เด็กและผู้สูงอายุ 4 จ.ชายแดนใต้ ป่วยโรคฟันสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยเด็กฟันผุ ร้อยละ 65 โดยเฉพาะนราธิวาส พบเด็กฟันผุถึงร้อยละ 80 ส่วนผู้สูงอายุ 1 ใน 10 เหลือแต่เหงือก ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร เร่งปรับระบบการดูแลในพื้นที่ เน้นโรงพยาบาลทุกระดับเพิ่มบริการดูแลสุขภาพช่องปากลงชุมชน ตั้งเป้าภายใน 3 ปีนี้ จะใส่ฟันเทียมพระราชทานให้ผู้สูงอายุ 9,000 ราย เพิ่มเด็กวัยเรียนฟันดีให้ได้ร้อยละ 40
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาสาธารณสุขหลายเรื่องที่สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ เช่น อัตราการสูบบุหรี่ แม่เสียชีวิต และฟันผุ ผลสำรวจสุขภาพช่องปากของกรมอนามัยในปี 2554 พบว่า เด็กไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ 50 เป็นโรคฟันผุ สูงสุดในเขตภาคใต้ร้อยละ 65 โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส มีความชุกโรคฟันผุมากกว่าที่อื่น โดยจังหวัดปัตตานี พบร้อยละ 70 และนราธิวาส พบร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยพบ 1 ใน 10 ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร พบมากที่สุดในภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนี้ผู้สูงอายุในภาคใต้ที่มีปัญหาฟันผุ หรือเหงือกอักเสบแล้ว พบว่า กว่าครึ่งยังไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากอุปสรรคในการเดินทางและจากผลกระทบความไม่สงบที่เกิดขึ้นจึงทำให้เกิดปัญหาเป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงสูงถึงร้อยละ 91 และมีโอกาสสูญเสียฟันทั้งปากเพิ่มขึ้น
นายแพทย์ ณรงค์ กล่าวต่อว่า มาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้มอบนโยบายให้ระดมทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งกำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์ และงบประมาณ มาใช้ร่วมกันในระดับเครือข่ายบริการ โดยตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขเครือข่าย หรือ คปสข.ทั้ง 4 จังหวัด มาจัดทำยุทธศาสตร์บริการร่วมกันเพื่อลดปัญหาให้ได้โดยเร็วที่สุด ไม่แยกพัฒนาเฉพาะโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันทรัพยากรด้านกำลังคนค่อนข้างพร้อมกว่าพื้นที่อื่น ส่วนการทำงานของแต่ละพื้นที่ ได้มอบนโยบายให้ปรับวิธีการทำงาน จากเดิมที่เป็นการตั้งรับ รักษาผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งทำให้คิวยาว และแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ให้เพิ่มบริการเชิงรุกลงชุมชน เน้นการส่งเสริมป้องกันร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันในชุมชน ให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากดีขึ้น คาดว่า วิธีการนี้น่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ ในปี 2556 นี้ สปสช.ได้จัดงบประมาณส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพทั่วประเทศ 1,045 ล้านบาท เฉลี่ยเครือข่ายบริการละ 80-90 ล้านบาท และมีงบจากกระทรวงสาธารณสุขอีกกว่า 1,000 ล้านบาท เฉลี่ยเครือข่ายละเกือบ 100 ล้านบาท และยังมีงบเฉพาะสำหรับการแก้ไขปัญหาภาคใต้อีก 87 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอในการจัดบริการปะชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดใต้ประมาณ 5 ล้านคน
ด้านนายแพทย์ เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย ได้วางเป้าหมายแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ พ.ศ.2556-2558 ใน 2 เรื่อง คือ 1. ใส่ฟันเทียมพระราชทานในผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากจำนวน 9,000 คน และขยายบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุใน รพ.สต.รวมทั้งพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุให้ดูแลอนามัยช่องปากตนเอง และ 2.การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียน ตั้งเป้าหมายภายในปี 2558 จัดบริการเคลือบหลุมร่องฟัน และใช้ฟลูออไรด์ ให้กลุ่มเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นการถนอมฟันแท้ที่ต้องใช้งานตลอดชีวิตไม่ให้ผุ เพิ่มจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 เพิ่มโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของโรงเรียนทั้งหมด
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาสาธารณสุขหลายเรื่องที่สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ เช่น อัตราการสูบบุหรี่ แม่เสียชีวิต และฟันผุ ผลสำรวจสุขภาพช่องปากของกรมอนามัยในปี 2554 พบว่า เด็กไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ 50 เป็นโรคฟันผุ สูงสุดในเขตภาคใต้ร้อยละ 65 โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส มีความชุกโรคฟันผุมากกว่าที่อื่น โดยจังหวัดปัตตานี พบร้อยละ 70 และนราธิวาส พบร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยพบ 1 ใน 10 ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร พบมากที่สุดในภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนี้ผู้สูงอายุในภาคใต้ที่มีปัญหาฟันผุ หรือเหงือกอักเสบแล้ว พบว่า กว่าครึ่งยังไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากอุปสรรคในการเดินทางและจากผลกระทบความไม่สงบที่เกิดขึ้นจึงทำให้เกิดปัญหาเป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงสูงถึงร้อยละ 91 และมีโอกาสสูญเสียฟันทั้งปากเพิ่มขึ้น
นายแพทย์ ณรงค์ กล่าวต่อว่า มาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้มอบนโยบายให้ระดมทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งกำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์ และงบประมาณ มาใช้ร่วมกันในระดับเครือข่ายบริการ โดยตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขเครือข่าย หรือ คปสข.ทั้ง 4 จังหวัด มาจัดทำยุทธศาสตร์บริการร่วมกันเพื่อลดปัญหาให้ได้โดยเร็วที่สุด ไม่แยกพัฒนาเฉพาะโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันทรัพยากรด้านกำลังคนค่อนข้างพร้อมกว่าพื้นที่อื่น ส่วนการทำงานของแต่ละพื้นที่ ได้มอบนโยบายให้ปรับวิธีการทำงาน จากเดิมที่เป็นการตั้งรับ รักษาผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งทำให้คิวยาว และแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ให้เพิ่มบริการเชิงรุกลงชุมชน เน้นการส่งเสริมป้องกันร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันในชุมชน ให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากดีขึ้น คาดว่า วิธีการนี้น่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ ในปี 2556 นี้ สปสช.ได้จัดงบประมาณส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพทั่วประเทศ 1,045 ล้านบาท เฉลี่ยเครือข่ายบริการละ 80-90 ล้านบาท และมีงบจากกระทรวงสาธารณสุขอีกกว่า 1,000 ล้านบาท เฉลี่ยเครือข่ายละเกือบ 100 ล้านบาท และยังมีงบเฉพาะสำหรับการแก้ไขปัญหาภาคใต้อีก 87 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอในการจัดบริการปะชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดใต้ประมาณ 5 ล้านคน
ด้านนายแพทย์ เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย ได้วางเป้าหมายแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ พ.ศ.2556-2558 ใน 2 เรื่อง คือ 1. ใส่ฟันเทียมพระราชทานในผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากจำนวน 9,000 คน และขยายบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุใน รพ.สต.รวมทั้งพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุให้ดูแลอนามัยช่องปากตนเอง และ 2.การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียน ตั้งเป้าหมายภายในปี 2558 จัดบริการเคลือบหลุมร่องฟัน และใช้ฟลูออไรด์ ให้กลุ่มเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นการถนอมฟันแท้ที่ต้องใช้งานตลอดชีวิตไม่ให้ผุ เพิ่มจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 เพิ่มโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของโรงเรียนทั้งหมด