กทม.เตรียมฟ้องกลับดีเอสไอ ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พร้อมยื่นถอดถอน “ยิ่งลักษณ์” ยุบพรรคเพื่อไทย หากมีหมายเรียกจากดีเอสไอกรณีจ้างบีทีเอส ยันทำถูกกฎหมาย
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษาของ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตนเองได้รับแจ้งจากนายธีระชน ให้ทราบผลการประชุมหารือนอกรอบของคณะผู้บริหาร กทม.นำโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ร่วมกับที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เตรียมแจ้งข้อกล่าวหาผู้บริหาร ข้าราชการระดับสูง ประธานกรรมการบริหาร (บอร์ด) และกรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที(วิสาหกิจในกำกับของ กทม.) ตลอดจนเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี รวม 11 คน ฐานร่วมกันประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84 และมาตรา 86 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ(ฉบับที่ 58) สืบเนื่องมาจากพนักงานสอบสวนและอัยการฝ่ายคดีพิเศษอ้างความเห็นว่า การลงนามต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าระหว่าง กทม.โดยเคทีกับ บมจ.บีทีเอสซี เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นระยะเวลา 30 ปีนั้น เข้าข่ายเป็นการให้สัมปทานกิจการ (รถราง) แก่องค์กรธุรกิจเอกชนที่ถือเป็นอำนาจของ รมว.มหาดไทย โดยตรง จึงมีความเห็นสั่งฟ้องและเรียกผู้ต้องหาทั้ง 11 รายมารับทราบข้อกล่าวหา และ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ระบุไว้ว่า จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ม.ค.นี้ ก่อนส่งหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหาให้เดินทางมาแสดงตัวและพิมพ์ลายนิ้วมือสำหรับใช้ประกอบคดีที่สำนักงานดีเอสไอภายในไม่เกินวันที่ 9 ม.ค.ด้วยนั้น
นายอัชวัศร์ กล่าวว่า ทั้งนี้ หลังจากที่ได้พิจารณาทบทวนรายละเอียดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างครบถ้วนแล้วหลายรอบ กทม.ยังคงยืนยันว่ากรณีดังกล่าว กทม.มิได้กระทำสิ่งใดที่ผิดหรือขัดต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับใดๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งที่ผ่านมากระบวนการทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการภายใต้กรอบของกฎหมายทั้งสิ้น จึงไม่อาจยอมรับข้อกล่าวหาที่ทางดีเอสไอหยิบยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุเพื่อขอให้พนักงานอัยการ (ฝ่ายคดีพิเศษ) นำเรื่องส่งฟ้องต่อศาลได้ และมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า ทันทีที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาไปรายงานตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา กทม.จะฟ้องกลับกรมสอบสวนคดีพิเศษและอธิบดีดีเอสไอฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ทันที เนื่องจากเรื่องนี้อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของดีเอสไอ ซึ่งถือเป็นความผิดระดับหน่วยงาน อีกทั้งการกระทำของอธิบดีดีเอสไอที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ต้องการนำประเด็นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบมาเป็นคดีพิเศษให้ได้ทั้งๆ ที่ไม่เข้าข่ายความผิดภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษฯ แต่อย่างใด โดยจะขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาก่อนฟ้องร้องเพื่อเอาผิดกับบุคคล และหน่วยงานที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของ กทม.อันเป็นหน่วยงานราชการ มีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนจนถึงที่สุด
นายอัศวัชร์ กล่าวต่อว่า ข้อหาที่ กทม.จะฟ้องกลับ ได้แก่ ฐานความผิดตามประมวลกฎหมายและวิธีพิจารณาความคดีอาญา หมวดที่ 2 (ว่าด้วยความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม) มาตรา 200 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน สูงสุดถึง 7 ปี และเสียค่าปรับ 1,000-14,000 บาท และถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 40,000 บาท รวมทั้งข้อหากระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวด 14 (ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น) มาตรา 281 ซึ่งระบุให้ “รัฐ” จะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงในมาตรา 283 ที่ระบุว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศเป็นส่วนรวมด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งในการบริหารงานได้โดยอิสระและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่นให้จัดบริการสาธารณะได้โดยครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ จัดตั้ง หรือร่วมกันจัดตั้งองค์การเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าเป็นประโยชน์และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง
“หากดีเอสไอจะอ้างผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบรับเป็นคดีพิเศษโดยที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) กทม.ก็เตรียมที่จะนำสำนวนเดียวกันยื่นฟ้อง กคพ.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่งอยู่ เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยอย่างใดอย่างหนึ่งทันทีเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนกว่า 10 ล้านคน ซึ่งใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกๆ วัน โดยเฉพาะการสั่งยุติหรือระงับการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ดังนั้น จึงอยากให้ทุกฝ่ายแก้ไขปัญหาที่กทม.ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมนี้ด้วยเหตุและผลมากกว่าเรื่องอื่น ไม่เว้นแม้แต่ปัจจัยตัวแปรทางการเมืองที่ถูกบัญชาการจากคนภายนอกประเทศ เพราะความผิดพลาดทั้งหมดนอกจากจะทำให้คนบางคนอาจต้องจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ยังจะทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของประเทศอย่างท่านนายกฯ ต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง แถมพรรคการเมืองต้นสังกัดอย่างพรรคเพื่อไทยก็จะโดนสั่งยุบพรรคเพราะมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่มีตัวเองเป็นแกนนำจัดตั้งขึ้นมาด้วย เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งและพรรคพลังประชาชนก็ยังถูกยุบตามไปด้วย” นายอัศวัชร์ กล่าว
