รมช.สธ.ย้ำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งตรวจความปลอดภัยอาหารในเทศกาลกินเจ ตามนโยบายรัฐบาล “ครัวไทย สู่ครัวโลก” เผยผลตรวจล่าสุดพบผักผลไม้สดส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ปลอดภัย โดยพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างมากสุดในคะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง พริกขี้หนู บล็อกโคลี กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักบุ้ง แนะล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุง
วันนี้ (14 ต.ค.) นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) เปิดงาน “เทศกาลกินเจสมุทรสาครประจำปี 2555” ซึ่งจัดที่สวนสาธารณะข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 15-23 ตุลาคม 2555 และให้สัมภาษณ์ ว่า ช่วงเทศกาลกินเจ นับว่าเป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ในการทำจิตใจและร่างกายให้บริสุทธิ์ โดยประชาชนไทยเชื้อสายจีน จะหันมารับประทานอาหารประเภท ผัก และผลไม้มากขึ้น งดอาหารเนื้อสัตว์ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เข้มมาตรการอาหารปลอดภัย ตามนโยบาย “ครัวไทย สู่ครัวโลก” ของรัฐบาล เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว โดยให้ออกสุ่มตรวจอาหารสดและผักผลไม้ที่วางจำหน่ายในตลาดค้าส่ง ตลาดสด รวมทั้งขอความร่วมมือไปยังกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเกษตรกรปลูกผัก ผลไม้แบบเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค
ผลการตรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 พบว่า ในผัก ผลไม้สด ส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ปลอดภัย โดยพบมีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ 4 ชนิด มากที่สุดคือ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชพบ 1,725 ตัวอย่างจาก ที่สุ่มตรวจทั้งหมด 62,397 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.76 พบมากที่สุดใน คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง พริกขี้หนู บล็อกโคลี กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักบุ้ง รองลงมาคือ สารกันรา พบจำนวน 189 ตัวอย่าง จาก 38,162 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.50 พบในผักกาดดอง หน่อไม้ดอง มะนาวดอง หน่อไม้ปี๊ป และผลไม้ดองทุกชนิด และสารฟอกขาว พบจำนวน 37 ตัวอย่าง จากที่ตรวจ 36,778 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.10 พบในขิงซอยยอดมะพร้าว และถั่วงอก นอกจากนี้ ยังพบว่า มีน้ำมันทอดซ้ำที่อยู่ในเกณฑ์อันตราย 469 ตัวอย่าง จากที่ตรวจ 5,490 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 8.54 พบในน้ำมันที่ใช้ทอดปาท่องโก๋ ทอดกล้วย ทอดเต้าหู้ ทอดเผือก ทอดผัก เป็นต้น
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในการปรุงและรับประทานอาหารเจต้องล้างผัก ผลไม้สด ให้สะอาดก่อนทุกครั้ง เพื่อลดสารพิษตกค้าง ขอให้เลือกรับประทานรสไม่จัดคือ ไม่หวานจัด เค็มจัด และอาหารที่ใช้น้ำมันมาก ลดอาหารจำพวกแป้ง นอกจากนี้ในการเลือกซื้ออาหารเจสำเร็จรูป ขอให้เลือกซื้ออาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ จากร้านที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ ต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคลดี เช่น สวมหมวกคลุมผม มีภาชนะที่ปิดป้องกันฝุ่นละออง และแมลงตอมอาหาร ใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารแทนการใช้มือ
ด้านนายแพทย์ ชัยรัตน์ เวชพานิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า เทศกาลกินเจจังหวัดสมุทรสาครทุกปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ได้มีมาตรการสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร และการป้องกันโรค โดยจัดอบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร การปฏิบัติตัวของผู้ประกอบอาหารเจ และตรวจสุขภาพให้แก่ผู้ประกอบการอาหารเจ จำนวน 60 ราย เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง หรืออาหารเป็นพิษ ได้สุ่มตรวจความสะอาดของโรงเจ ทั้งหมด 5 แห่ง และร้านอาหารเจทุกร้านทุกวันซึ่งผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
วันนี้ (14 ต.ค.) นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) เปิดงาน “เทศกาลกินเจสมุทรสาครประจำปี 2555” ซึ่งจัดที่สวนสาธารณะข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 15-23 ตุลาคม 2555 และให้สัมภาษณ์ ว่า ช่วงเทศกาลกินเจ นับว่าเป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ในการทำจิตใจและร่างกายให้บริสุทธิ์ โดยประชาชนไทยเชื้อสายจีน จะหันมารับประทานอาหารประเภท ผัก และผลไม้มากขึ้น งดอาหารเนื้อสัตว์ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เข้มมาตรการอาหารปลอดภัย ตามนโยบาย “ครัวไทย สู่ครัวโลก” ของรัฐบาล เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว โดยให้ออกสุ่มตรวจอาหารสดและผักผลไม้ที่วางจำหน่ายในตลาดค้าส่ง ตลาดสด รวมทั้งขอความร่วมมือไปยังกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเกษตรกรปลูกผัก ผลไม้แบบเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค
ผลการตรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 พบว่า ในผัก ผลไม้สด ส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ปลอดภัย โดยพบมีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ 4 ชนิด มากที่สุดคือ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชพบ 1,725 ตัวอย่างจาก ที่สุ่มตรวจทั้งหมด 62,397 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.76 พบมากที่สุดใน คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง พริกขี้หนู บล็อกโคลี กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักบุ้ง รองลงมาคือ สารกันรา พบจำนวน 189 ตัวอย่าง จาก 38,162 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.50 พบในผักกาดดอง หน่อไม้ดอง มะนาวดอง หน่อไม้ปี๊ป และผลไม้ดองทุกชนิด และสารฟอกขาว พบจำนวน 37 ตัวอย่าง จากที่ตรวจ 36,778 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.10 พบในขิงซอยยอดมะพร้าว และถั่วงอก นอกจากนี้ ยังพบว่า มีน้ำมันทอดซ้ำที่อยู่ในเกณฑ์อันตราย 469 ตัวอย่าง จากที่ตรวจ 5,490 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 8.54 พบในน้ำมันที่ใช้ทอดปาท่องโก๋ ทอดกล้วย ทอดเต้าหู้ ทอดเผือก ทอดผัก เป็นต้น
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในการปรุงและรับประทานอาหารเจต้องล้างผัก ผลไม้สด ให้สะอาดก่อนทุกครั้ง เพื่อลดสารพิษตกค้าง ขอให้เลือกรับประทานรสไม่จัดคือ ไม่หวานจัด เค็มจัด และอาหารที่ใช้น้ำมันมาก ลดอาหารจำพวกแป้ง นอกจากนี้ในการเลือกซื้ออาหารเจสำเร็จรูป ขอให้เลือกซื้ออาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ จากร้านที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ ต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคลดี เช่น สวมหมวกคลุมผม มีภาชนะที่ปิดป้องกันฝุ่นละออง และแมลงตอมอาหาร ใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารแทนการใช้มือ
ด้านนายแพทย์ ชัยรัตน์ เวชพานิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า เทศกาลกินเจจังหวัดสมุทรสาครทุกปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ได้มีมาตรการสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร และการป้องกันโรค โดยจัดอบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร การปฏิบัติตัวของผู้ประกอบอาหารเจ และตรวจสุขภาพให้แก่ผู้ประกอบการอาหารเจ จำนวน 60 ราย เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง หรืออาหารเป็นพิษ ได้สุ่มตรวจความสะอาดของโรงเจ ทั้งหมด 5 แห่ง และร้านอาหารเจทุกร้านทุกวันซึ่งผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย