“หมอประดิษฐ” ยันเสนอข้อสรุป 3 ฝ่ายแก่ ครม.ทุกเรื่อง เตรียมดึงกรมบัญชีกลางร่วมวง คกก.P4P ถกวิธีการจ่ายเงินเยียวยา พ้อหากตกลงกันได้แต่แพทย์ชนบทไม่ทำตามคงเป็นเพราะไม่ชอบขี้หน้าด้านชมรม รพศ./รพท.ออกแถลงการณ์จวกหมอชนบทชุมนุมหน้าบ้านนายกฯเอาผู้ป่วยเป็นตัวประกัน
วันนี้ (12 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทกล่าวหาตนและรัฐบาลหักหลัง เนื่องจากข้อสรุปทั้ง 10 ข้อในการหารือ 3 ฝ่ายเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ ตามที่มีการตกลงกัน ว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิดมากกว่า เพราะหากนำเอกสารข้อสรุปที่ส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบมาดูจะพบว่าครบถ้วนทุกประเด็น และทำตามทุกข้อที่ฝ่ายเรียกร้องเสนอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่มีการแปรรูปองค์การเภสัชกรรม (อภ.) การร่วมจ่ายก็ต้องเข้าบอร์ด สปสช.รับทราบและให้ความเห็นก่อน การตั้งคณะกรรมการตรวจข้อมูลหลักฐานการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.การตั้งคณะกรรมการ P4P เป็นต้น ส่วนเรื่องการขับไล่ตนออกจากตำแหน่งนั้นกลุ่มผู้เรียกร้องก็ยื่นข้อมูลให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของนายกฯ
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับวันนี้ สธ.ก็เริ่มดำเนินการสิ่งที่ตกลงกันไว้ 2 เรื่อง คือ จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาหารือเรื่องการทำกติกา P4P และหามาตรการชดเชยเยียวยาจากการทำและไม่ทำ P4P ว่าจะมีใครบ้าง และดำเนินการอย่างไร รวมถึงขอรายชื่อทีมที่จะตรวจข้อมูลการปลด นพ.วิทิต ด้วย ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาร่วมหารือนั้นจะเป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สหวิชาชีพ สำหรับภาคประชาชนไม่ควรที่จะเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นตรงนี้ แต่สามารถเข้ามารับฟังได้ โดยจะต้องมีการกำหนดกติกากลางขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างโรงพยาบาล
ผู้สื่อข่าวถามถึงแพทย์ชนบทยืนยันว่าการเยียวยาต้องชดเชยตามประกาศฉบับ 4 และ 6 เท่านั้น นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การเยียวยาจะต้องเป็นส่วนต่างค่าตอบแทนที่ได้รับผลกระทบ คือนำของเก่ามาลบกับของใหม่ ไม่ใช่การยึดตามประกาศฉบับ 4 และ 6 ทั้งนี้ จะมีการเชิญตัวแทนจากกรมบัญชีกลางมาร่วมหารือด้วยว่าจะสามารถเบิกจ่ายการเยียวยาอย่างไรได้บ้าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และไม่ใช่การเยียวยาเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น หากดำเนินการ P4P แล้ว องค์กรเสียหายก็ต้องชดเชยให้แก่สถานพยาบาลด้วยเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา
เมื่อถามถึงแพทย์ชนบท ระบุว่า การทำ P4P ต้องเป็นไปโดยสมัครใจ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตามประกาศฉบับ 9 คือโรงพยาบาลใดที่ยังไม่พร้อม อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุก็ยังไม่ต้องทำ ซึ่งก็จะได้รับการชดเชย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแต่จำเป็นจะต้องมีการวัดผล ประเมินผล เพื่อพัฒนาและปรับปรุง P4P จึงเป็นเครื่องมือที่ดีในการทำหน้าที่ตรงนี้
