ห้ามประมาท! “ดร.พิจิตต” แนะจับตาปริมาณน้ำฝนช่วงปลายเดือน ก.ย.-ปลายเดือน ต.ค.นี้ แม้น้ำใต้เขื่อนยังมาไม่ถึง จวกรัฐบาลทำงานวัวหายล้อมคอก ไร้ความพร้อมรับมือภัยพิบัติ เตือนดินถล่ม-ภัยแล้งน่าห่วง จี้จัดระบบชลประทาน
ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “การเตรียมการด้านโภชนาการเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ” ว่า ในภาพรวมต้องยอมรับว่า สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก ความผันผวนของแผ่นดิน น้ำ อากาศ ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น ทั้งยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัติใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยจากเดิมที่จะอยู่ในช่วงประมาณ 1,500 มิลลิลิตรต่อปี แต่ในช่วงหลังพบว่ามีมากขึ้นอยู่ในช่วง 1,600-1,800 มิลลิลิตรต่อปี ทั้งนี้ เกิดมาจากสภาวะโลกร้อน เพราะการเกิดสภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้ในพื้นที่ใดที่ฝนตกอยู่แล้วฝนจะตกมากขึ้น ส่วนพื้นที่ที่แล้งอยู่แล้วก็จะแล้งมากขึ้น และการที่ประเทศไทยมีปริมารน้ำฝนมากขึ้น ส่งผลให้ปีที่แล้วมีปริมาณน้ำเหนือเขื่อนมากถึงร้อยละ 22 ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์น้ำฝนจนถึงขณะนี้ตนคาดว่าจะมีปริมาณน้ำไม่มาก และยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติ แต่ก็จะยังประมาทไม่ได้เพราะน้ำใต้เขื่อนยังมาไม่ถึง และยังคงต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำฝนในช่วงปลายเดือน ก.ย.-ปลายเดือน ต.ค.อยู่
ดร.พิจิตต กล่าวอีกว่า ยอมรับว่า ประเทศไทยเก่งในเรื่องของการบริหารจัดการ ช่วยเหลือประชาชนในขณะที่เกิดภัยพิบัติ แม้จะเกิดข้อบกพร่องบ้างก็ตาม แต่ในเรื่องของการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือภัยพิบัติยังไม่ดี มักมีการทำงานแบบวัวหายล้อมคอก แม้ว่าในขณะนี้รัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการป้องกันน้ำท่วมโดยกำลังจะทำคันกั้นน้ำ ทำพื้นที่แก้มลิง ทำฟลัดเวย์ (ทางน้ำผ่าน) ซึ่งที่กำลังจะทำมีเยอะมาก แต่ที่ทำไปแล้วยังไม่ค่อยมี ขณะเดียวกัน ยังไม่มีการประเมินความเสี่ยงในรายตำบล รายหมู่บ้าน ว่า ตำบลใด หมู่บ้านใด มีความเสี่ยงบ้าง ทั้งที่เป็นสิ่งต้องทำ แต่ไม่มีการดำเนินการ จึงทำให้ไม่สามารถเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การฝึกอบรมประชาชน และข้าราชการเพื่อเตรียมความพร้อมก็ยังไม่มี ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ เมื่อเกิดภัยพิบัติเรามักจะคิดถึงแต่เรื่องถุงยังชีพ ทั้งที่ความจริงแล้วต้องคิดด้วยว่าชาวบ้านต้องการอะไร ตนยอมรับว่าในเรื่องนี้อาจมีคนโต้เถียงว่าชาวบ้านลำบากต้องรีบให้ความช่วยเหลือก่อน แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพื่อหาทางแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งเรื่องการประเมินความต้องการของชาวบ้านนั้นจากเหตุการณ์ที่ผ่านๆมาต้องยอมรับว่าเรายังทำได้ไม่ดีพอ
ดร.พิจิตต กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังอีกคือเรื่องดินถล่ม เพราะจาการสำรวจของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่มากกว่า 6,000 แห่ง ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม และในพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ด้วย และสิ่งที่ควรได้รับความสนใจอีกเรื่อง คือ พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคอีสาน ควรที่จะต้องมีการจัดระบบชลประทานเข้าไป เพราะอย่างที่ตนบอกไว้แล้วว่าสภาวะโลกร้อนจะทำให้พื้นที่ใดที่แล้งอยู่แล้ว จะแล้งมากขึ้นไปอีก ดังนั้น จะต้องจัดระบบชลประทานเข้าไป เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดคนอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้นแน่นอน
ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “การเตรียมการด้านโภชนาการเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ” ว่า ในภาพรวมต้องยอมรับว่า สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก ความผันผวนของแผ่นดิน น้ำ อากาศ ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น ทั้งยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัติใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยจากเดิมที่จะอยู่ในช่วงประมาณ 1,500 มิลลิลิตรต่อปี แต่ในช่วงหลังพบว่ามีมากขึ้นอยู่ในช่วง 1,600-1,800 มิลลิลิตรต่อปี ทั้งนี้ เกิดมาจากสภาวะโลกร้อน เพราะการเกิดสภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้ในพื้นที่ใดที่ฝนตกอยู่แล้วฝนจะตกมากขึ้น ส่วนพื้นที่ที่แล้งอยู่แล้วก็จะแล้งมากขึ้น และการที่ประเทศไทยมีปริมารน้ำฝนมากขึ้น ส่งผลให้ปีที่แล้วมีปริมาณน้ำเหนือเขื่อนมากถึงร้อยละ 22 ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์น้ำฝนจนถึงขณะนี้ตนคาดว่าจะมีปริมาณน้ำไม่มาก และยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติ แต่ก็จะยังประมาทไม่ได้เพราะน้ำใต้เขื่อนยังมาไม่ถึง และยังคงต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำฝนในช่วงปลายเดือน ก.ย.-ปลายเดือน ต.ค.อยู่
ดร.พิจิตต กล่าวอีกว่า ยอมรับว่า ประเทศไทยเก่งในเรื่องของการบริหารจัดการ ช่วยเหลือประชาชนในขณะที่เกิดภัยพิบัติ แม้จะเกิดข้อบกพร่องบ้างก็ตาม แต่ในเรื่องของการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือภัยพิบัติยังไม่ดี มักมีการทำงานแบบวัวหายล้อมคอก แม้ว่าในขณะนี้รัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการป้องกันน้ำท่วมโดยกำลังจะทำคันกั้นน้ำ ทำพื้นที่แก้มลิง ทำฟลัดเวย์ (ทางน้ำผ่าน) ซึ่งที่กำลังจะทำมีเยอะมาก แต่ที่ทำไปแล้วยังไม่ค่อยมี ขณะเดียวกัน ยังไม่มีการประเมินความเสี่ยงในรายตำบล รายหมู่บ้าน ว่า ตำบลใด หมู่บ้านใด มีความเสี่ยงบ้าง ทั้งที่เป็นสิ่งต้องทำ แต่ไม่มีการดำเนินการ จึงทำให้ไม่สามารถเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การฝึกอบรมประชาชน และข้าราชการเพื่อเตรียมความพร้อมก็ยังไม่มี ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ เมื่อเกิดภัยพิบัติเรามักจะคิดถึงแต่เรื่องถุงยังชีพ ทั้งที่ความจริงแล้วต้องคิดด้วยว่าชาวบ้านต้องการอะไร ตนยอมรับว่าในเรื่องนี้อาจมีคนโต้เถียงว่าชาวบ้านลำบากต้องรีบให้ความช่วยเหลือก่อน แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพื่อหาทางแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งเรื่องการประเมินความต้องการของชาวบ้านนั้นจากเหตุการณ์ที่ผ่านๆมาต้องยอมรับว่าเรายังทำได้ไม่ดีพอ
ดร.พิจิตต กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังอีกคือเรื่องดินถล่ม เพราะจาการสำรวจของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่มากกว่า 6,000 แห่ง ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม และในพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ด้วย และสิ่งที่ควรได้รับความสนใจอีกเรื่อง คือ พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคอีสาน ควรที่จะต้องมีการจัดระบบชลประทานเข้าไป เพราะอย่างที่ตนบอกไว้แล้วว่าสภาวะโลกร้อนจะทำให้พื้นที่ใดที่แล้งอยู่แล้ว จะแล้งมากขึ้นไปอีก ดังนั้น จะต้องจัดระบบชลประทานเข้าไป เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดคนอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้นแน่นอน