โรคท้องเสียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็ก ที่เจอบ่อยก็คือ เด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งปี จนกระทั่งอายุประมาณ 5 ปี แต่หลังจากอายุหนึ่งปีไปแล้ว ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามสถิติ ในบ้านเราค่อนข้างดีขึ้น และล่าสุด การสำรวจเมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน ของกระทรวงสาธารณสุข อัตราป่วยจะอยู่ที่หนึ่งครั้งต่อคนต่อปี
อาการหลักๆ ก็คือ ถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง ในเวลา 24 ชม.เป็นปัญหาของเด็กเล็กที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะต่ำกว่า 1 ปี เพราะมีโอกาสรับเชื้อง่ายจากการได้รับจากอาหาร น้ำที่ปนเปื้อน หรือมือตัวเอง ร่วมกับภูมิต้านทานโรคต่ำ
การรักษาท้องเสีย เบื้องต้นสามารถทำการเริ่มต้นทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และทันทีในปริมาณที่เหมาะสมด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ โดยผสม 1 ซองต่อน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้วน้ำหรือ 1 ขวดนม (8 ออนซ์)
ถ้าไม่มีสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สำเร็จรูป สามารถทำเองโดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือป่นครึ่งช้อนชา + น้ำสะอาด 3 แก้ว หรือ 3 ขวดนม (ขวดละ 8 ออนซ์) หรือน้ำข้าว 1 แก้ว (ขวดละ 8 ออนซ์) + เกลือประมาณ 2 หยิบนิ้วมือหรือเค็มพอรับประทานได้ หรือน้ำมะพร้าวอ่อน 1 แก้ว (ขวดละ 8 ออนซ์) + เกลือ 2 หยิบนิ้วมือ (เค็มพอรับประทานได้) ในเด็กเล็กให้ใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อย บ่อยๆ ในเด็กโต ใช้จิบทีละน้อยบ่อยๆ ในเด็กโตที่เริ่มกินข้าวแล้วอาจให้เพิ่มอีก 1 มื้อเป็นอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม, โจ๊ก ถ้าไม่มีอะไรจริงๆ ใช้น้ำซุป, น้ำแกงจืดหรือน้ำผลไม้เติมเกลือเล็กน้อยก็พอใช้ได้
**ปริมาณสารละลายน้ำตาลเกลือแร่**
อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ครั้งละ 2-3 ออนซ์ (1/4 - 1/2 แก้วน้ำ) โดยให้ทุกครั้งที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ โดยให้ใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อย
อายุ 2 - 10 ปี ครั้งละ ? - 1 แก้วน้ำ (3-6 หรือ 8 ออนซ์)
อายุ 10 ปี ขึ้นไป ดื่มมากเท่าที่ดื่มได้
**อาหารที่ควรให้ขณะท้องเสีย**
เด็กเล็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ให้นมแม่ต่อไป ให้เด็กดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ
เด็กที่เลี้ยงด้วยนม ผสมให้ชงในอัตราส่วนปกติแต่ลดปริมาณที่กินต่อมื้อลงและชดเชยด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
เด็กโตให้อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายเป็นข้าวต้ม, โจ๊ก โดยอาจต้องเพิ่มให้บ่อยกว่าปกติ ถ้าเด็กสามารถดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่และกินอาหารและนมได้ถึงแม้จะยังถ่ายอยู่แต่เด็กไม่อ่อนเพลีย ดูสดใสขึ้น แสดงว่าทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทัน และพอเพียงก็ให้ดื่มต่อไปจนกว่าจะหยุดถ่าย แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน หรือมีข้อบ่งชี้อื่นๆ ควรพบแพทย์เพื่อให้การรักษา
**อาการหรือข้อบ่งชี้ ที่ควรนำเด็กไปพบแพทย์ มีดังนี้**
1.ถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด 2.ไข้สูงหรือชัก 3.อาเจียนบ่อย 4.ท้องอืด 5.หอบลึก 6.ไม่ยอมดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทุกชนิดและ/หรือไม่ยอมดื่มหรือกินอาหาร 7.ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่แล้วแต่เด็กยังดูเพลีย, ซึม 8.ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย หรือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo
