สป.เตือน “ยิ่งลักษณ์” ต้องฉลาดเจรจาการค้า FTA กับยุโรป โดยเฉพาะเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หวั่นเพิ่มนักดื่มหน้าใหม่ “หมอสมาน” แนะทำร่าง กม.จำกัดการเข้าถึงแอลกอฮอล์
วันนี้ (19 ก.ค.) ที่อาคารรัฐประศาสนภักดี สำนักสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ในเวทีสัมมนา “นโยบายแอลกอฮอล์เพื่ออนาคตเยาวชนไทย” รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ สป.กล่าวว่า ข่าวการเดินทางไปยุโรปของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่สนใจเปิดการเจรจาการค้า FTA กับยุโรป นั้น สป.ได้ศึกษาและจัดฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า ไทยต้องเจรจาอย่างฉลาด โดยเฉพาะในเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะส่งผลเสียด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเพิ่มนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
รศ.ดร.จิราพร กล่าวว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมสัมมนามีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ 1.การเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากการเจรจาการค้า โดยให้ยืนยันตามมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบในหลักการที่จะไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นรายชื่อสินค้าในการเจรจาการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2.เร่งผลักดันอนุบัญญัติกฎหมายห้ามร้านค้าเหล้า 500 เมตร รอบสถานศึกษา และห้ามขายเหล้าปั่น ประการที่สาม เพิ่มภาษีสรรพสามิตสุรา โดยเพิ่มอัตราภาษีให้เต็มเพดาน และ 3.การเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การห้ามขายผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ในปัจจุบัน เยาวชนไทยต้องประสบกับพิษภัยน้ำเมาจนน่ากังวล การตายของเยาวชนอายุ 15-29 ปี ประมาณหนึ่งในสามนั้นมาจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหายังมีทิศทางเพิ่มขึ้นเพราะเยาวชนไทยกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่ปีละประมาณ 250,000 คน นอกจากนี้ สุรายังเป็นประตูพาวัยรุ่นไปสู่ปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งการทะเลาะวิวาท และการใช้ยาเสพติด และปัญหาเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย สาเหตุสำคัญคือ การที่เยาวชนถูกมอมเมารอบด้านจากกลยุทธ์การตลาดของอุตสาหกรรมสุรา ทั้งการที่ราคาเครื่องดื่มถูกจนใครๆ ก็สามารถซื้อได้ หาซื้อสะดวก แม้อายุจะไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และการตกเป็นเหยื่อของโฆษณาและโฆษณาแฝง ที่พุ่งเป้าไปที่เยาวชนเพื่อหวังผลให้เป็นลูกค้าในระยะยาว
นพ.ทักษพล กล่าวเสริมว่า รายงานวิชาการของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญปัญหาแอลกอฮอล์ขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่า ข้อมูลวิชาการยืนยันได้ว่า ความตกลงการค้าเสรีในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับโลกจนถึงทวิภาคี มีผลสำคัญต่อการพัฒนานโยบายการปกป้องสุขภาพของประเทศต่างๆ และยังชี้ให้เห็นตัวอย่างการประกาศจุดยืนในการปกป้องสุขภาพและสังคมโดยการแยกสุราและยาสูบออกจากข้อตกลงการค้าว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ทั้งนี้ คงต้องวิงวอนผู้เกี่ยวข้องธุรกิจภาคส่วนอื่นๆ ให้แยกแยะประเด็นสินค้าที่ก่อความเสียหายแก่สุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ สินค้าบางอย่าง ยิ่งผลิต ยิ่งขาย ยิ่งใช้ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่คงไม่ใช่สินค้าอย่างสุราและยาสูบ
ด้าน นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า หากร่างกฎหมายการจำกัดการเข้าถึงแอลกอฮอล์ได้บังคับใช้จะเกิดผลดีต่อเยาวชนไทยอย่างมาก เนื่องจากเป็นการจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน เป็นหลักการที่ได้ผลอย่างยิ่งในการป้องกันปัญหา ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติสามารถดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีเวลาให้ผู้ประกอบการและร้านค้าปรับตัว
นางสาวอารีกุล พวงสุวรรณ นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า การป้องกันดีกว่าการตามแก้ไขปัญหา โดยควรเน้นมาตรการที่ได้รับการรับรองแล้วว่าได้ผล โดยองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำว่า การจำกัดการเข้าถึงสุรา ถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่มีความคุ้มค่าสูงสุด นอกไปจากมาตรการทางภาษี และการควบคุมการโฆษณาอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ข้อเสนอและความคิดเห็นจากที่ประชุมเพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อเยาวชนไทยที่กล่าวมา ได้นำเสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบก่อนที่จะเร่งส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป เพื่อให้ทันก่อนการตัดสินใจเปิดการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป
วันนี้ (19 ก.ค.) ที่อาคารรัฐประศาสนภักดี สำนักสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ในเวทีสัมมนา “นโยบายแอลกอฮอล์เพื่ออนาคตเยาวชนไทย” รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ สป.กล่าวว่า ข่าวการเดินทางไปยุโรปของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่สนใจเปิดการเจรจาการค้า FTA กับยุโรป นั้น สป.ได้ศึกษาและจัดฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า ไทยต้องเจรจาอย่างฉลาด โดยเฉพาะในเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะส่งผลเสียด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเพิ่มนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
รศ.ดร.จิราพร กล่าวว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมสัมมนามีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ 1.การเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากการเจรจาการค้า โดยให้ยืนยันตามมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบในหลักการที่จะไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นรายชื่อสินค้าในการเจรจาการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2.เร่งผลักดันอนุบัญญัติกฎหมายห้ามร้านค้าเหล้า 500 เมตร รอบสถานศึกษา และห้ามขายเหล้าปั่น ประการที่สาม เพิ่มภาษีสรรพสามิตสุรา โดยเพิ่มอัตราภาษีให้เต็มเพดาน และ 3.การเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การห้ามขายผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ในปัจจุบัน เยาวชนไทยต้องประสบกับพิษภัยน้ำเมาจนน่ากังวล การตายของเยาวชนอายุ 15-29 ปี ประมาณหนึ่งในสามนั้นมาจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหายังมีทิศทางเพิ่มขึ้นเพราะเยาวชนไทยกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่ปีละประมาณ 250,000 คน นอกจากนี้ สุรายังเป็นประตูพาวัยรุ่นไปสู่ปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งการทะเลาะวิวาท และการใช้ยาเสพติด และปัญหาเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย สาเหตุสำคัญคือ การที่เยาวชนถูกมอมเมารอบด้านจากกลยุทธ์การตลาดของอุตสาหกรรมสุรา ทั้งการที่ราคาเครื่องดื่มถูกจนใครๆ ก็สามารถซื้อได้ หาซื้อสะดวก แม้อายุจะไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และการตกเป็นเหยื่อของโฆษณาและโฆษณาแฝง ที่พุ่งเป้าไปที่เยาวชนเพื่อหวังผลให้เป็นลูกค้าในระยะยาว
นพ.ทักษพล กล่าวเสริมว่า รายงานวิชาการของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญปัญหาแอลกอฮอล์ขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่า ข้อมูลวิชาการยืนยันได้ว่า ความตกลงการค้าเสรีในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับโลกจนถึงทวิภาคี มีผลสำคัญต่อการพัฒนานโยบายการปกป้องสุขภาพของประเทศต่างๆ และยังชี้ให้เห็นตัวอย่างการประกาศจุดยืนในการปกป้องสุขภาพและสังคมโดยการแยกสุราและยาสูบออกจากข้อตกลงการค้าว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ทั้งนี้ คงต้องวิงวอนผู้เกี่ยวข้องธุรกิจภาคส่วนอื่นๆ ให้แยกแยะประเด็นสินค้าที่ก่อความเสียหายแก่สุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ สินค้าบางอย่าง ยิ่งผลิต ยิ่งขาย ยิ่งใช้ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่คงไม่ใช่สินค้าอย่างสุราและยาสูบ
ด้าน นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า หากร่างกฎหมายการจำกัดการเข้าถึงแอลกอฮอล์ได้บังคับใช้จะเกิดผลดีต่อเยาวชนไทยอย่างมาก เนื่องจากเป็นการจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน เป็นหลักการที่ได้ผลอย่างยิ่งในการป้องกันปัญหา ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติสามารถดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีเวลาให้ผู้ประกอบการและร้านค้าปรับตัว
นางสาวอารีกุล พวงสุวรรณ นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า การป้องกันดีกว่าการตามแก้ไขปัญหา โดยควรเน้นมาตรการที่ได้รับการรับรองแล้วว่าได้ผล โดยองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำว่า การจำกัดการเข้าถึงสุรา ถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่มีความคุ้มค่าสูงสุด นอกไปจากมาตรการทางภาษี และการควบคุมการโฆษณาอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ข้อเสนอและความคิดเห็นจากที่ประชุมเพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อเยาวชนไทยที่กล่าวมา ได้นำเสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบก่อนที่จะเร่งส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป เพื่อให้ทันก่อนการตัดสินใจเปิดการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป