ธีรยุทธ บุญมี หายไป 2 ปีกว่า พอเขาประกาศออกมาว่า จะออกมาวิเคราะห์สถานการการเมืองไทยหลายคนจึงเงี่ยหูฟัง ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้กระทรวงศึกษาธิการเพิ่งจะประกาศตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ใหม่ จำนวน 30 กว่าคน และธีรยุทธก็เป็นหนึ่งในนั้น เพียงแต่ประหลาดกว่าคนอื่นตรงเฉพาะท้ายนามของธีรยุทธ บุญมีมีวงเล็บไว้ด้วยว่า “ด้วยวิธีพิเศษ”
ดังนั้นการออกมาครั้งนี้จึงเป็นการฉลองตำแหน่ง “ศาสตราจารย์ (ด้วยวิธีพิเศษ)” ของธีรยุทธก็ว่าได้
ถ้าอ่านสิ่งที่ศาสตราจารย์ (ด้วยวิธีพิเศษ) ธีรยุทธ นำเสนอสรุปได้สั้นๆ ว่า เพราะชนชั้นรากหญ้าถูกกดขี่มานาน เมื่อมีโอกาสฝ่ายรากหญ้าจึงย้อนเอาอำนาจ รายได้ ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ ความยุติธรรมกลับคืน เพราะทักษิณเสนอผลประโยชน์ให้มากกว่า และเวลานี้ฝ่ายอนุรักษ์ซึ่งผมคิดว่าธีรยุทธหมายถึง “อำมาตย์” ในวาทกรรมของแกนนำแดงนั่นแหละกำลังตีบตัน เพราะฝ่ายที่มีอำนาจนั้นมีความก้าวหน้ามากกว่า มีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงกว่า และสุดท้ายฝ่ายอนุรักษ์จะพ่ายแพ้
ตอนหนึ่งธีรยุทธบอกว่า เมื่อรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม จึงเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลายๆ ด้านฝังลึกอยู่ เนื่องจากทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร ชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น ส่วนชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ จึงตำหนิชาวบ้านเต็มที่ไม่ได้ เมื่อประเทศต้องการให้มาลงคะแนนเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตย พวกเขาจึงถือเป็นอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขายเสียง ขอโครงการเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านตื้นตันใจกับทักษิณที่ใช้ประชานิยมผันเอาเงินของรัฐไปช่วยชาวบ้านอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้ตัวเองจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่สตางค์แดงเดียวก็ตาม
และสรุปเอาว่า การเกิดขึ้นของการเมืองรากหญ้าจึงเสมือนเป็นกระบวนการย้อนกลับที่จะดึงเอาอำนาจ ความมั่งคั่ง ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ กลับคืนสู่ชนบท จะเป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดผลยั่งยืนแก่ประชาธิปไตย ถ้ากระบวนการนี้ยั่งยืน แล้วสร้างความเป็นธรรมในที่สุด
กลายเป็นธีรยุทธ เอาปัญหาโครงสร้างของสังคมไทยมาบวกกับการมาของทักษิณกลายเป็นทางออกของประชาธิปไตยที่ยั่งยืน (ปัญหาโครงสร้างของสังคมไทย+ทักษิณ=ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน) ซึ่งผมว่า เป็นเรื่องที่ตลกมาก
ธีรยุทธบอกว่า ประวัติศาสตร์ของไทยนั้นละทิ้งประวัติศาสตร์ของคนธรรมดา มุ่งเน้นแต่ประวัติศาสตร์แบบกษัตริย์นิยมเป็นราชการ สร้างอุดมการณ์แบบนิยมกษัตริย์ ทหารเน้นอุดมการณ์ความมั่นคง ทำให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีพระราชอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นการย้อนยุค สถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและโลกยุคข่าวสารได้ยั่งยืน ก็ต้องเป็นสถาบันที่มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง
คำพูดของธีรยุทธนั้นสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการทำให้สถาบันกษัตริย์เป็น “สัญลักษณ์” อย่างไม่ต้องสงสัย และอธิบายให้เห็นว่า อุดมการณ์แบบกษัตริย์นิยมนี่เองเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นที่มาก็ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การเกิดความไม่เท่าเทียมกัน และการทำให้ประชาชนชั้นล่างไม่มีศักดิ์ศรี
