xs
xsm
sm
md
lg

ผู้แทนฮูประจำไทย วอนอาเซียนถอนบุหรี่ออกจากบัญชีเว้นภาษี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้แทนฮูประจำไทย เผย ไทยสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิต จากเอฟทีเอปัจจุบันอย่างน้อยปีละ 700 ล้านบาท วอนอาเซียนถอนบุหรี่ออกจากบัญชีสินค้าเว้นภาษี มั่นใจคงไว้ไม่ช่วยให้การลักลอบนำเข้าลด แนะทางออกจัดไว้ในบัญชีสินค้าอ่นไหวแบบมีเงื่อนไขเฉพาะแทน

นพ.ชัย กฤตยาภิชาติกุล ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่มีการบรรจุบุหรี่ไว้ในบัญชีสินค้ายกเว้นภาษีตามข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน ว่า รัฐบาลของประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนมีบทบาทสำคัญเท่ากันในการสนับสนุน หรือผลักดันนโยบายต่างๆของอาเซียน ซึ่งหลายประเทศบริษัทบุหรี่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลค่อนข้างมาก การจะหวังให้ประเทศเหล่านั้นดำเนินการดึงบุหรี่ออกจากบัญชีสินค้าดังกล่าวจึงคาดหวังไม่ได้ รัฐบาลไทยจะต้องมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้ เพราะหากยังคงไว้จะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทบุหรี่มากกว่าประเทศ

“ในความเป็นจริงส่วนตัวเห็นว่า คงเป็นไปได้ยากที่จะให้มีการถอนบุหรี่ออกจากบัญชีสินค้าตามข้อตกลงเอฟทีเอ แต่อย่างน้อยควรจัดให้บุหรี่ทั้งหมดอยู่ในบัญชีสินค้าเซนซิทีฟ หรือสินค้าที่มีความอ่อนไหว โดยกำหนดเงื่อนไขเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การจะฝากความหวังไว้ให้รัฐบาลดำเนินการเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ ภาคประชาสังคมในทุกประเทศของอาเซียน ควรประสานความร่วมมือกันและรณรงค์ ผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อเป้นแรงสนับสนุนให้กับรัฐบาลในการดำเนินการ” นพ.ชัย กล่าว
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
นพ.ชัย กล่าวอีกว่า เอฟทีเอที่ไทยมีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิตอย่างน้อยปีละ 700 ล้านบาท ดังนั้น หากยังคงบุหรี่ไว้ในสินค้ายกเว้นภาษีของอาเซียน จะทำให้บริษัทบุหรี่พยายามเข้ามามีบทบาทมากที่สุดในเรื่องการค้า หากรัฐบาลเข้มแข้งไม่เพียงพอก็จะเสียโอกาสทั้งหมด ไม่เฉพาะเรื่องภาษีเท่านั้น แต่บริษัทบุหรี่จะอ้างสิทธิทางการค้าตามเอทีเอ การจะออกกฎหมายใดเพื่อห้ามเกี่ยวกับบุหรี่ในอนาคตทำได้ยากมากขึ้น รวมทั้งจะใช้สิทธิทางการค้าเพื่อทำการส่งเสริมการขาย ด้วยการอ้างการดำเนินการในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่สามารถทำได้ การบังคับใช้กฎหมายจะลำบากมาขึ้นด้วย เพราะรัฐบาลเกรงว่าจะถุกฟ้องร้องจากธุรกิจบุหรี่

นพ.ชัย กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญ ไม่ได้ช่วยให้การลักลอบนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมายน้อยลงอย่างที่มีการระบุ เพราะภาษีบุหรี่ในแต่ละประเทศของอาเซียนยังแตกต่างกันมาก บุหรี่จากประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ ราคาถูกก็จะมีการลักลอบนำเข้ามาขายในประะเทศที่อัตราภาษีสูงกว่า และบุหรี่ราคาแพง ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงควรกำหนดอัตราภาษีบุหรี่ระหว่างประเทศเพื่อป้องกันปัญหานี้

น.ส.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลประเทศออสเตรเลีย ตัดสินให้รัฐบาลออสเตรเลียชนะจากกรณีที่บริษัทบุหรี่ ฟ้องร้องนโยบายจัดทำบุหรี่ซองเรียบ ที่จะเปลี่ยนให้ซองบุหรี่ไม่มีสี ไม่มีชื่อยี่ห้อนั้น เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ประเทศต่างๆ จะเริ่มทำนโยบายดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยก็มีการปรับเปลี่ยนซองบุหรี่ เพื่อไม่ให้เกิดโฆษณาด้วยซองบุหรี่มาโดยตลอด โดยพบว่า การจัดทำซองเรียบ ในเชิงวิชาการจะช่วยลดการโฆษณาทุกประเภทที่อยู่บนซอง ไม่ว่าจะเป็นคำที่ให้รู้สึกว่าพิเศษ ชั้นเลิศ รสละมุ่น เท่ เพราะแม้จะมีกฎหมายห้ามไว้แต่บริษัทบุหรี่จะเปลี่ยนไปสร้างเป็นชื่อสินค้า อยู่ดี นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาด้วยสี เช่น สีอ่อน ให้ความรู้สึกปลอดภัย หรือเหมาะสำหรับผู้หญิง ส่วนสีเข้มจะรู้สึกว่าเท่ ถือเป็นวิธีการป้องกันการโฆษณาของบุหรี่ โดยการออกแบบซองผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมีการใช้ช่องโหว่ของกฎหมายในอนาคต นอกจากนี้ ยังลดการแข่งขัน เรื่องความสวยงาม รสชาติ ช่วยทำให้ไม่เกิดการกระตุ้นให้เยาวชนกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น