“หมอประดิษฐ” ยันไม่ปรับเกณฑ์จ่ายค่าตอบแทนเป็น 1 โรงพยาบาล 2 ระบบ ย้ำโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ สปสช.ได้เงินคืนแน่ แต่ล่าช้าเพราะระบบราชการ ฟุ้งคนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ เมินถูกฟ้อง 800 คน ต้องจ่ายเงิน บอกจะแก้ไขต่อไป แต่ไม่ทำลายหลักการ
วันนี้ (3 พ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมทิศทางพัฒนากระทรวงสาธารณสุขและการปรับจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) ว่า ปัจจุบันอยู่ในระยะที่นำหลักเกณฑ์ไปปฏิบัติ เก็บข้อมูล และพูดคุยกันเพื่อทำความเข้าใจในวิธีปฏิบัติกับหลายๆ ฝ่าย ในระยะแรกยังเป็นขั้นการทำความเข้าใจและเริ่มลงมือปฏิบัติ ดังนั้น ใน 1 เดือนจึงยังไม่สามารถประเมินอะไรได้ โดยในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ยังอยู่ในขั้นตอนของการส่งข้อมูลว่าจะปรับระดับของพื้นที่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม สำหรับความเห็นที่ยังคัดค้านอยู่นั้น จากข่าวที่พยายามอธิบายมาโดยตลอดก็ยังยืนยันว่าหลักการของเรื่องนี้ต้องเดินหน้าต่อไป เพียงแต่ต้องมีการปรับความเข้าใจให้ตรงกัน และปรับปรุงต่อไป
เมื่อถามถึงข้อเสนอของ รพช.ใน 7 จังหวัดภาคใต้ ที่เสนอให้ สธ.ใช้หลักเกณฑ์จ่ายเป็น 2 ระบบ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การใช้สองระบบเป็นไปได้ยาก เช่น หากบุคลากรส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลอยากทำ P4P อีกส่วนไม่อยากทำ ต้องเป็นหนึ่งโรงพยาบาลสองระบบหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าวิธีการทำตามเกณฑ์จะไม่เป็นการตัดสิทธิคนอื่น เพราะระบบใหม่เป็นการเหมาจ่ายอยู่แล้วและเพิ่มด้วย P4P ไม่ได้เป็นการตัดสิทธิเดิม เป็นโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น ซึ่งบุคลากรสายอื่นจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย แต่หากทำแบบเดิมบุคลากรสายอื่นก็จะไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มด้วย ส่วนที่จะเรียกร้องให้แต่ละโรงพยาบาลทำโดยสมัครใจนั้น เชื่อว่าจะผลเสียมากกว่า
นพ.ประดิษฐ กล่าวถึงกรณีโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินว่า ทุกอย่างสามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่ด้วยระบบราชการมักจะใช้เวลานานในขั้นตอนการเบิกซึ่งเป็นเรื่องปกติ การเบิกจ่ายสามารถทำได้แน่นอน โดยได้สอบถามกรมบัญชีกลางและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แล้ว เพียงแต่ระยะเวลาการเบิกจ่ายจะล่าช้าเท่านั้น ส่วนกรณีที่จะมีการดำเนินการฟ้องร้องในเรื่องการดำเนินงานนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น หากจะมีการฟ้องร้องจริงก็ถือว่าเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่หากฟ้องร้องไม่ถูกต้อง บิดเบือนข้อมูลต่างๆ คณะกรรมการก็จะดำเนินการตามข้อเท็จจริง และตอบโต้เพื่อปกป้องสิทธิของคณะกรรมการเช่นกันหากมีการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง หากจะร้องก็ขอให้ใช้ดุลพินิจให้ดี
“เรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉินรักษาได้ทุกโรงพยาบาลเป็นนโยบายที่ดี จากการประเมินมีคนมาใช้สิทธิตามนโยบายนี้ประมาณ 20,000 คน มีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิตประมาณ 9,000 คน หากไม่มีนโยบายนี้คนในจำนวนดังกล่าวอาจเสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันมีการเรียกร้องว่า มีคน 800 คน ต้องจ่ายเงินนั้น ไม่เป็นเหตุผลที่ควรเพราะหากไม่มีนโยบายนี้ คน 800 คนก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี แต่เมื่อมีโครงการนี้คนอีก 20,000 คน ได้รับการช่วยเหลือ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะนิ่งเฉย ก็จะมีการแก้ไขต่อไป เพียงแต่ไม่ต้องการให้ทำลายหลักการที่จะช่วยเหลือคนอีกจำนวนมาก มากกว่ามาหาเรื่องตำหนิ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ นายแพทย์เชี่ยวชาญหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารสุขภาพ รพ.มะการักษ์ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า รพ.มะการักษ์เริ่มใช้วิธีการจ่ายแบบ P4P ตั้งแต่ปี 2552 โดยช่วงที่ทำระยะแรกบุคลากรก็รู้สึกว่าเป็นภาระ แต่เมื่อทำไปแล้วก็พบว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากทำให้คนที่ทำงานมาก มีความภาคภูมิใจและเห็นว่าได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ทางโรงพยาบาลค่อนข้างอยู่ตัวแล้ว เนื่องจากมีการตั้งคณะกรรมการกลางที่มาจะทุกฝ่าย เพื่อคอยดูแลและปรับคะแนนตามความเหมาะสม โดยวิธีคิดค่าคะแนนนั้นทางโรงพยาบาลจะดูตามงาน เช่น งานที่ไม่มีคนอยากทำก็จะเพิ่มคะแนนให้ ซึ่งเมื่อทำไปแล้วพบว่าการจัดระบบไม่ได้เป็นภาระ
“นโยบายใหม่ของกระทรวงที่ออกมาใหม่ทางโรงพยาบาลก็เตรียมปรับคะแนนบางอย่างเพิ่มขึ้นตามประกาศของกระทรวงฯ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ลำบากใจมากที่สุดขณะนี้คือเสียงต่อต้านการจ่ายแบบ P4P ที่ทำให้รู้สึกว่าผมทำสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่ แต่เมื่อกลับมาทบทวนพร้อมเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลกว่า 614 คนก็คิดเห็นตรงกันว่าทำถูกต้อง ส่วนกรณีที่เกิดความขัดแย้งเห็นว่า อาจเป็นเรื่องของการถูกลดค่าตอบแทนและยังไม่เข้าใจจึงเกิดการต่อต้าน ดังนั้น สิ่งที่กระทรวงต้องทำคือการบริหารความรู้สึก และต้องเดินหน้า P4P ต่อไป เพื่อหาปัญหาและหาวิธีแก้ไขและปรับปรุง เพราะหากไม่ทำก็จะไม่รู้ว่าควรแก้ปัญหาที่จุดใด” นพ.อนุกูล กล่าว
วันนี้ (3 พ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมทิศทางพัฒนากระทรวงสาธารณสุขและการปรับจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) ว่า ปัจจุบันอยู่ในระยะที่นำหลักเกณฑ์ไปปฏิบัติ เก็บข้อมูล และพูดคุยกันเพื่อทำความเข้าใจในวิธีปฏิบัติกับหลายๆ ฝ่าย ในระยะแรกยังเป็นขั้นการทำความเข้าใจและเริ่มลงมือปฏิบัติ ดังนั้น ใน 1 เดือนจึงยังไม่สามารถประเมินอะไรได้ โดยในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ยังอยู่ในขั้นตอนของการส่งข้อมูลว่าจะปรับระดับของพื้นที่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม สำหรับความเห็นที่ยังคัดค้านอยู่นั้น จากข่าวที่พยายามอธิบายมาโดยตลอดก็ยังยืนยันว่าหลักการของเรื่องนี้ต้องเดินหน้าต่อไป เพียงแต่ต้องมีการปรับความเข้าใจให้ตรงกัน และปรับปรุงต่อไป
เมื่อถามถึงข้อเสนอของ รพช.ใน 7 จังหวัดภาคใต้ ที่เสนอให้ สธ.ใช้หลักเกณฑ์จ่ายเป็น 2 ระบบ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การใช้สองระบบเป็นไปได้ยาก เช่น หากบุคลากรส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลอยากทำ P4P อีกส่วนไม่อยากทำ ต้องเป็นหนึ่งโรงพยาบาลสองระบบหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าวิธีการทำตามเกณฑ์จะไม่เป็นการตัดสิทธิคนอื่น เพราะระบบใหม่เป็นการเหมาจ่ายอยู่แล้วและเพิ่มด้วย P4P ไม่ได้เป็นการตัดสิทธิเดิม เป็นโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น ซึ่งบุคลากรสายอื่นจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย แต่หากทำแบบเดิมบุคลากรสายอื่นก็จะไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มด้วย ส่วนที่จะเรียกร้องให้แต่ละโรงพยาบาลทำโดยสมัครใจนั้น เชื่อว่าจะผลเสียมากกว่า
นพ.ประดิษฐ กล่าวถึงกรณีโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินว่า ทุกอย่างสามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่ด้วยระบบราชการมักจะใช้เวลานานในขั้นตอนการเบิกซึ่งเป็นเรื่องปกติ การเบิกจ่ายสามารถทำได้แน่นอน โดยได้สอบถามกรมบัญชีกลางและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แล้ว เพียงแต่ระยะเวลาการเบิกจ่ายจะล่าช้าเท่านั้น ส่วนกรณีที่จะมีการดำเนินการฟ้องร้องในเรื่องการดำเนินงานนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น หากจะมีการฟ้องร้องจริงก็ถือว่าเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่หากฟ้องร้องไม่ถูกต้อง บิดเบือนข้อมูลต่างๆ คณะกรรมการก็จะดำเนินการตามข้อเท็จจริง และตอบโต้เพื่อปกป้องสิทธิของคณะกรรมการเช่นกันหากมีการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง หากจะร้องก็ขอให้ใช้ดุลพินิจให้ดี
“เรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉินรักษาได้ทุกโรงพยาบาลเป็นนโยบายที่ดี จากการประเมินมีคนมาใช้สิทธิตามนโยบายนี้ประมาณ 20,000 คน มีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิตประมาณ 9,000 คน หากไม่มีนโยบายนี้คนในจำนวนดังกล่าวอาจเสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันมีการเรียกร้องว่า มีคน 800 คน ต้องจ่ายเงินนั้น ไม่เป็นเหตุผลที่ควรเพราะหากไม่มีนโยบายนี้ คน 800 คนก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี แต่เมื่อมีโครงการนี้คนอีก 20,000 คน ได้รับการช่วยเหลือ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะนิ่งเฉย ก็จะมีการแก้ไขต่อไป เพียงแต่ไม่ต้องการให้ทำลายหลักการที่จะช่วยเหลือคนอีกจำนวนมาก มากกว่ามาหาเรื่องตำหนิ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ นายแพทย์เชี่ยวชาญหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารสุขภาพ รพ.มะการักษ์ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า รพ.มะการักษ์เริ่มใช้วิธีการจ่ายแบบ P4P ตั้งแต่ปี 2552 โดยช่วงที่ทำระยะแรกบุคลากรก็รู้สึกว่าเป็นภาระ แต่เมื่อทำไปแล้วก็พบว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากทำให้คนที่ทำงานมาก มีความภาคภูมิใจและเห็นว่าได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ทางโรงพยาบาลค่อนข้างอยู่ตัวแล้ว เนื่องจากมีการตั้งคณะกรรมการกลางที่มาจะทุกฝ่าย เพื่อคอยดูแลและปรับคะแนนตามความเหมาะสม โดยวิธีคิดค่าคะแนนนั้นทางโรงพยาบาลจะดูตามงาน เช่น งานที่ไม่มีคนอยากทำก็จะเพิ่มคะแนนให้ ซึ่งเมื่อทำไปแล้วพบว่าการจัดระบบไม่ได้เป็นภาระ
“นโยบายใหม่ของกระทรวงที่ออกมาใหม่ทางโรงพยาบาลก็เตรียมปรับคะแนนบางอย่างเพิ่มขึ้นตามประกาศของกระทรวงฯ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ลำบากใจมากที่สุดขณะนี้คือเสียงต่อต้านการจ่ายแบบ P4P ที่ทำให้รู้สึกว่าผมทำสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่ แต่เมื่อกลับมาทบทวนพร้อมเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลกว่า 614 คนก็คิดเห็นตรงกันว่าทำถูกต้อง ส่วนกรณีที่เกิดความขัดแย้งเห็นว่า อาจเป็นเรื่องของการถูกลดค่าตอบแทนและยังไม่เข้าใจจึงเกิดการต่อต้าน ดังนั้น สิ่งที่กระทรวงต้องทำคือการบริหารความรู้สึก และต้องเดินหน้า P4P ต่อไป เพื่อหาปัญหาและหาวิธีแก้ไขและปรับปรุง เพราะหากไม่ทำก็จะไม่รู้ว่าควรแก้ปัญหาที่จุดใด” นพ.อนุกูล กล่าว