อาการหลักๆ ก็คือ ถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง ในเวลา 24 ชม.เป็นปัญหาของเด็กเล็กที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะต่ำกว่า 1 ปี เพราะมีโอกาสรับเชื้อง่ายจากการได้รับจากอาหาร น้ำที่ปนเปื้อน หรือมือตัวเอง ร่วมกับภูมิต้านทานโรคต่ำ
การรักษาท้องเสีย เบื้องต้นสามารถทำการเริ่มต้นทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และทันทีในปริมาณที่เหมาะสมด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ โดยผสม 1 ซองต่อน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้วน้ำหรือ 1 ขวดนม (8 ออนซ์)
ถ้าไม่มีสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สำเร็จรูป สามารถทำเองโดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือป่นครึ่งช้อนชา + น้ำสะอาด 3 แก้ว หรือ 3 ขวดนม (ขวดละ 8 ออนซ์) หรือน้ำข้าว 1 แก้ว (ขวดละ 8 ออนซ์) + เกลือประมาณ 2 หยิบนิ้วมือหรือเค็มพอรับประทานได้ หรือน้ำมะพร้าวอ่อน 1 แก้ว (ขวดละ 8 ออนซ์) + เกลือ 2 หยิบนิ้วมือ (เค็มพอรับประทานได้) ในเด็กเล็กให้ใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อย บ่อยๆ ในเด็กโต ใช้จิบทีละน้อยบ่อยๆ ในเด็กโตที่เริ่มกินข้าวแล้วอาจให้เพิ่มอีก 1 มื้อเป็นอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม, โจ๊ก ถ้าไม่มีอะไรจริงๆ ใช้น้ำซุป, น้ำแกงจืดหรือน้ำผลไม้เติมเกลือเล็กน้อยก็พอใช้ได้
**ปริมาณสารละลายน้ำตาลเกลือแร่**
อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ครั้งละ 2-3 ออนซ์ (1/4 - 1/2 แก้วน้ำ) โดยให้ทุกครั้งที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ โดยให้ใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อย
อายุ 2 - 10 ปี ครั้งละ ? - 1 แก้วน้ำ (3-6 หรือ 8 ออนซ์)
อายุ 10 ปี ขึ้นไป ดื่มมากเท่าที่ดื่มได้
**อาหารที่ควรให้ขณะท้องเสีย**
เด็กเล็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ให้นมแม่ต่อไป ให้เด็กดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ
เด็กที่เลี้ยงด้วยนม ผสมให้ชงในอัตราส่วนปกติแต่ลดปริมาณที่กินต่อมื้อลงและชดเชยด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
เด็กโตให้อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายเป็นข้าวต้ม, โจ๊ก โดยอาจต้องเพิ่มให้บ่อยกว่าปกติ ถ้าเด็กสามารถดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่และกินอาหารและนมได้ถึงแม้จะยังถ่ายอยู่แต่เด็กไม่อ่อนเพลีย ดูสดใสขึ้น แสดงว่าทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทัน และพอเพียงก็ให้ดื่มต่อไปจนกว่าจะหยุดถ่าย แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน หรือมีข้อบ่งชี้อื่นๆ ควรพบแพทย์เพื่อให้การรักษา
**อาการหรือข้อบ่งชี้ ที่ควรนำเด็กไปพบแพทย์ มีดังนี้**
1.ถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด 2.ไข้สูงหรือชัก 3.อาเจียนบ่อย 4.ท้องอืด 5.หอบลึก 6.ไม่ยอมดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทุกชนิดและ/หรือไม่ยอมดื่มหรือกินอาหาร 7.ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่แล้วแต่เด็กยังดูเพลีย, ซึม 8.ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย หรือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo