จันทบุรี - เกษตรกรชาวสวน ตำบลคลองพลู จังหวัดจันทบุรี รวมกลุ่มเดินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักไร้สารพิษ หวังสร้างสุขภาพ และรายได้หมุนเวียนในชุมชน
นางสันติพร องอาจ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 7 ตำบล คลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรชาวสวน เปิดเผยว่า แนวความคิดในการทำโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพว่า ตนเองได้พบเห็นจากผู้ที่เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคอาหารเป็นพิษ สาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักของผู้ป่วยนั้น คาดว่าน่าจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิษตกค้างเข้าไปทำให้ต้องเสียเงินซื้อยาเพื่อรักษาตัวโดยสิ้นเปลือง และบางรายโรคเรื้อรังสะสม รักษาไม่หายขาดอาจถึงแก่ชีวิต
ตนได้รวมกลุ่มกับเพื่อนเกษตรกรชาวสวนในหมู่บ้านจัดตั้งทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษขึ้น เป็นโครงการ และรวมตัวจัดตั้งกลุ่มร่วมกันปลูกผักไร้สารพิษผักที่ปลูกเป็นผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง มะเขือ พริก ตะไคร้ โหระพา ถั่วฝักยาว เป็นต้น โดยการรวมกลุ่มของคนในชุมชนครั้งนี้มีสมาชิกเข้าร่วมในโครงการแล้วทั้งหมด 48 ราย ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นชาวสวนในหมู่บ้านที่ใช้เวลาว่างจากการทำสวนเสร็จ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาช่วยกันดูแลการปลูกผักปลอดสาร
นางสันติพร กล่าวต่อไปว่า เกษตรกรชาวสวนทุกคนจะได้รับประทานผักที่ปลูกกันก่อน ซึ่งเป็นผักที่ปลอดภัยไร้สารพิษ และส่วนหนึ่งก็จะนำเอาไปขายสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลี้ยงครอบครัว เพราะผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรชาวสวน ตำบลคลองพลู จะมีราคาที่สูงกว่าผักตามท้องตลาดทั่วไป แต่ลูกค้าที่มาซื้อไม่มีการต่อว่า เพราะถือว่าคุ้มค่ากว่าการที่จะต้องซื้อผักในราคาถูกแต่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ
ปัจจุบัน ในพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษทางกลุ่มได้ใช้เนื้อที่ในการปลูก จำนวน 15 ไร่ และขณะนี้ ได้ดำเนินการไปแล้ว 5 ไร่ และเตรียมขยายพื้นที่ที่เหลือดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษให้ครอบคลุม และทันต่อความต้องการของผู้บริโภคต่อไป นอกจากนี้ ผักปลอดสารพิษของทางกลุ่มได้มีตลาดในประเทศ และต่างประเทศเข้ามาติดต่อขอซื้อแล้ว ซึ่งนับว่าการปลูกผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีอีกด้วย
นางสันติพร องอาจ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 7 ตำบล คลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรชาวสวน เปิดเผยว่า แนวความคิดในการทำโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพว่า ตนเองได้พบเห็นจากผู้ที่เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคอาหารเป็นพิษ สาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักของผู้ป่วยนั้น คาดว่าน่าจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิษตกค้างเข้าไปทำให้ต้องเสียเงินซื้อยาเพื่อรักษาตัวโดยสิ้นเปลือง และบางรายโรคเรื้อรังสะสม รักษาไม่หายขาดอาจถึงแก่ชีวิต
ตนได้รวมกลุ่มกับเพื่อนเกษตรกรชาวสวนในหมู่บ้านจัดตั้งทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษขึ้น เป็นโครงการ และรวมตัวจัดตั้งกลุ่มร่วมกันปลูกผักไร้สารพิษผักที่ปลูกเป็นผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง มะเขือ พริก ตะไคร้ โหระพา ถั่วฝักยาว เป็นต้น โดยการรวมกลุ่มของคนในชุมชนครั้งนี้มีสมาชิกเข้าร่วมในโครงการแล้วทั้งหมด 48 ราย ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นชาวสวนในหมู่บ้านที่ใช้เวลาว่างจากการทำสวนเสร็จ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาช่วยกันดูแลการปลูกผักปลอดสาร
นางสันติพร กล่าวต่อไปว่า เกษตรกรชาวสวนทุกคนจะได้รับประทานผักที่ปลูกกันก่อน ซึ่งเป็นผักที่ปลอดภัยไร้สารพิษ และส่วนหนึ่งก็จะนำเอาไปขายสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลี้ยงครอบครัว เพราะผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรชาวสวน ตำบลคลองพลู จะมีราคาที่สูงกว่าผักตามท้องตลาดทั่วไป แต่ลูกค้าที่มาซื้อไม่มีการต่อว่า เพราะถือว่าคุ้มค่ากว่าการที่จะต้องซื้อผักในราคาถูกแต่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ
ปัจจุบัน ในพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษทางกลุ่มได้ใช้เนื้อที่ในการปลูก จำนวน 15 ไร่ และขณะนี้ ได้ดำเนินการไปแล้ว 5 ไร่ และเตรียมขยายพื้นที่ที่เหลือดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษให้ครอบคลุม และทันต่อความต้องการของผู้บริโภคต่อไป นอกจากนี้ ผักปลอดสารพิษของทางกลุ่มได้มีตลาดในประเทศ และต่างประเทศเข้ามาติดต่อขอซื้อแล้ว ซึ่งนับว่าการปลูกผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีอีกด้วย