู้สึกผิดหวังว่างานที่ตั้งใจไว้ทำไปได้ช้ากว่าที่ควร เพราะต้องแก้ปัญหาเดิมๆ ซึ่งยังมีปัญหาต้องแก้ในอนาคตอีกมาก ทั้งเรื่องประชากรสูงอายุ แรงงานต่างด้าว หากไม่สร้างระบบสุขภาพที่ดีก็ไม่สามารถรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
วันนี้ (18 มิ.ย.) ดร.คณิศ แสงสุพรรณ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำข้อเสนอการดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ครั้งที่ 1/2556 ว่า ที่ประชุมได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานย่อยขึ้นมา 3 ชุด เพื่อพิจารณาใน 3 ประเด็น คือ 1.คณะทำงานย่อยชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิธีการจ่ายค่าตอบแทน P4P โดยมี พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธาน ทำหน้าที่พิจารณาในเรื่องจำนวนเงินชดเชยที่จะใช้ แหล่งที่มาของเงินและระเบียบการเบิกจ่ายว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งแนวทางการเยียวยาชัดเจนว่า ให้นำจำนวนเงินที่เคยได้รับตามระเบียบเดิมตั้งแล้วลบด้วยจำนวนเงินที่ได้รับตามระเบียบ P4P หากได้รับเงินน้อยกว่าก็ให้มีการชดเชย
ดร.คณิศ กล่าวอีกว่า 2.คณะทำงานย่อยกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผล (KPI) ที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลชุมชน โดยมี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทเป็นประธาน เนื่องจาก P4P จะต้องมีการเดินหน้าต่ออย่างเป็นระบบพร้อมกันตั้งแต่ ต.ค.2556 กลุ่มโรงพยาบาลชุมชนจึงต้องเตรียมทำระบบประเมินผล ซึ่งในบริบทของโรงพยาบาลชุมชนจะต้องวัดผลเป็นรายโรงพยาบาลว่ามีการทำงานเป็นอย่างไร ไม่ใช่วัดผลเป็นรายบุคคลซึ่งวัดยาก และ 3.คณะทำงานย่อยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอื่นที่อาจจะมีบางจุดที่ต้องปรับ จะมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.เป็นประธาน
“P4P จะเดินหน้าพร้อมกันทั้งหมดเดือน ต.ค.2556 เป็นระบบใหม่ที่ทุกคนจะเดินไปพร้อมกัน ซึ่งคณะทำงานชุดย่อยจะมีเวลาดำเนินการเพียง 2 เดือนให้แล้วเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด จึงขอให้มีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 21 มิ.ย.นี้” ดร.คณิศ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การประชุมยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการเยียวยาว่าจะดำเนินการทันทีหรือไม่ หรือต้องรอจนถึงเมื่อใด หากไม่ชัดเจนก็จะเกิดปัญหาตามมา เพราะความเสียหายจากนโยบาย P4P เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2556 ทั้งนี้ ในที่ประชุมกลุ่มแพทย์โรงพยาบาลชุมชนได้เสนอ 2 เรื่อง คือ 1.หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยา โดยแนวทางการเยียวยาต่อผู้ถูกรอนสิทธิจากการบังคับใช้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงิน ค่าตอบแทน ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2556 ซึ่งจะต้องอิงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินฉบับที่ 4 และฉบับที่ 6 โดยเอามาบวกลบตามผลกระทบที่ได้รับ
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า 2.หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้เป็นไปตามฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นฉบับที่นำเนื้อหาจากฉบับ 4 และ 6 มาปรับปรุง โดยหลักเกณฑ์ใหม่ครั้งนี้ โรงพยาบาลชุมชนได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง 221 แห่งจากทั้งหมด 738 แห่ง ซึ่งการปรับพื้นที่ใหม่จะช่วยลดงบประมาณที่ต้องจ่ายให้บุคลากรลงไปร้อยละ 30 หรือประมาณ 500 ล้านบาท จากวงเงินทั้งหมด 1,500 ล้านบาท ยกตัวอย่าง รพ.บางบัวทอง มีการปรับพื้นที่ใหม่ให้เจริญขึ้น เดิมแพทย์ได้รับเงินค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท ก็เหลือ 30,000 บาท เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้โรงพยาบาลชุมชนรับได้ แต่การทำ P4P ต้องคุยในรายละเอียดอีกครั้ง โดยต้องยึดบริบทของแต่ละพื้นที่ และต้องทำด้วยความสมัครใจ
“พวกเราเห็นว่าไม่ควรใช้คำว่า P4P แต่ต้องเปลี่ยนเป็น PQO (Pay for Quality and Outcome) ซึ่งเป็นการจ่ายตามคุณภาพผลงาน ไม่ใช่แค่การนับแต้ม และต้องคิดในรูปแบบทีมงาน ไม่ใช่ตัวบุคคล โดยข้อสรุปจากการประชุมครั้งนี้จะนำเข้าที่ประชุมบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนในวันที่ 20 มิ.ย. ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ส่วนจะมีการเคลื่อนไหวหรือไม่ ต้องรอผลการประชุมในวันดังกล่าว” ประธานชมรมฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวรับประทานอาหารร่วมกับ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เพื่อหารือถึงปัญหาที่ผ่านมา นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ได้รับประทานอาหาร เป็นเพียงการหารือกันที่กระทรวง ถึงทิศทางการปรับปรุงนโยบายค่าตอบแทน และปัญหา P4P ซึ่ง นพ.ประดิษฐ แค่แวะมาทักทาย แต่ส่วนใหญ่พูดคุยกับ ดร.คณิศ
วันเดียวกัน นพ.ประดิษฐ กล่าวภายหลังหารือเพื่อทำความเข้าใจกับกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ว่า เป็นการทำความเข้าใจเรื่องการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ อภ.ว่าจะเข้ามาทำงานกันอย่างไร มีขอบเขตการตรวจสอบอย่างไร หากสงสัยในกระบวนการสอบสวนว่าหลักฐานเป็นอย่างไร คณะกรรมการก็จะชี้แจงได้ แต่หากถามเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องนี้ คณะกรรมการก็ไม่สามารถตอบได้ นอกจากนี้ ได้ทำความเข้าใจและขอให้สหภาพฯ ช่วยเข้ามาทำงานเพื่อทำให้องค์กรเคลื่อนต่อไปได้ การทำงานจะได้ราบรื่น ซึ่งทางสหภาพฯ ก็รับปากจะเข้าไปทำความเข้าใจให้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระแสการปรับ ครม.ซึ่งอาจจะมีรายชื่อ นพ.ประดิษฐ ถูกปรับออกด้วยนั้น นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า หากนายกรัฐมนตรีต้องการปรับเปลี่ยนก็ต้องทำตามผู้บังคับบัญชา ไม่ได้ลำบากใจ เพราะไม่ได้คาดหวังอะไร แต่ตั้งใจเข้ามาทำงาน ก็แล้วแต่ดุลยพินิจของนายกฯ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้หมดกำลังใจ เพียงแต่รู้สึกผิดหวังว่างานที่ตั้งใจไว้ทำไปได้ช้ากว่าที่ควร เพราะต้องแก้ปัญหาเดิมๆ ซึ่งยังมีปัญหาต้องแก้ในอนาคตอีกมาก ทั้งเรื่องประชากรสูงอายุ แรงงานต่างด้าว หากไม่สร้างระบบสุขภาพที่ดีก็ไม่สามารถรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้