คำถามว่า ระบอบทักษิณและการทำให้ชาวบ้านหลงใหลในนโยบายประชานิยมสามารถนำพาสังคมไทยหลุดพ้นจากโครงสร้างที่ธีรยุทธบอกว่ารวมศูนย์ปกครองแบบเบ็ดเสร็จและชาวบ้านถูกกดทับเหลื่อมล้ำจากผู้ปกครองส่วนกลางจริงๆ หรือ
เพราะพอสรุปช่วงท้ายธีรยุทธกลับบอกว่า ทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอมากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย อุดมการณ์การเมืองที่มีความสามารถชี้ทางออกที่เหมาะสมให้สังคมไทย
และตอนหนึ่งบอกว่า นักเศรษฐศาสตร์สำคัญทั่วโลกล้วนสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะมีส่วนดีในหลายด้าน แต่ก็ล้มเหลวในที่สุดในทุกประเทศที่เคยใช้มา
ศาสตราจารย์ (ด้วยวิธีพิเศษ) ธีรยุทธ บอกว่า การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยม กับศูนย์อำนาจรากหญ้า
พูดโดยสรุปก็คือ ธีรยุทธ กำลังบอกว่า ฝ่ายศูนย์อำนาจรากหญ้า คือ ทักษิณ
คำถามว่า รากหญ้ามีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองเช่นนั้นหรือ คำตอบผมว่า ไม่ใช่นะครับ และเมื่อฝ่ายทักษิณมีอำนาจแปลว่า รากหญ้ามีอำนาจหรือ คำตอบก็คงไม่ใช่เช่นกัน
เห็นก็เพียงแต่ว่า รากหญ้าถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสู่อำนาจเท่านั้น แล้วมันควรเรียกว่า ศูนย์อำนาจรากหญ้าไหม หรือจริงแล้ว มันเป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจของนักการเมืองสองฝ่ายเท่านั้นเอง
แล้วจะไปเรียกฝ่ายที่มีอำนาจรัฐในตอนนี้ว่า ศูนย์อำนาจรากหญ้าได้อย่างไร
เพราะถ้าย้อนไปมองที่ธีรยุทธบอกว่า รากเหง้าวิกฤตของปัญหาประเทศเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป จนศูนย์กลางเอาไม่อยู่ กล่าวคือ รัฐเชิดชูความเป็นส่วนกลาง และกดเหยียดความเป็นอยู่เดิมทำให้เกิดความไม่เหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลายๆ ด้านยังฝังลึก ทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร กระทั่งชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น ขณะที่ชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ ทั้งนี้ ความไม่ชอบธรรมเนื่องจากการรวมศูนย์มากเกินไป ส่งผลในทุกมิติ เช่น ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ คุณภาพชีวิต อำนาจในการใช้ทรัพยากรพื้นฐาน สุขอนามัย ประวัติศาสตร์ความภาคภูมิใจ ภาษาขนบธรรมเนียมท้องถิ่นหายไป
ซึ่งสิ่งที่ธีรยุทธพูดสะท้อนว่า ปัญหามันอยู่ที่โครงสร้างในเชิงบริหารระบบราชการ ไม่ว่าฝ่ายไหนเข้ามาก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ ต้องตอบให้ได้ว่า เมื่อฝ่ายทักษิณเข้ามามีอำนาจมันเป็นทางออกสู่การแก้รากเหง้าวิกฤตของประเทศไหม หรือจริงๆ ก็คือส่วนหนึ่งของปัญหานั้น
นี่แหละที่ผมว่ามันมีปัญหาในการแบ่งแยก 2 ศูนย์อำนาจของธีรยุทธ เพราะแท้จริงแล้วมันเป็นเพียง “ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยม” และ “ศูนย์อำนาจฝ่ายทุนนิยม” เท่านั้นเอง โดยมีประชาชนทุกฝ่ายไม่ว่า “เหลือง” หรือ “แดง” เป็นเหยื่อ
ไม่นั้นสิ่งที่ธีรยุทธกำลังอธิบายเรื่องรากเหง้าปัญหาของประเทศมันจะขัดแย้งกันอยู่ในตัว และผิดฝาผิดตัวไป และชวนให้สรุปได้ว่า ประชาธิปไตย (การเลือกตั้ง) เท่านั้นคือทางออก
สิ่งที่ธีรยุทธนำเสนอนั้นมีอะไรหลายอย่างที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวหรืออาจจะมีหลายอย่างที่ทำให้เขาไม่กล้าพูดตรงๆ เพราะผมจับใจความได้ว่า เขาพยายามพูดถึงระบอบกษัตริย์นิยมที่ปลูกฝังในสังคมไทยกับระบอบประชานิยมของทักษิณ
