สพฐ.แจงไม่มีโอกาสเป็นไปได้ที่แท็บเล็ตจะไม่มีคอนเทนต์ เพราะตามกระบวนการ บ.เสิ่นเจิ้น ต้องนำคอนเทนต์ใส่ในเครื่อง และเมื่อไอซีทีตรวจรับก็ต้องมีครบ คาดกรณีเขตพื้นที่โคราช-อำนาจเจริญ ร.ร.จัดซื้อมาเอง พร้อมเตรียมวางแผนจัดซื้อแท็บเล็ต ป.1 และ ม.1 ปีงบ 56 เล็งแบ่งโซนรับผิดชอบประมูลแข่งขัน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือเรื่องการจัดซื้อจัดหาแท็บเล็ตประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณ 2556 ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตพกพาต่อ 1 นักเรียน เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดซื้อใหม่จากเดิมที่จัดซื้อระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ จีทูจี มาเป็นการเปิดประมูล หรือจัดทำ อี-ออกชัน จึงได้หารือกับในที่ประชุม สพฐ.เรื่องของการเตรียมการประมูลแข่งขัน เห็นว่า อาจจะต้องแบ่งโซนพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการแข่งขัน ให้มีหลักในการประกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง เช่น แบ่งโซนเพื่อให้ปริมาณของเครื่องอยู่ในระดับไม่เสี่ยงเกินไป เป็นการกระจายความรับผิดชอบของผู้รับงานไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการกำหนดสเปกแท็บเล็ต ม.1 นั้น คณะกรรมการกำหนดคุณสมบัติเครื่องแท็บเล็ต ซึ่งอาจจะเป็นชุดเดิมที่มี นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นผู้ดำเนินการ โดยวิธีการแล้วสเปกจะต้องดีกว่าเดิม และจะมีการนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาพิจารณาทั้งเรื่องของความเร็ว (speed) ความจุที่มีข้อเสนอแนะว่าอยากให้เพิ่มความจุเป็น 16 กิกะไบต์ จากเดิมอยู่ที่ 8 กิกะไบต์ ตรงนี้ก็ต้องศึกษาคุณสมบัติและราคา ขณะเดียวกัน จะศึกษาบทเรียนของเด็ก ป.1 ด้วย เพราะมีข้อมูลว่าจากการใช้งานระบบออฟไลน์ที่เรานำคอนเทนต์ใส่เป็นมาตรฐานในเครื่องจะมีประโยชน์จริงหรือไม่ เพราะปรากฏว่าตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ย.นั้น เด็กมีการเข้าใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่า
“ส่วนกรณีที่มีข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา จ.นครราชสีมา และ จ.อำนาจเจริญ แจ้งว่า มีเครื่องแท็บเล็ตที่จัดส่งให้นักเรียนไม่มีคอนเทนต์ในเครื่อง ขณะนี้กำลังให้ สพท.ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานเข้ามา แต่เบื้องต้นข้อชี้แจงว่าโอกาสจะเป็นเช่นนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะกระบวนการและขั้นตอนวิธีการเป็นมาตรฐานการผลิต ซึ่งเรากำหนดให้การบรรจุเนื้อหาใน 4 ส่วนหลัก ทั้ง e-book, Learning Object, multimedia และ application สพฐ.ได้ส่งให้บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ผู้ผลิตนำใส่ในเครื่องแท็บเล็ต เพราะฉะนั้นทุกเครื่องที่ส่งเข้ามาและรับการตรวจสอบจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะต้องมีทุกอย่างครบถ้วนในเครื่อง กรณีนี้สันนิษฐานว่า เป็นเครื่องที่ทางโรงเรียนจัดหาเองซึ่งจะไม่มีคอนเทนต์ ต้องนำตัวฮาร์ดไดร์ฟ ไปติดตั้งคอนเทนต์ลงในเครื่อง”เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สพฐ. จะไม่แนะนำเรื่องของซอฟต์แวร์ เพราะเป็นสิทธิ์ของโรงเรียนจะเลือก แต่เราได้จะจัดสรรงบประมาณไปให้เขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนดำเนินการจัดซื้อเอง แต่เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณก็ได้มีการจัดซื้อซอฟต์แวร์และใส่ในเซิร์ฟเวอร์กลางให้โรงเรียนมาดาวน์โหลดไปใช้ได้
