“สุขุมพันธุ์” สั่งฝ่ายกฎหมายรวบรวมหลักฐาน ฟ้องดีเอสไอ ฐานปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบธรรม หลัง กทม.พยายามชี้แจงข้อเท็จจริงการว่าจ้างบีทีเอสเดินรถไฟฟ้า แต่ทำมึน และให้ข่าวแง่ลบกับ กทม.
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษา นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.สั่งการให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมข้อมูลรายละเอียดข้อเท็จจริงกรณีทำสัญญาเดินรถไฟฟ้า กับ บริษัท ระบบส่งขนมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี เพื่อฟ้องร้องกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม ตามมาตรา 157 ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายหลังที่ผ่านมา กทม.ได้ชี้แจงรายละเอียดกับ 12 หน่วยงาน แต่มีแค่ดีเอสไอเท่านั้น ที่พยายามไม่เข้าใจ และให้ข่าวเป็นลบกับ กทม.รวมทั้งแถลงข่าวทั้งที่ยังไม่ได้ข้อมูลมาโดยตลอด
นายอัศวัชร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.จะเตรียมคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งคณะปฏิวัติ 58 และ พ.ร.บ.ร่วมทุนของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อปี 2555, 2535, 2546 และ 2550 ให้คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้รับทราบ โดยจะส่งไปรษณีย์ถึง กคพ.ฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่และคณะกรรมการทั้งหมดทุกคน ให้ทราบข้อเท็จจริงก่อนการประชุมอีกครั้ง เพื่อให้พิจารณาคดีด้วยความรอบคอบและเที่ยงธรรมด้วย ทั้งนี้ กทม.เคารพสิทธิเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด แต่ กทม.ต้องขอใช้สิทธิตามกฎหมาย เนื่องจากเมื่อปี 2549 กคพ.เคยถูกร้องเรียนกรณีรับเรื่องที่ กคพ.ไม่มีอำนาจมาแล้วเช่นกัน
“ดีเอสไอมีความพยายามจะผลักดันเรื่องบีทีเอสให้เป็นคดีพิเศษให้ได้ สิ่งที่ กทม.กลัวคือ การใช้อำนาจแบบไม่เป็นธรรมให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณา อาจจะสร้างความเสื่อมเสียขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม และนำไปสู่ความรับผิดชอบทางกฎหมายได้” นายอัศวัชร์ กล่าว
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษา นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.สั่งการให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมข้อมูลรายละเอียดข้อเท็จจริงกรณีทำสัญญาเดินรถไฟฟ้า กับ บริษัท ระบบส่งขนมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี เพื่อฟ้องร้องกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม ตามมาตรา 157 ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายหลังที่ผ่านมา กทม.ได้ชี้แจงรายละเอียดกับ 12 หน่วยงาน แต่มีแค่ดีเอสไอเท่านั้น ที่พยายามไม่เข้าใจ และให้ข่าวเป็นลบกับ กทม.รวมทั้งแถลงข่าวทั้งที่ยังไม่ได้ข้อมูลมาโดยตลอด
นายอัศวัชร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.จะเตรียมคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งคณะปฏิวัติ 58 และ พ.ร.บ.ร่วมทุนของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อปี 2555, 2535, 2546 และ 2550 ให้คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้รับทราบ โดยจะส่งไปรษณีย์ถึง กคพ.ฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่และคณะกรรมการทั้งหมดทุกคน ให้ทราบข้อเท็จจริงก่อนการประชุมอีกครั้ง เพื่อให้พิจารณาคดีด้วยความรอบคอบและเที่ยงธรรมด้วย ทั้งนี้ กทม.เคารพสิทธิเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด แต่ กทม.ต้องขอใช้สิทธิตามกฎหมาย เนื่องจากเมื่อปี 2549 กคพ.เคยถูกร้องเรียนกรณีรับเรื่องที่ กคพ.ไม่มีอำนาจมาแล้วเช่นกัน
“ดีเอสไอมีความพยายามจะผลักดันเรื่องบีทีเอสให้เป็นคดีพิเศษให้ได้ สิ่งที่ กทม.กลัวคือ การใช้อำนาจแบบไม่เป็นธรรมให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณา อาจจะสร้างความเสื่อมเสียขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม และนำไปสู่ความรับผิดชอบทางกฎหมายได้” นายอัศวัชร์ กล่าว