มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จี้ “เนสท์เล่” รับผิดชอบ หลังพบ “คิทแคท” มีพลาสติกผสมเหมือนต่างประเทศ เผยก่อนหน้า 9 ประเทศมีการเก็บสินค้าลงจากชั้น และเรียกคืนสินค้าแล้ว
วันนี้ (2 เม.ย.) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กล่าวว่า จากกรณีที่บริษัท เนสท์เล่ สั่งเก็บขนมคิทแคท 6 ชนิด หลังพบพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตที่เคลือบขนมในประเทศอังกฤษ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ มอลตา แคนาดา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย พร้อมให้ผู้บริโภคนำสินค้ามาคืนและรับเงินได้เต็มจำนวนภายใต้ข้อแม้ว่าหีบห่อของสินค้ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีรอยฉีกขาดนั้น เครือข่ายผู้บริโภค ได้ตรวจสอบและพบปัญหาในสินค้าของไทยเช่นกัน โดยพบว่ามีพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตของขนมยี่ห้อดังกล่าว ลักษณะเดียวกับในต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการออกแบบซองที่น่าจะมีความผิดพลาด ทำให้พลาสติกด้านในซองสามารถหลุดลอกออกมาได้ โดยเฉพาะในเมืองไทยมีอากาศร้อน พลาสติกก็จะหลุดลอกได้ง่าย เรื่องดังกล่าวข้อพิสูจน์ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมิได้จำกัดอยู่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง หากแต่อาจจะมีความเสี่ยงแบบเดียวกันกระจายอยู่ในทุกที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าชนิดนี้
“ผู้ผลิตควรต้องแสดงความรับผิดชอบและใช้มาตรฐานเดียวในการดำเนินการมากกว่าแค่รอให้เกิดเรื่องแบบเดียวกันขึ้นในประเทศอื่น แล้วค่อยแก้ไขปัญหาด้วยการคืนเงินค่าสินค้า การเรียกคืนสินค้าที่จำหน่ายในประเทศไทยทั้งหมดควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อน ซึ่งพบว่าขนมดังกล่าว ไทยได้นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีการเรียกคืนสินค้าเช่นกัน โดยผู้บริโภคที่พบปัญหานี้สามารถแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีได้” นายอิฐบูรณ์ กล่าว
นายอิฐบูรณ์ กล่าวอีกว่า อยากขอเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดำเนินการสั่งให้บริษัท เนสท์เล่ เรียกคืนผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ แล้วทั้ง 9 ประเทศ ตามที่เป็นข่าว และจะทำหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติมให้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ระบุไว้ใน พ.ร.บ.อาหาร ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงและอยู่ในกระบวนการพิจารณาโดยกฤษฎีกาด้วย
วันนี้ (2 เม.ย.) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กล่าวว่า จากกรณีที่บริษัท เนสท์เล่ สั่งเก็บขนมคิทแคท 6 ชนิด หลังพบพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตที่เคลือบขนมในประเทศอังกฤษ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ มอลตา แคนาดา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย พร้อมให้ผู้บริโภคนำสินค้ามาคืนและรับเงินได้เต็มจำนวนภายใต้ข้อแม้ว่าหีบห่อของสินค้ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีรอยฉีกขาดนั้น เครือข่ายผู้บริโภค ได้ตรวจสอบและพบปัญหาในสินค้าของไทยเช่นกัน โดยพบว่ามีพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตของขนมยี่ห้อดังกล่าว ลักษณะเดียวกับในต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการออกแบบซองที่น่าจะมีความผิดพลาด ทำให้พลาสติกด้านในซองสามารถหลุดลอกออกมาได้ โดยเฉพาะในเมืองไทยมีอากาศร้อน พลาสติกก็จะหลุดลอกได้ง่าย เรื่องดังกล่าวข้อพิสูจน์ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมิได้จำกัดอยู่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง หากแต่อาจจะมีความเสี่ยงแบบเดียวกันกระจายอยู่ในทุกที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าชนิดนี้
“ผู้ผลิตควรต้องแสดงความรับผิดชอบและใช้มาตรฐานเดียวในการดำเนินการมากกว่าแค่รอให้เกิดเรื่องแบบเดียวกันขึ้นในประเทศอื่น แล้วค่อยแก้ไขปัญหาด้วยการคืนเงินค่าสินค้า การเรียกคืนสินค้าที่จำหน่ายในประเทศไทยทั้งหมดควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อน ซึ่งพบว่าขนมดังกล่าว ไทยได้นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีการเรียกคืนสินค้าเช่นกัน โดยผู้บริโภคที่พบปัญหานี้สามารถแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีได้” นายอิฐบูรณ์ กล่าว
นายอิฐบูรณ์ กล่าวอีกว่า อยากขอเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดำเนินการสั่งให้บริษัท เนสท์เล่ เรียกคืนผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ แล้วทั้ง 9 ประเทศ ตามที่เป็นข่าว และจะทำหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติมให้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ระบุไว้ใน พ.ร.บ.อาหาร ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงและอยู่ในกระบวนการพิจารณาโดยกฤษฎีกาด้วย