เปิดผลเฝ้าระวังอาหารใน “หมอชิต-สายใต้-เอกมัย-หัวลำโพง” พบปนเปื้อนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษถึง 33 ตัวอย่าง จาก 64 ตัวอย่าง แต่ไม่พบเชื้ออหิวาตกโรค แนะหากกินแล้วเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ให้รีบดื่มสารละลายโออาร์เอส ย้ำกินอาหารปรุงสุก
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์มีผู้ใช้บริการสถานีขนส่งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนา ประกอบกับอากาศร้อน ทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จนเน่าเสียได้ง่าย เสี่ยงเกิดโรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน กรมวิทย์จึงทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำดื่ม โดยสุ่มเก็บตัวอย่างที่จำหน่ายในสถานีขนส่งต่างๆ ได้แก่ สถานีขนส่งหมอชิต สถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีรถไฟหัวลำโพง อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2556 ได้เก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภคจำนวน 64 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนเชื้ออีโคไล (E.coli) จำนวน 27 ตัวอย่าง และพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่ เชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) จำนวน 4 ตัวอย่าง เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) จำนวน 2 ตัวอย่าง แต่ไม่พบเชื้ออหิวาห์ตกโรค
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ยังมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้ บางรายอาจเกิดอาการช็อกหมดสติและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การรักษาอาการเบื้องต้นทำได้โดยให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรือโออาร์เอส โดยหลังดื่มแล้ว 8-12 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาลทันที
“ขอเตือนผู้บริโภคให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ อยู่เสมอ ใช้ช้อนกลางทุกครั้งและล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ในส่วนผู้ประกอบการควรมีการอุ่นอาหารให้ร้อนอยู่เสมอหรืออุ่นทุก 2 ชั่วโมง ไม่หยิบจับอาหารด้วยมือเปล่าโดยตรง และเลือกดื่มน้ำสะอาดที่มีเครื่องหมาย อย.เพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตามในรายที่ผลตรวจพบเชื้อโรค อาหารเป็นพิษปนเปื้อนในอาหาร กรมวิทย์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะแล้ว” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์มีผู้ใช้บริการสถานีขนส่งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนา ประกอบกับอากาศร้อน ทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จนเน่าเสียได้ง่าย เสี่ยงเกิดโรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน กรมวิทย์จึงทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำดื่ม โดยสุ่มเก็บตัวอย่างที่จำหน่ายในสถานีขนส่งต่างๆ ได้แก่ สถานีขนส่งหมอชิต สถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีรถไฟหัวลำโพง อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2556 ได้เก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภคจำนวน 64 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนเชื้ออีโคไล (E.coli) จำนวน 27 ตัวอย่าง และพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่ เชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) จำนวน 4 ตัวอย่าง เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) จำนวน 2 ตัวอย่าง แต่ไม่พบเชื้ออหิวาห์ตกโรค
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ยังมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้ บางรายอาจเกิดอาการช็อกหมดสติและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การรักษาอาการเบื้องต้นทำได้โดยให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรือโออาร์เอส โดยหลังดื่มแล้ว 8-12 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาลทันที
“ขอเตือนผู้บริโภคให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ อยู่เสมอ ใช้ช้อนกลางทุกครั้งและล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ในส่วนผู้ประกอบการควรมีการอุ่นอาหารให้ร้อนอยู่เสมอหรืออุ่นทุก 2 ชั่วโมง ไม่หยิบจับอาหารด้วยมือเปล่าโดยตรง และเลือกดื่มน้ำสะอาดที่มีเครื่องหมาย อย.เพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตามในรายที่ผลตรวจพบเชื้อโรค อาหารเป็นพิษปนเปื้อนในอาหาร กรมวิทย์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะแล้ว” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว