สธ.ขานรับนโยบายรัฐบาล พัฒนาความรู้ความเข้าใจผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ เรื่องการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง จัดซื้อจัดหาพัสดุครุภัณฑ์ ฯลฯ ตามระเบียบมติ ครม.เพื่อป้องกันทุจริต หรือทำผิดระเบียบ
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างการเปิดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริหารพัสดุ การจัดการระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานในสังกัด ได้พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหาพัสดุ ป้องกันการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้อง อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการในรูปแบบต่างๆ ว่า ขณะนี้ ระบบการเงินการคลัง ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ แต่ผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานสังกัด สธ.ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาจยังไม่เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจได้รับโทษ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้งต้องมีการเขียนทีโออาร์ (TOR : Terms of Reference) เพื่อเป็นข้อตกลงที่ให้ผู้รับจ้างดำเนินการ รวมทั้งความรับผิดชอบอื่นๆ ของผู้รับจ้างที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ทุกหน่วยงานเร่งจัดทำแผนงบประมาณปี 2556 ให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศสูงสุด
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า ขอให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทางราชการ โดยข้อมูลจากกลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง สธ.พบว่า แต่ละปีจะพบข้อสังเกตที่ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าไม่เป็นไปตามมติ ครม.ที่เกิดจากการบริหารสัญญา การกำหนดคุณลักษณะ การจัดเก็บพัสดุ การตรวจรับ และการจัดทำรายงานตรวจสอบพัสดุปลายปีไม่ถูกต้อง จึงมอบนโยบายให้ปลัด สธ.ให้กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง เร่งพัฒนาความรู้ความเข้าใจผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุ ในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมบัญชีกลาง และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นวิทยากรให้ความรู้ เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใสทุกขั้นตอน และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ ปัจจุบัน สธ.มีหน่วยบริการในสังกัดทั่วประเทศที่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 95 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 741 แห่ง สถานีอนามัย 27 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,756 แห่ง รวมหน่วยบริการทั้งสิ้น 10,695 แห่ง
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างการเปิดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริหารพัสดุ การจัดการระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานในสังกัด ได้พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหาพัสดุ ป้องกันการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้อง อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการในรูปแบบต่างๆ ว่า ขณะนี้ ระบบการเงินการคลัง ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ แต่ผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานสังกัด สธ.ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาจยังไม่เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจได้รับโทษ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้งต้องมีการเขียนทีโออาร์ (TOR : Terms of Reference) เพื่อเป็นข้อตกลงที่ให้ผู้รับจ้างดำเนินการ รวมทั้งความรับผิดชอบอื่นๆ ของผู้รับจ้างที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ทุกหน่วยงานเร่งจัดทำแผนงบประมาณปี 2556 ให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศสูงสุด
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า ขอให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทางราชการ โดยข้อมูลจากกลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง สธ.พบว่า แต่ละปีจะพบข้อสังเกตที่ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าไม่เป็นไปตามมติ ครม.ที่เกิดจากการบริหารสัญญา การกำหนดคุณลักษณะ การจัดเก็บพัสดุ การตรวจรับ และการจัดทำรายงานตรวจสอบพัสดุปลายปีไม่ถูกต้อง จึงมอบนโยบายให้ปลัด สธ.ให้กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง เร่งพัฒนาความรู้ความเข้าใจผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุ ในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมบัญชีกลาง และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นวิทยากรให้ความรู้ เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใสทุกขั้นตอน และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ ปัจจุบัน สธ.มีหน่วยบริการในสังกัดทั่วประเทศที่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 95 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 741 แห่ง สถานีอนามัย 27 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,756 แห่ง รวมหน่วยบริการทั้งสิ้น 10,695 แห่ง