“สุขุมพันธุ์” เล็งฟ้องอาญา “ยิ่งลักษณ์-ธาริต” คดีบีทีเอส เผย เชื่อมั่นในกฎหมาย แต่ไม่เชื่อมั่นในคน ลั่นหากได้รับหมายเรียกเตรียมส่งต่อศาลยุติธรรมตรวจสอบการดำเนินคดีของอธิบดีดีเอสไอผิดกฎหมายหรือไม่
วันนี้ (2 ม.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น.ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงข่าวกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะมีหมายเรียกผู้บริหาร กทม.บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ไปรับแจ้งข้อกล่าวหาในโครงการที่ กทม.ดำเนินการให้มีจ้างเดินรถไฟฟ้าเป็นเวลา 30 ปี ในวันที่ 9 ม.ค.นี้ ว่า การเข้ารับทราบข้อกล่าวหาวันที่ 9 ม.ค.ตามที่ดีเอสไอจะออกหมายเรียกนั้น จะมีการหารือกับฝ่ายกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ก่อน เพราะถือเป็นเรื่องพรรคด้วย ซึ่งหากว่ากันตามกฎหมาย ตนเองมีความมั่นใจ และยังคงเชื่อมั่นในกฎหมาย แต่ไม่เชื่อมั่นในคน ที่ผ่านมา กทม.ก็ส่งเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ดีเอสไอมาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่ได้มีการขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือเรียกพยานบุคคลไปให้ข้อมูล
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ผู้บริหาร กทม.ตัดสินใจแล้วว่า ทันทีที่ได้รับหมายเรียกเป็นลายลักษณ์อักษรจากดีเอสไอแล้ว กทม.จะส่งเรื่องให้ศาลยุติธรรมตรวจสอบว่าการดำเนินการของอธิบดีดีเอสไอถือว่าเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 200 หรือไม่ นอกจากนี้ กทม.จำเป็นต้องใช้สิทธิดำเนินการตามกฎหมายกล่าวโทษผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานต่อศาลอาญา ส่วนกรณีที่ดีเอสไอจะเสนอกระทรวงมหาดไทยให้บอกเลิกสัญญานั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส หากบีทีเอสซี หยุดการเดินรถ
“กทม.ขอยืนยันว่า โครงการดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบข้อกฎหมายอย่างครบถ้วน จนมีความชัดเจนแล้วจึงดำเนินการ และขอยืนยันว่า ไม่ใช่การต่อสัญญาสัมปทาน แต่เป็นการจ้างโดยใช้ทรัพย์สินของ กทม.สุดท้ายแล้วรายได้ทั้งหมดจะตกเป็นของ กทม.โดยใช้อำนาจและหน้าที่ของ กทม.อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 281 และมาตรา 283 และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
ด้านนางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.ให้สัมภาษณ์ว่า สำหรับรายชื่อ 11 คนที่ถูกหมายเรียกจากดีเอสไอ ซึ่งมีรายชื่อข้าราชการประจำ คือ ตนเอง และ นายธนา วิชัยสาร ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความผิดทางวินัยข้าราชการ ต้องรอดูความชัดเจนในการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อนึ่ง ฐานความผิดตามประมวลกฎหมายและวิธีพิจารณาความคดีอาญา หมวดที่ 2 ว่าด้วยความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมมาตรา 200 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน สูงสุดถึง 7 ปี และเสียค่าปรับ 1,000-14,000 บาท และถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท
มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะที่ นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า ตนเองยังไม่ทราบเรื่อง เพิ่งทราบจากที่ผู้สืิ่อข่าวโทรศัพท์มาสอบถามจึงไม่สามารถตอบได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรเนื่องจากต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนก่อนและต้องรอให้ดีเอสไอแจ้งมาอย่างเป็นทางการ
วันนี้ (2 ม.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น.ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงข่าวกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะมีหมายเรียกผู้บริหาร กทม.บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ไปรับแจ้งข้อกล่าวหาในโครงการที่ กทม.ดำเนินการให้มีจ้างเดินรถไฟฟ้าเป็นเวลา 30 ปี ในวันที่ 9 ม.ค.นี้ ว่า การเข้ารับทราบข้อกล่าวหาวันที่ 9 ม.ค.ตามที่ดีเอสไอจะออกหมายเรียกนั้น จะมีการหารือกับฝ่ายกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ก่อน เพราะถือเป็นเรื่องพรรคด้วย ซึ่งหากว่ากันตามกฎหมาย ตนเองมีความมั่นใจ และยังคงเชื่อมั่นในกฎหมาย แต่ไม่เชื่อมั่นในคน ที่ผ่านมา กทม.ก็ส่งเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ดีเอสไอมาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่ได้มีการขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือเรียกพยานบุคคลไปให้ข้อมูล
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ผู้บริหาร กทม.ตัดสินใจแล้วว่า ทันทีที่ได้รับหมายเรียกเป็นลายลักษณ์อักษรจากดีเอสไอแล้ว กทม.จะส่งเรื่องให้ศาลยุติธรรมตรวจสอบว่าการดำเนินการของอธิบดีดีเอสไอถือว่าเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 200 หรือไม่ นอกจากนี้ กทม.จำเป็นต้องใช้สิทธิดำเนินการตามกฎหมายกล่าวโทษผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานต่อศาลอาญา ส่วนกรณีที่ดีเอสไอจะเสนอกระทรวงมหาดไทยให้บอกเลิกสัญญานั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส หากบีทีเอสซี หยุดการเดินรถ
“กทม.ขอยืนยันว่า โครงการดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบข้อกฎหมายอย่างครบถ้วน จนมีความชัดเจนแล้วจึงดำเนินการ และขอยืนยันว่า ไม่ใช่การต่อสัญญาสัมปทาน แต่เป็นการจ้างโดยใช้ทรัพย์สินของ กทม.สุดท้ายแล้วรายได้ทั้งหมดจะตกเป็นของ กทม.โดยใช้อำนาจและหน้าที่ของ กทม.อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 281 และมาตรา 283 และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
ด้านนางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.ให้สัมภาษณ์ว่า สำหรับรายชื่อ 11 คนที่ถูกหมายเรียกจากดีเอสไอ ซึ่งมีรายชื่อข้าราชการประจำ คือ ตนเอง และ นายธนา วิชัยสาร ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความผิดทางวินัยข้าราชการ ต้องรอดูความชัดเจนในการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อนึ่ง ฐานความผิดตามประมวลกฎหมายและวิธีพิจารณาความคดีอาญา หมวดที่ 2 ว่าด้วยความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมมาตรา 200 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน สูงสุดถึง 7 ปี และเสียค่าปรับ 1,000-14,000 บาท และถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท
มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะที่ นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า ตนเองยังไม่ทราบเรื่อง เพิ่งทราบจากที่ผู้สืิ่อข่าวโทรศัพท์มาสอบถามจึงไม่สามารถตอบได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรเนื่องจากต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนก่อนและต้องรอให้ดีเอสไอแจ้งมาอย่างเป็นทางการ