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษาของ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตนเองได้รับแจ้งจากนายธีระชน ให้ทราบผลการประชุมหารือนอกรอบของคณะผู้บริหาร กทม.นำโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ร่วมกับที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เตรียมแจ้งข้อกล่าวหาผู้บริหาร ข้าราชการระดับสูง ประธานกรรมการบริหาร (บอร์ด) และกรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที(วิสาหกิจในกำกับของ กทม.) ตลอดจนเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี รวม 11 คน ฐานร่วมกันประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84 และมาตรา 86 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ(ฉบับที่ 58) สืบเนื่องมาจากพนักงานสอบสวนและอัยการฝ่ายคดีพิเศษอ้างความเห็นว่า การลงนามต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าระหว่าง กทม.โดยเคทีกับ บมจ.บีทีเอสซี เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นระยะเวลา 30 ปีนั้น เข้าข่ายเป็นการให้สัมปทานกิจการ (รถราง) แก่องค์กรธุรกิจเอกชนที่ถือเป็นอำนาจของ รมว.มหาดไทย โดยตรง จึงมีความเห็นสั่งฟ้องและเรียกผู้ต้องหาทั้ง 11 รายมารับทราบข้อกล่าวหา และ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ระบุไว้ว่า จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ม.ค.นี้ ก่อนส่งหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหาให้เดินทางมาแสดงตัวและพิมพ์ลายนิ้วมือสำหรับใช้ประกอบคดีที่สำนักงานดีเอสไอภายในไม่เกินวันที่ 9 ม.ค.ด้วยนั้น
นายอัชวัศร์ กล่าวว่า ทั้งนี้ หลังจากที่ได้พิจารณาทบทวนรายละเอียดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างครบถ้วนแล้วหลายรอบ กทม.ยังคงยืนยันว่ากรณีดังกล่าว กทม.มิได้กระทำสิ่งใดที่ผิดหรือขัดต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับใดๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งที่ผ่านมากระบวนการทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการภายใต้กรอบของกฎหมายทั้งสิ้น จึงไม่อาจยอมรับข้อกล่าวหาที่ทางดีเอสไอหยิบยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุเพื่อขอให้พนักงานอัยการ (ฝ่ายคดีพิเศษ) นำเรื่องส่งฟ้องต่อศาลได้ และมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า ทันทีที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาไปรายงานตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา กทม.จะฟ้องกลับกรมสอบสวนคดีพิเศษและอธิบดีดีเอสไอฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ทันที เนื่องจากเรื่องนี้อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของดีเอสไอ ซึ่งถือเป็นความผิดระดับหน่วยงาน อีกทั้งการกระทำของอธิบดีดีเอสไอที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ต้องการนำประเด็นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบมาเป็นคดีพิเศษให้ได้ทั้งๆ ที่ไม่เข้าข่ายความผิดภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษฯ แต่อย่างใด โดยจะขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาก่อนฟ้องร้องเพื่อเอาผิดกับบุคคล และหน่วยงานที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของ กทม.อันเป็นหน่วยงานราชการ มีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนจนถึงที่สุด
นายอัศวัชร์ กล่าวต่อว่า ข้อหาที่ กทม.จะฟ้องกลับ ได้แก่ ฐานความผิดตามประมวลกฎหมายและวิธีพิจารณาความคดีอาญา หมวดที่ 2 (ว่าด้วยความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม) มาตรา 200 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน สูงสุดถึง 7 ปี และเสียค่าปรับ 1,000-14,000 บาท และถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 40,000 บาท รวมทั้งข้อหากระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวด 14 (ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น) มาตรา 281 ซึ่งระบุให้ “รัฐ” จะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงในมาตรา 283 ที่ระบุว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศเป็นส่วนรวมด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งในการบริหารงานได้โดยอิสระและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่นให้จัดบริการสาธารณะได้โดยครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ จัดตั้ง หรือร่วมกันจัดตั้งองค์การเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าเป็นประโยชน์และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง
“หากดีเอสไอจะอ้างผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบรับเป็นคดีพิเศษโดยที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) กทม.ก็เตรียมที่จะนำสำนวนเดียวกันยื่นฟ้อง กคพ.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่งอยู่ เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยอย่างใดอย่างหนึ่งทันทีเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนกว่า 10 ล้านคน ซึ่งใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกๆ วัน โดยเฉพาะการสั่งยุติหรือระงับการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ดังนั้น จึงอยากให้ทุกฝ่ายแก้ไขปัญหาที่กทม.ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมนี้ด้วยเหตุและผลมากกว่าเรื่องอื่น ไม่เว้นแม้แต่ปัจจัยตัวแปรทางการเมืองที่ถูกบัญชาการจากคนภายนอกประเทศ เพราะความผิดพลาดทั้งหมดนอกจากจะทำให้คนบางคนอาจต้องจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ยังจะทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของประเทศอย่างท่านนายกฯ ต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง แถมพรรคการเมืองต้นสังกัดอย่างพรรคเพื่อไทยก็จะโดนสั่งยุบพรรคเพราะมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่มีตัวเองเป็นแกนนำจัดตั้งขึ้นมาด้วย เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งและพรรคพลังประชาชนก็ยังถูกยุบตามไปด้วย” นายอัศวัชร์ กล่าว