“หากคุยกันทั้งหมดแล้วกลุ่มผู้เรียกร้องไม่ทำตามก็ถือเป็นการจงใจ เพราะตัวเองตกลงเองแล้ว แต่ไม่ทำเองเรื่องก็ไม่จบ ก็คงเข้าใจได้อย่างเดียวว่าไม่ชอบหน้าผม” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่อง “ไม่เห็นด้วยกับท่าทีและการแสดงออกของชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่าย" มีเนื้อหาสาระโดยสรุปดังนี้ การชุมนุมขับไล่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ของชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ในวันที่ 20 มิ.ย. 56 ทางชมรมฯ เห็นว่า การแสดงออกดังกล่าวจะสร้างปัญหา ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน โดยเฉพาะการตั้งโรงพยาบาลคนจนภาคสนาม อาจทำให้ผู้ป่วยที่มาชุมนุมมีความเสี่ยงและได้รับอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง การเป็นอารยชนที่มีความเจริญควรแสดงออกของจุดยืนในขอบเขตที่สังคมยอมรับได้
ทั้งนี้ การกล่าวหาว่าผู้แทนนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข หักหลังไม่นำผลสรุปของการเจรจาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะ รมว.สาธารณสุขได้ชี้แจงข้อสรุปแก่ ครม.ครบถ้วนทุกประเด็นตรงกันในสาระสำคัญ เช่น เรื่องไม่ใช้ระบบร่วมจ่าย เรื่องการยกเลิกการเก็บ 30 บาท เรื่องไม่มีการแทรกแซง สปสช.แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงขององค์การเภสัชกรรม เป็นต้น สำหรับประเด็นค่าตอบแทนตามมติ ครม. ฉบับ 8 และ 9 อาจมีความเข้าใจไม่ตรงกันในบางประเด็น ซึ่งสามารถไปทบทวนและหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกันในคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกวิชาชีพและสถานบริการทุกระดับ
ชมรมฯไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมโดยไม่เจรจา ไม่เห็นด้วยกับการเอาประเด็นอื่นมาเบี่ยงเบนประเด็นค่าตอบแทนตามภาระงาน และไม่เห็นด้วยกับการเอาผู้ป่วยมาเป็นตัวประกัน ควรร่วมมือกันหาข้อสรุปผ่านคณะกรรมการ
วันนี้ (12 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทกล่าวหาตนและรัฐบาลหักหลัง เนื่องจากข้อสรุปทั้ง 10 ข้อในการหารือ 3 ฝ่ายเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ ตามที่มีการตกลงกัน ว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิดมากกว่า เพราะหากนำเอกสารข้อสรุปที่ส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบมาดูจะพบว่าครบถ้วนทุกประเด็น และทำตามทุกข้อที่ฝ่ายเรียกร้องเสนอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่มีการแปรรูปองค์การเภสัชกรรม (อภ.) การร่วมจ่ายก็ต้องเข้าบอร์ด สปสช.รับทราบและให้ความเห็นก่อน การตั้งคณะกรรมการตรวจข้อมูลหลักฐานการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.การตั้งคณะกรรมการ P4P เป็นต้น ส่วนเรื่องการขับไล่ตนออกจากตำแหน่งนั้นกลุ่มผู้เรียกร้องก็ยื่นข้อมูลให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของนายกฯ
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับวันนี้ สธ.ก็เริ่มดำเนินการสิ่งที่ตกลงกันไว้ 2 เรื่อง คือ จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาหารือเรื่องการทำกติกา P4P และหามาตรการชดเชยเยียวยาจากการทำและไม่ทำ P4P ว่าจะมีใครบ้าง และดำเนินการอย่างไร รวมถึงขอรายชื่อทีมที่จะตรวจข้อมูลการปลด นพ.วิทิต ด้วย ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาร่วมหารือนั้นจะเป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สหวิชาชีพ สำหรับภาคประชาชนไม่ควรที่จะเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นตรงนี้ แต่สามารถเข้ามารับฟังได้ โดยจะต้องมีการกำหนดกติกากลางขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างโรงพยาบาล
ผู้สื่อข่าวถามถึงแพทย์ชนบทยืนยันว่าการเยียวยาต้องชดเชยตามประกาศฉบับ 4 และ 6 เท่านั้น นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การเยียวยาจะต้องเป็นส่วนต่างค่าตอบแทนที่ได้รับผลกระทบ คือนำของเก่ามาลบกับของใหม่ ไม่ใช่การยึดตามประกาศฉบับ 4 และ 6 ทั้งนี้ จะมีการเชิญตัวแทนจากกรมบัญชีกลางมาร่วมหารือด้วยว่าจะสามารถเบิกจ่ายการเยียวยาอย่างไรได้บ้าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และไม่ใช่การเยียวยาเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น หากดำเนินการ P4P แล้ว องค์กรเสียหายก็ต้องชดเชยให้แก่สถานพยาบาลด้วยเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา
เมื่อถามถึงแพทย์ชนบท ระบุว่า การทำ P4P ต้องเป็นไปโดยสมัครใจ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตามประกาศฉบับ 9 คือโรงพยาบาลใดที่ยังไม่พร้อม อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุก็ยังไม่ต้องทำ ซึ่งก็จะได้รับการชดเชย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแต่จำเป็นจะต้องมีการวัดผล ประเมินผล เพื่อพัฒนาและปรับปรุง P4P จึงเป็นเครื่องมือที่ดีในการทำหน้าที่ตรงนี้
“หากคุยกันทั้งหมดแล้วกลุ่มผู้เรียกร้องไม่ทำตามก็ถือเป็นการจงใจ เพราะตัวเองตกลงเองแล้ว แต่ไม่ทำเองเรื่องก็ไม่จบ ก็คงเข้าใจได้อย่างเดียวว่าไม่ชอบหน้าผม” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่อง “ไม่เห็นด้วยกับท่าทีและการแสดงออกของชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่าย" มีเนื้อหาสาระโดยสรุปดังนี้ การชุมนุมขับไล่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ของชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ในวันที่ 20 มิ.ย. 56 ทางชมรมฯ เห็นว่า การแสดงออกดังกล่าวจะสร้างปัญหา ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน โดยเฉพาะการตั้งโรงพยาบาลคนจนภาคสนาม อาจทำให้ผู้ป่วยที่มาชุมนุมมีความเสี่ยงและได้รับอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง การเป็นอารยชนที่มีความเจริญควรแสดงออกของจุดยืนในขอบเขตที่สังคมยอมรับได้
ทั้งนี้ การกล่าวหาว่าผู้แทนนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข หักหลังไม่นำผลสรุปของการเจรจาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะ รมว.สาธารณสุขได้ชี้แจงข้อสรุปแก่ ครม.ครบถ้วนทุกประเด็นตรงกันในสาระสำคัญ เช่น เรื่องไม่ใช้ระบบร่วมจ่าย เรื่องการยกเลิกการเก็บ 30 บาท เรื่องไม่มีการแทรกแซง สปสช.แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงขององค์การเภสัชกรรม เป็นต้น สำหรับประเด็นค่าตอบแทนตามมติ ครม. ฉบับ 8 และ 9 อาจมีความเข้าใจไม่ตรงกันในบางประเด็น ซึ่งสามารถไปทบทวนและหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกันในคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกวิชาชีพและสถานบริการทุกระดับ
ชมรมฯไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมโดยไม่เจรจา ไม่เห็นด้วยกับการเอาประเด็นอื่นมาเบี่ยงเบนประเด็นค่าตอบแทนตามภาระงาน และไม่เห็นด้วยกับการเอาผู้ป่วยมาเป็นตัวประกัน ควรร่วมมือกันหาข้อสรุปผ่านคณะกรรมการ