ASTVผู้จัดการรายวัน-เอกชนประเมินวิกฤตยูโรโซนไม่จบง่ายๆ คาดส่งออกไทยปีนี้โอกาสพลาดเป้าสูง อย่างเก่งทำได้แค่ 10% พร้อมจับตาสหรัฐฯ ออกมาตรการ QE 3 ทำค่าเงินบาทและเงินภูมิภาคผันผวนหนัก แนะเตรียมรับมือให้ดี
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยระหว่างการเสวนาเรื่อง “ทางรอดส่งออกไทยภายใต้วิกฤตอียู” จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ วานนี้ (11ก.ค.) ว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกลุ่มประเทศยุโรปกว่าจะฟื้นตัวได้ น่าจะเป็นช่วงไตรมาส 4 ของปี 2556 ซึ่งจะทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ อาจไม่ได้ตามเป้าที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ 15% มูลค่า 263,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่จะได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอย่างเก่งการส่งออกน่าจะโตได้เพียงแค่ 10%
ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยการอัดฉีดเงินให้ผู้ส่งออกที่ขาดสภาพคล่องจากผู้ซื้อปลายทางขอขยายเวลาการชำระค่าสินค้า พิจารณาแก้ไขกฎระเบียบภาษีต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการส่งออกให้ขั้นตอนกระชับขึ้น และรัฐบาลต้องเร่งผลักดันการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ให้ได้โดยเร็วที่สุด เพราะมีแนวโน้มที่สินค้าไทยหลายรายการจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากอียูในปี 2556
ส่วนการปรับตัวของผู้ส่งออกประการ จะต้องหาทางลดค่าใช้จ่าย หาตลาดใหม่ และสรรหาสินค้าใหม่ที่ตรงกับความต้องการตลาด และเน้นการให้บริการลูกค้า เช่น การสร้างความมั่นใจว่าสามารถส่งออกได้ตามกำหนดเวลา เป็นต้น
นอกจากนี้ เอกชนยังมีความเป็นห่วงว่าค่าเงินบาท และค่าเงินในภูมิภาคจะผันผวน หากสหรัฐฯ ต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE 3 ซึ่งจะทำให้เงินทุนไหลเข้ามาในเอเชียจำนวนมาก ส่งผลทำให้ค่าเงินผันผวน แต่เชื่อว่าหากค่าเงินบาทไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินของภูมิภาค หรือไม่ผันผวนมากจนเกินไป ก็จะไม่กระทบต่อการส่งออกมาก แต่ผู้ส่งออกเองต้องระมัดระวังและจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ป้องกันและประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
นายสมพร จิตเป็นธม รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพี่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตา คือ สหรัฐฯ มีแนวโน้มจะออกมาตรการ QE 3มาพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคและไทย ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ จึงอยากเตือนผู้ส่งออกอย่าเก็งกำไรจากค่าเงิน แต่ให้คาดหวังจากกำไรจากการค้าขายสินค้ามากกว่า เพราะหากเก็งกำไรค่าเงิน เมื่อเกิดความผิดพลาดก็จะทำให้ธุรกิจถึงขั้นล้มได้ สิ่งที่ดีที่สุด คือ การประเมินกำไรว่าค่าเงินเท่าใดที่จะเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง และประกันความเสี่ยงเพื่อลดตัวแปรที่จะกระทบเศรษฐกิจ
นายสมชาย พรจินดารักษ์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า ผลกระทบจากวิกฤตยุโรปทำให้อุตสาหกรรมประสบปัญหา ผู้ส่งออกส่งออกสินค้าไปแล้วไม่ได้รับการชำระเงิน ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงยังขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลให้ผู้ส่งออกขนาดกลางและเล็ก (SMEs) มีโอกาสเลิกกิจการ
นายหลักชัย กิตติพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สินค้ายางพาราได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรป เพราะยอดการส่งออกที่ลดลง ตามความต้องการซื้อที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้ารถยนต์ลดลง ทำให้ราคายางตกต่ำ เบื้องต้นรัฐบาลต้องนำเงินเข้ามาอัดฉีดเพื่อดึงผลผลิตยางออกจากตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าปริมาณผลผลิตยาง กับปริมาณความต้องการใช้สอดคล้องกัน ก็จะช่วยให้ราคายางพาราปรับตัวดีขึ้นในที่สุด ซึ่งวิธีการนี้ยอมรับว่าจะต้องใช้เงินเข้ามาซื้อยางไปก่อน แต่คาดว่าจะเป็นไปในระยะสั้น เพราะแนวโน้มสินค้ายางพาราช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปริมาณความต้องการใช้และผลผลิตใกล้เคียงกันมาโดยตลอด
