“สุขุมพันธุ์” สั่งเขตคลองเตย แจ้งความเอาผิดเจ้าของโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว แอบดัดแปลงอาคารจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต พร้อมออกมาตรการ 6 ข้อตรวจสอบอาคารสูง
วันนี้ (12 มี.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.กรณีเพลิงไหม้อาคารโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย ทำให้มีผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2555 ว่า ภายหลังการตรวจสถานที่เกิดเหตุ พบว่า โรงแรมดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนที่เป็นอาคารจอดรถยนต์ ให้เป็นห้องจัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งในวันนี้ สำนักงานเขตคลองเตย ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของอาคาร กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ จากเหตุดังกล่าวที่ประชุมคณะผู้บริหารมีมติให้ขอความร่วมมือกับเอกชนที่มีอาคารสูงที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ.2535 รวมทั้งมีมาตรการความปลอดภัย โดยเฉพาะการติดตั้งสปริงเกอร์ ซึ่ง กทม.จะประสานประกันภัยในการให้สินเชื่อระยะสั้นให้กับผู้ที่ต้องการปรับปรุงอาคาร โดยเฉพาะการติดตั้งสปริงเกอร์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สำนักการโยธา (สนย.) กทม.ได้กำหนดมาตรการ 6 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัยของอาคารสูง ได้แก่ 1.การจัดทำฐานข้อมูลอาคาร 9 ประเภทที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบ อาทิ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ ซึ่งปัจจุบันอาคาร 9 ประเภทใน กทม.มีจำนวนเกินกว่า 10,000 อาคาร 2.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบอาคารทั้ง 9 ประเภท ทั้ง 50 สำนักงานเขต โดยจะเริ่มดำเนินการตรวจสอบอาคาร 15 มี.ค.นี้ และรายงานผลการปฏิบัติงานทุก 7 วัน ทั้งนี้ กทม.กำหนดให้ดำเนินการตรวจสอบอาคารให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือน เม.ย.3.สำหรับอาคารที่ยังไม่ได้ยื่นตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารตามกฎกระทรวงนั้น ให้เจ้าของอาคารจัดหาผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทำการตรวจสอบพร้อมรายงานผล ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วกว่า 2,700 ราย ตรวจสอบรายชื่อได้ทางเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง 4.ตรวจสอบเอกสารการขออนุญาตก่อสร้างอาคารที่ยื่นไว้แล้วเพื่อถูกต้องหรือไม่ เพื่อออกใบรับรองความถูกต้องของอาคาร 5.สำนักการโยธา กทม.แจ้งเตือนให้เจ้าของอาคารส่งรายงานการตรวจสอบอาคาร 6.หากเจ้าของอาคารไม่ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ให้สำนักงานเขตแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของอาคารที่ไม่ยื่นรายงานการตรวจสอบอาคารต่อไป
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.ได้ประสานสภา กทม.เพื่อจัดทำร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเสริมความปลอดภัยในอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงบทกำหนดโทษกรณีฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติดังกล่าว ขณะเดียวกัน สภา กทม.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาและติดตามและตรวจสอบมาตรการควบคุมความปลอดภัยอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพในกรุงเทพมหานคร โดยจะเริ่มประชุมครั้งแรกในวันที่ 13 มี.ค.2555 เวลา 11.00 น.อีกทั้ง กทม.จะประสานกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อแก้ไขกฎกระทรวงเรื่องการเสริมความปลอดภัยในอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ได้รับอนุญาตก่อนกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พ.ศ.2535 ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วย
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า การเกิดเพลิงไหม้โรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว นั้น คงไม่ได้เป็นความผิดของสำนักงานเขตที่ไม่ได้เข้าไปตรวจสอบเพราะมีการดัดแปลงอาคารแต่ไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งเจ้าของอาคารต้องรับผิดชอบ โดยในอดีตการสั่งให้เจ้าของอาคารกลับไปแก้ไขปรับปรุงนั้นไม่ได้กำหนดระยะเวลา ทำให้ไม่มีบทลงโทษตามกฎหมายซึ่งถือเป็นช่องโหว่ของกฎหมาย ดังนั้น ตอนนี้จะต้องใช้กฎหมายอื่น คือ ฐานความผิดที่ละเมิดคำสั่งเจ้าพนักงานในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน โดย กทม. จะต้องออกข้อบัญญัติในการกำหนดโทษ อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 25 ต.ค. 2555 นี้ อาคารทุกประเภทจะต้องได้รับการตรวจสอบ และมีใบอนุญาต ร.1 มิเช่นนั้นก็จะต้องถูกดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ขณะที่นางวิภารัตน์ ไชยานุกิจ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย กล่าวว่า ขณะนี้รอสำนักการโยธา รวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของอาคาร ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และคาดว่า ในวันนี้จะเดินทางไปแจ้งความทันที หลังจากได้รับเอกสาร