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือเรื่องการจัดซื้อจัดหาแท็บเล็ตประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณ 2556 ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตพกพาต่อ 1 นักเรียน เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดซื้อใหม่จากเดิมที่จัดซื้อระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ จีทูจี มาเป็นการเปิดประมูล หรือจัดทำ อี-ออกชัน จึงได้หารือกับในที่ประชุม สพฐ.เรื่องของการเตรียมการประมูลแข่งขัน เห็นว่า อาจจะต้องแบ่งโซนพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการแข่งขัน ให้มีหลักในการประกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง เช่น แบ่งโซนเพื่อให้ปริมาณของเครื่องอยู่ในระดับไม่เสี่ยงเกินไป เป็นการกระจายความรับผิดชอบของผู้รับงานไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการกำหนดสเปกแท็บเล็ต ม.1 นั้น คณะกรรมการกำหนดคุณสมบัติเครื่องแท็บเล็ต ซึ่งอาจจะเป็นชุดเดิมที่มี นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นผู้ดำเนินการ โดยวิธีการแล้วสเปกจะต้องดีกว่าเดิม และจะมีการนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาพิจารณาทั้งเรื่องของความเร็ว (speed) ความจุที่มีข้อเสนอแนะว่าอยากให้เพิ่มความจุเป็น 16 กิกะไบต์ จากเดิมอยู่ที่ 8 กิกะไบต์ ตรงนี้ก็ต้องศึกษาคุณสมบัติและราคา ขณะเดียวกัน จะศึกษาบทเรียนของเด็ก ป.1 ด้วย เพราะมีข้อมูลว่าจากการใช้งานระบบออฟไลน์ที่เรานำคอนเทนต์ใส่เป็นมาตรฐานในเครื่องจะมีประโยชน์จริงหรือไม่ เพราะปรากฏว่าตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ย.นั้น เด็กมีการเข้าใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่า
“ส่วนกรณีที่มีข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา จ.นครราชสีมา และ จ.อำนาจเจริญ แจ้งว่า มีเครื่องแท็บเล็ตที่จัดส่งให้นักเรียนไม่มีคอนเทนต์ในเครื่อง ขณะนี้กำลังให้ สพท.ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานเข้ามา แต่เบื้องต้นข้อชี้แจงว่าโอกาสจะเป็นเช่นนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะกระบวนการและขั้นตอนวิธีการเป็นมาตรฐานการผลิต ซึ่งเรากำหนดให้การบรรจุเนื้อหาใน 4 ส่วนหลัก ทั้ง e-book, Learning Object, multimedia และ application สพฐ.ได้ส่งให้บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ผู้ผลิตนำใส่ในเครื่องแท็บเล็ต เพราะฉะนั้นทุกเครื่องที่ส่งเข้ามาและรับการตรวจสอบจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะต้องมีทุกอย่างครบถ้วนในเครื่อง กรณีนี้สันนิษฐานว่า เป็นเครื่องที่ทางโรงเรียนจัดหาเองซึ่งจะไม่มีคอนเทนต์ ต้องนำตัวฮาร์ดไดร์ฟ ไปติดตั้งคอนเทนต์ลงในเครื่อง”เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สพฐ. จะไม่แนะนำเรื่องของซอฟต์แวร์ เพราะเป็นสิทธิ์ของโรงเรียนจะเลือก แต่เราได้จะจัดสรรงบประมาณไปให้เขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนดำเนินการจัดซื้อเอง แต่เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณก็ได้มีการจัดซื้อซอฟต์แวร์และใส่ในเซิร์ฟเวอร์กลางให้โรงเรียนมาดาวน์โหลดไปใช้ได้