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยระหว่างการเสวนาเรื่อง “ทางรอดส่งออกไทยภายใต้วิกฤตอียู” จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ วานนี้ (11ก.ค.) ว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกลุ่มประเทศยุโรปกว่าจะฟื้นตัวได้ น่าจะเป็นช่วงไตรมาส 4 ของปี 2556 ซึ่งจะทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ อาจไม่ได้ตามเป้าที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ 15% มูลค่า 263,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่จะได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอย่างเก่งการส่งออกน่าจะโตได้เพียงแค่ 10%
ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยการอัดฉีดเงินให้ผู้ส่งออกที่ขาดสภาพคล่องจากผู้ซื้อปลายทางขอขยายเวลาการชำระค่าสินค้า พิจารณาแก้ไขกฎระเบียบภาษีต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการส่งออกให้ขั้นตอนกระชับขึ้น และรัฐบาลต้องเร่งผลักดันการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ให้ได้โดยเร็วที่สุด เพราะมีแนวโน้มที่สินค้าไทยหลายรายการจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากอียูในปี 2556
ส่วนการปรับตัวของผู้ส่งออกประการ จะต้องหาทางลดค่าใช้จ่าย หาตลาดใหม่ และสรรหาสินค้าใหม่ที่ตรงกับความต้องการตลาด และเน้นการให้บริการลูกค้า เช่น การสร้างความมั่นใจว่าสามารถส่งออกได้ตามกำหนดเวลา เป็นต้น
นอกจากนี้ เอกชนยังมีความเป็นห่วงว่าค่าเงินบาท และค่าเงินในภูมิภาคจะผันผวน หากสหรัฐฯ ต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE 3 ซึ่งจะทำให้เงินทุนไหลเข้ามาในเอเชียจำนวนมาก ส่งผลทำให้ค่าเงินผันผวน แต่เชื่อว่าหากค่าเงินบาทไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินของภูมิภาค หรือไม่ผันผวนมากจนเกินไป ก็จะไม่กระทบต่อการส่งออกมาก แต่ผู้ส่งออกเองต้องระมัดระวังและจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ป้องกันและประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
นายสมพร จิตเป็นธม รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพี่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตา คือ สหรัฐฯ มีแนวโน้มจะออกมาตรการ QE 3มาพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคและไทย ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ จึงอยากเตือนผู้ส่งออกอย่าเก็งกำไรจากค่าเงิน แต่ให้คาดหวังจากกำไรจากการค้าขายสินค้ามากกว่า เพราะหากเก็งกำไรค่าเงิน เมื่อเกิดความผิดพลาดก็จะทำให้ธุรกิจถึงขั้นล้มได้ สิ่งที่ดีที่สุด คือ การประเมินกำไรว่าค่าเงินเท่าใดที่จะเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง และประกันความเสี่ยงเพื่อลดตัวแปรที่จะกระทบเศรษฐกิจ
นายสมชาย พรจินดารักษ์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า ผลกระทบจากวิกฤตยุโรปทำให้อุตสาหกรรมประสบปัญหา ผู้ส่งออกส่งออกสินค้าไปแล้วไม่ได้รับการชำระเงิน ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงยังขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลให้ผู้ส่งออกขนาดกลางและเล็ก (SMEs) มีโอกาสเลิกกิจการ
นายหลักชัย กิตติพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สินค้ายางพาราได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรป เพราะยอดการส่งออกที่ลดลง ตามความต้องการซื้อที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้ารถยนต์ลดลง ทำให้ราคายางตกต่ำ เบื้องต้นรัฐบาลต้องนำเงินเข้ามาอัดฉีดเพื่อดึงผลผลิตยางออกจากตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าปริมาณผลผลิตยาง กับปริมาณความต้องการใช้สอดคล้องกัน ก็จะช่วยให้ราคายางพาราปรับตัวดีขึ้นในที่สุด ซึ่งวิธีการนี้ยอมรับว่าจะต้องใช้เงินเข้ามาซื้อยางไปก่อน แต่คาดว่าจะเป็นไปในระยะสั้น เพราะแนวโน้มสินค้ายางพาราช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปริมาณความต้องการใช้และผลผลิตใกล้เคียงกันมาโดยตลอด