วันนี้ (12 มี.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.กรณีเพลิงไหม้อาคารโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย ทำให้มีผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2555 ว่า ภายหลังการตรวจสถานที่เกิดเหตุ พบว่า โรงแรมดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนที่เป็นอาคารจอดรถยนต์ ให้เป็นห้องจัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งในวันนี้ สำนักงานเขตคลองเตย ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของอาคาร กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ จากเหตุดังกล่าวที่ประชุมคณะผู้บริหารมีมติให้ขอความร่วมมือกับเอกชนที่มีอาคารสูงที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ.2535 รวมทั้งมีมาตรการความปลอดภัย โดยเฉพาะการติดตั้งสปริงเกอร์ ซึ่ง กทม.จะประสานประกันภัยในการให้สินเชื่อระยะสั้นให้กับผู้ที่ต้องการปรับปรุงอาคาร โดยเฉพาะการติดตั้งสปริงเกอร์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สำนักการโยธา (สนย.) กทม.ได้กำหนดมาตรการ 6 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัยของอาคารสูง ได้แก่ 1.การจัดทำฐานข้อมูลอาคาร 9 ประเภทที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบ อาทิ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ ซึ่งปัจจุบันอาคาร 9 ประเภทใน กทม.มีจำนวนเกินกว่า 10,000 อาคาร 2.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบอาคารทั้ง 9 ประเภท ทั้ง 50 สำนักงานเขต โดยจะเริ่มดำเนินการตรวจสอบอาคาร 15 มี.ค.นี้ และรายงานผลการปฏิบัติงานทุก 7 วัน ทั้งนี้ กทม.กำหนดให้ดำเนินการตรวจสอบอาคารให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือน เม.ย.3.สำหรับอาคารที่ยังไม่ได้ยื่นตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารตามกฎกระทรวงนั้น ให้เจ้าของอาคารจัดหาผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทำการตรวจสอบพร้อมรายงานผล ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วกว่า 2,700 ราย ตรวจสอบรายชื่อได้ทางเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง 4.ตรวจสอบเอกสารการขออนุญาตก่อสร้างอาคารที่ยื่นไว้แล้วเพื่อถูกต้องหรือไม่ เพื่อออกใบรับรองความถูกต้องของอาคาร 5.สำนักการโยธา กทม.แจ้งเตือนให้เจ้าของอาคารส่งรายงานการตรวจสอบอาคาร 6.หากเจ้าของอาคารไม่ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ให้สำนักงานเขตแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของอาคารที่ไม่ยื่นรายงานการตรวจสอบอาคารต่อไป
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.ได้ประสานสภา กทม.เพื่อจัดทำร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเสริมความปลอดภัยในอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงบทกำหนดโทษกรณีฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติดังกล่าว ขณะเดียวกัน สภา กทม.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาและติดตามและตรวจสอบมาตรการควบคุมความปลอดภัยอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพในกรุงเทพมหานคร โดยจะเริ่มประชุมครั้งแรกในวันที่ 13 มี.ค.2555 เวลา 11.00 น.อีกทั้ง กทม.จะประสานกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อแก้ไขกฎกระทรวงเรื่องการเสริมความปลอดภัยในอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ได้รับอนุญาตก่อนกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พ.ศ.2535 ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วย
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า การเกิดเพลิงไหม้โรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว นั้น คงไม่ได้เป็นความผิดของสำนักงานเขตที่ไม่ได้เข้าไปตรวจสอบเพราะมีการดัดแปลงอาคารแต่ไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งเจ้าของอาคารต้องรับผิดชอบ โดยในอดีตการสั่งให้เจ้าของอาคารกลับไปแก้ไขปรับปรุงนั้นไม่ได้กำหนดระยะเวลา ทำให้ไม่มีบทลงโทษตามกฎหมายซึ่งถือเป็นช่องโหว่ของกฎหมาย ดังนั้น ตอนนี้จะต้องใช้กฎหมายอื่น คือ ฐานความผิดที่ละเมิดคำสั่งเจ้าพนักงานในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน โดย กทม. จะต้องออกข้อบัญญัติในการกำหนดโทษ อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 25 ต.ค. 2555 นี้ อาคารทุกประเภทจะต้องได้รับการตรวจสอบ และมีใบอนุญาต ร.1 มิเช่นนั้นก็จะต้องถูกดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ขณะที่นางวิภารัตน์ ไชยานุกิจ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย กล่าวว่า ขณะนี้รอสำนักการโยธา รวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของอาคาร ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และคาดว่า ในวันนี้จะเดินทางไปแจ้งความทันที หลังจากได้รับเอกสาร