xs
xsm
sm
md
lg

หญิงไทยกว่า 73% เข้าไม่ถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสิทธิสตรี ภาคสังคมหวั่น การเมืองแทรกแซง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
ชำแหละ “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี”เผยหญิง 73.2% ยังเข้าไม่ถึง กว่า 98% อยากเห็นความโปร่งใส ด้าน “นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชน” หวั่นถูกการเมืองแทรกแซง ขณะที่ พม.ยืนยัน นโยบายนี้ตอบโจทย์ต้องการพัฒนาศักยภาพสตรี ย้ำรัฐไม่ครอบงำ

วันนี้ (22 มี.ค.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล  กล่าวในเวทีสัมมนา “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี : สิ่งที่อยากเห็นและสิ่งที่อยากให้เป็น” จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่โรงแรมปริ๊นซ์ตั้น ปาร์ค สวิท ว่า จากการสำรวจความคิดเห็นต่อกรณี “การจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” ในพื้นที่ 10 จังหวัด ทั้ง 4 ภูมิภาคจากกลุ่มตัวอย่าง1,000 ราย แบ่งเป็นเพศหญิง 71% เพศชาย 29% อายุระหว่าง 15-61 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 70.7 % ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มผู้หญิง 52.6% ต้องการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ อีก 47.4% ไม่ต้องการสมัคร แต่ที่น่าห่วงคือกลุ่มตัวอย่าง 73.2 % ยังไม่มีข้อมูลและยังไม่ทราบถึงวิธีและการขอสนับสนุนงบประมาณ  

นายจะเด็จกล่าวด้วยว่า กลุ่มตัวอย่างมากถึง 98% ต้องการให้กองทุนเกิดการตรวจสอบ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการ หรือองค์กรกลางตรวจสอบ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างยังเห็นด้วยหากมีเครือข่ายสตรีเข้าไปเป็นคณะกรรมการกองทุนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และอยากเห็นว่ากองทุนนี้จะสามารถพิทักษ์และคุ้มครองสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรง รองลงมาสามารถพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่สตรี  รวมถึงสามารถลดผลกระทบจากอบายมุข โดยเฉพาะเหล้า บุหรี่ การพนัน นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวจะทำให้เกิดการรณรงค์ให้สังคมเข้าใจเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ อย่างไรก็ตาม ตนหวังว่ากองทุนนี้จะเข้าไปเสริมพลังให้กับผู้หญิง เกิดเป็นพื้นที่แก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย ทำให้บทบาทสถานภาพของสตรีดีขึ้น ซึ่งคงต้องแก้ไขที่โจทย์หลัก ให้เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ
 

น.ส.วันเพ็ญ   สุวรรณวิสิฏฐ์   ผอ.สำนักส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงโครงสร้างของกองทุนฯว่า รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณก้อนแรกจำนวน 7,700 ล้านบาท เพื่อให้สมาชิกองทุนฯมีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ยในการพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพสตรีช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่มีปัญหา ซึ่งขณะนี้ได้มีการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนฯที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เปิดรับสมัครไปจนถึงวันที่ 30 มี.ค.55 ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ หรือสมัครผ่านเว็บไซต์womenfund.thaigov.go.th   ทั้งนี้ เราจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย เพื่อความเหมาะสมในการจัดตั้งกองทุนฯคาดว่าประมาณเดือน มิ.ย. 2555 กระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากองทุนจะช่วยสร้างโอกาสและตอบโจทย์ให้กับสตรี เพราะนอกจากจะสร้างและพัฒนาศักยภาพของตนเองแล้ว ยังสามารถพัฒนาสังคมได้ด้วย ซึ่งสอดรับกับความต้องการของสตรี และกองทุนนี้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ยืนยันว่ารัฐบาลมีหน้าที่เพื่อสนับสนุน แต่จะไม่เข้าไปครองงำกองทุนแน่นอน

น.ส.อรุณี  ศรีโต  นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า ตนอยากให้ผู้หญิงทุกคนคิดว่ากองทุนพัฒนาสตรี จังหวัดละ100 ล้านบาท ไม่ใช่เงินรัฐบาลที่ให้มาฟรีๆ แต่อยากให้คิดว่า เป็นเงินที่มาจากภาษีของคนไทยทั้งประเทศ แล้วเมื่อได้เงินมาแล้ว ต้องต่อยอดให้งอกเงยเข้าถึงกลุ่มสตรีที่ต้องการรับความช่วยเหลือจริงๆ เช่น ผู้หญิงที่ตกงาน คนพิการ หรือการสร้างอาชีพสำหรับกลุ่มแม่บ้าน และรัฐบาลก็ไม่ควรนำเรื่องนี้เป็นเครื่องมือในการหาเสียง  อย่างไรก็ตาม อย่างเห็นกองทุนนี้มีความยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันเองในชุมชน ชาวบ้านเข้าถึงได้จริง เพราะที่ผ่านมาประชาชนส่วนมากไม่สามารถเข้าถึงกองทุนต่างๆได้ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้             
            "สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดและตำบล ยังหวั่นว่าจะถูกแทรกแซงจากกลุ่มการเมืองท้องถิ่น หรือมีนอมินี ทำให้ได้คนที่ไม่มีความสามารถหรือได้กลุ่มคนที่อยากมีชื่อเสียงแต่ทำงานไม่เป็นเข้ามาดูแลแทน ซึ่งจะส่งผลให้เงินกองทุนหรือผลประโยชน์ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง" น.ส.   อรุณี กล่าว
            น.ส.อรุณีกล่าวอีกว่า  รัฐบาลไม่ควรเร่งรีบอนุมัติโครงการกองทุนสตรี แต่ควรยืดเวลาออกไปอีกประมาณ 6เดือน หรือมากกว่านั้น เพื่อให้กองทุนฯ มี พ.ร.บ. ออกมารองรับ และต้องมีการเตรียมความพร้อมเรื่องข้อมูลความถูกต้องชัดเจนด้านประชากรหญิงในประเทศไทย ซึ่งต้องข้อมูลที่ทันสมัยหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด เพราะเท่าที่ทราบ ยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่จะเข้ามารับผิดชอบโดยตรง ทุกวันนี้ยังแยกเป็นกระทรวงต่างๆ เข้ามาจัดการในแต่ละเรื่อง และสิ่งสำคัญที่จะทำให้กองทุนพัฒนาสตรีมีความยั่งยืนได้ จะต้องมีการบริหารจัดการกอ
กำลังโหลดความคิดเห็น