และสิ่งที่สัมผัสได้ก็คือ ธีรยุทธพยายามบอกว่า ความคิดของฝ่ายที่ปลูกฝังอยู่เรื่องชาติและกษัตริย์ ความมั่นคง คุณธรรมและศีลธรรมที่เป็นนามธรรมว่าเป็นพวกล้าหลัง แต่ประชาธิปไตยที่กินได้ที่ทักษิณยื่นให้รากหญ้าเป็นฝ่ายก้าวหน้า
ดังนั้นการออกมาครั้งนี้จึงเป็นการฉลองตำแหน่ง “ศาสตราจารย์ (ด้วยวิธีพิเศษ)” ของธีรยุทธก็ว่าได้
ถ้าอ่านสิ่งที่ศาสตราจารย์ (ด้วยวิธีพิเศษ) ธีรยุทธ นำเสนอสรุปได้สั้นๆ ว่า เพราะชนชั้นรากหญ้าถูกกดขี่มานาน เมื่อมีโอกาสฝ่ายรากหญ้าจึงย้อนเอาอำนาจ รายได้ ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ ความยุติธรรมกลับคืน เพราะทักษิณเสนอผลประโยชน์ให้มากกว่า และเวลานี้ฝ่ายอนุรักษ์ซึ่งผมคิดว่าธีรยุทธหมายถึง “อำมาตย์” ในวาทกรรมของแกนนำแดงนั่นแหละกำลังตีบตัน เพราะฝ่ายที่มีอำนาจนั้นมีความก้าวหน้ามากกว่า มีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงกว่า และสุดท้ายฝ่ายอนุรักษ์จะพ่ายแพ้
ตอนหนึ่งธีรยุทธบอกว่า เมื่อรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม จึงเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลายๆ ด้านฝังลึกอยู่ เนื่องจากทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร ชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น ส่วนชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ จึงตำหนิชาวบ้านเต็มที่ไม่ได้ เมื่อประเทศต้องการให้มาลงคะแนนเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตย พวกเขาจึงถือเป็นอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขายเสียง ขอโครงการเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านตื้นตันใจกับทักษิณที่ใช้ประชานิยมผันเอาเงินของรัฐไปช่วยชาวบ้านอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้ตัวเองจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่สตางค์แดงเดียวก็ตาม
และสรุปเอาว่า การเกิดขึ้นของการเมืองรากหญ้าจึงเสมือนเป็นกระบวนการย้อนกลับที่จะดึงเอาอำนาจ ความมั่งคั่ง ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ กลับคืนสู่ชนบท จะเป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดผลยั่งยืนแก่ประชาธิปไตย ถ้ากระบวนการนี้ยั่งยืน แล้วสร้างความเป็นธรรมในที่สุด
กลายเป็นธีรยุทธ เอาปัญหาโครงสร้างของสังคมไทยมาบวกกับการมาของทักษิณกลายเป็นทางออกของประชาธิปไตยที่ยั่งยืน (ปัญหาโครงสร้างของสังคมไทย+ทักษิณ=ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน) ซึ่งผมว่า เป็นเรื่องที่ตลกมาก
ธีรยุทธบอกว่า ประวัติศาสตร์ของไทยนั้นละทิ้งประวัติศาสตร์ของคนธรรมดา มุ่งเน้นแต่ประวัติศาสตร์แบบกษัตริย์นิยมเป็นราชการ สร้างอุดมการณ์แบบนิยมกษัตริย์ ทหารเน้นอุดมการณ์ความมั่นคง ทำให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีพระราชอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นการย้อนยุค สถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและโลกยุคข่าวสารได้ยั่งยืน ก็ต้องเป็นสถาบันที่มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง
คำพูดของธีรยุทธนั้นสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการทำให้สถาบันกษัตริย์เป็น “สัญลักษณ์” อย่างไม่ต้องสงสัย และอธิบายให้เห็นว่า อุดมการณ์แบบกษัตริย์นิยมนี่เองเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นที่มาก็ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การเกิดความไม่เท่าเทียมกัน และการทำให้ประชาชนชั้นล่างไม่มีศักดิ์ศรี
คำถามว่า ระบอบทักษิณและการทำให้ชาวบ้านหลงใหลในนโยบายประชานิยมสามารถนำพาสังคมไทยหลุดพ้นจากโครงสร้างที่ธีรยุทธบอกว่ารวมศูนย์ปกครองแบบเบ็ดเสร็จและชาวบ้านถูกกดทับเหลื่อมล้ำจากผู้ปกครองส่วนกลางจริงๆ หรือ
เพราะพอสรุปช่วงท้ายธีรยุทธกลับบอกว่า ทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอมากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย อุดมการณ์การเมืองที่มีความสามารถชี้ทางออกที่เหมาะสมให้สังคมไทย
และตอนหนึ่งบอกว่า นักเศรษฐศาสตร์สำคัญทั่วโลกล้วนสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะมีส่วนดีในหลายด้าน แต่ก็ล้มเหลวในที่สุดในทุกประเทศที่เคยใช้มา
ศาสตราจารย์ (ด้วยวิธีพิเศษ) ธีรยุทธ บอกว่า การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยม กับศูนย์อำนาจรากหญ้า
พูดโดยสรุปก็คือ ธีรยุทธ กำลังบอกว่า ฝ่ายศูนย์อำนาจรากหญ้า คือ ทักษิณ
คำถามว่า รากหญ้ามีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองเช่นนั้นหรือ คำตอบผมว่า ไม่ใช่นะครับ และเมื่อฝ่ายทักษิณมีอำนาจแปลว่า รากหญ้ามีอำนาจหรือ คำตอบก็คงไม่ใช่เช่นกัน
เห็นก็เพียงแต่ว่า รากหญ้าถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสู่อำนาจเท่านั้น แล้วมันควรเรียกว่า ศูนย์อำนาจรากหญ้าไหม หรือจริงแล้ว มันเป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจของนักการเมืองสองฝ่ายเท่านั้นเอง
แล้วจะไปเรียกฝ่ายที่มีอำนาจรัฐในตอนนี้ว่า ศูนย์อำนาจรากหญ้าได้อย่างไร
เพราะถ้าย้อนไปมองที่ธีรยุทธบอกว่า รากเหง้าวิกฤตของปัญหาประเทศเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป จนศูนย์กลางเอาไม่อยู่ กล่าวคือ รัฐเชิดชูความเป็นส่วนกลาง และกดเหยียดความเป็นอยู่เดิมทำให้เกิดความไม่เหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลายๆ ด้านยังฝังลึก ทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร กระทั่งชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น ขณะที่ชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ ทั้งนี้ ความไม่ชอบธรรมเนื่องจากการรวมศูนย์มากเกินไป ส่งผลในทุกมิติ เช่น ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ คุณภาพชีวิต อำนาจในการใช้ทรัพยากรพื้นฐาน สุขอนามัย ประวัติศาสตร์ความภาคภูมิใจ ภาษาขนบธรรมเนียมท้องถิ่นหายไป
ซึ่งสิ่งที่ธีรยุทธพูดสะท้อนว่า ปัญหามันอยู่ที่โครงสร้างในเชิงบริหารระบบราชการ ไม่ว่าฝ่ายไหนเข้ามาก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ ต้องตอบให้ได้ว่า เมื่อฝ่ายทักษิณเข้ามามีอำนาจมันเป็นทางออกสู่การแก้รากเหง้าวิกฤตของประเทศไหม หรือจริงๆ ก็คือส่วนหนึ่งของปัญหานั้น
นี่แหละที่ผมว่ามันมีปัญหาในการแบ่งแยก 2 ศูนย์อำนาจของธีรยุทธ เพราะแท้จริงแล้วมันเป็นเพียง “ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยม” และ “ศูนย์อำนาจฝ่ายทุนนิยม” เท่านั้นเอง โดยมีประชาชนทุกฝ่ายไม่ว่า “เหลือง” หรือ “แดง” เป็นเหยื่อ
ไม่นั้นสิ่งที่ธีรยุทธกำลังอธิบายเรื่องรากเหง้าปัญหาของประเทศมันจะขัดแย้งกันอยู่ในตัว และผิดฝาผิดตัวไป และชวนให้สรุปได้ว่า ประชาธิปไตย (การเลือกตั้ง) เท่านั้นคือทางออก
สิ่งที่ธีรยุทธนำเสนอนั้นมีอะไรหลายอย่างที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวหรืออาจจะมีหลายอย่างที่ทำให้เขาไม่กล้าพูดตรงๆ เพราะผมจับใจความได้ว่า เขาพยายามพูดถึงระบอบกษัตริย์นิยมที่ปลูกฝังในสังคมไทยกับระบอบประชานิยมของทักษิณ
และสิ่งที่สัมผัสได้ก็คือ ธีรยุทธพยายามบอกว่า ความคิดของฝ่ายที่ปลูกฝังอยู่เรื่องชาติและกษัตริย์ ความมั่นคง คุณธรรมและศีลธรรมที่เป็นนามธรรมว่าเป็นพวกล้าหลัง แต่ประชาธิปไตยที่กินได้ที่ทักษิณยื่นให้รากหญ้าเป็นฝ่ายก้าวหน้า