“ธีระชน” ตั้งข้อสังเกตอาจมีการดัดแปลงห้องจัดเลี้ยงต้นเพลิงโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว โดยไม่ได้รับอนุญาต สั่งสำนักการโยธาเร่งตรวจสอบ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ 4 ฝ่าย 50 ชุดตรวจอาคารขนาดใหญ่ทั้ง 50 เขต และจ้าง Outsource วิศวกร สถาปนิกภายนอกรร่วมตรวจสอบซ้ำ ย้ำชัดๆ เจ้าของอาคารสูงทุกแห่งต้องยื่นใบขออนุญาต แบบก่อสร้างกับสำนักงานเขตก่อน 30 ก.ย.นี้ ก่อน 1 ต.ค.กทม.
วันนี้ (9 มี.ค.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังร่วมกับกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักการโยธา (สนย.) กทม.และสำนักงานเขต ตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้น 5 โรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ ซอยสุขุมวิท 22 เขตคลองเตย ซึ่งเบื้องต้นได้ประกาศห้ามเข้า ห้ามใช้อาคารชั่วคราว แต่ได้อนุญาตผู้เข้าพักอาศัยเข้าเก็บของซึ่งเจ้าของโรงแรมได้ประสานโรงแรมอิมพีเรียล ควีนสปาร์ค ให้เข้าพักชั่วคราว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบอย่างละเอียด โดยล่าสุดมีผู้เสียชีวิต 1 คน เป็นหญิงชาวรัสเซีย เสียชีวิตที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 เมื่อช่วง 04.00 น.ที่ผ่านมา และมีผู้บาดเจ็บ จำนวน 21 คน พักรักษาตัวอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ประกอบด้วย โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 9 ราย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 4 ราย โรงพยาบาลเทพธารินทร์ 5 ราย โรงพยาบาลกลาง 1 ราย และโรงพยาบาลจุฬาฯ 2 ราย
นายธีระชน กล่าวถึงสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ว่า ต้นเพลิงเกิดจากบริเวณชั้น 5 ที่เป็นห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม ซึ่งขณะเกิดเหตุไม่มีการใช้งาน จึงไหม้เฉพาะพรม และอุปกรณ์ตกแต่งห้อง จากการตรวจสอบเบื้องต้นบริเวณดังกล่าวไม่มีสปริงเกอร์และความสูงระหว่างพื้นกับเพดานอยู่ในระดับที่ต่ำมาก อีกทั้งข้างหลังห้องดังกล่าวมีทางเชื่อมที่จอดรถ จึงตั้งข้อสังเกตว่า บริเวณที่เกิดเหตุน่าจะเป็นลานจอดรถและได้มีการดัดแปลงต่อเติมอาคารเป็นห้องจัดเลี้ยงภายหลังใช่หรือไม่ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นเดิมอาคารแห่งนี้ขอจดทะเบียนเป็นอาคารที่พักอาศัย เมื่อปี 2532 และในปี 2536 ได้ขออนุญาตเปิดเป็นโรงแรม ซึ่งตนได้สั่งการให้สำนักการโยธา ตรวจสอบแบบแปลนของอาคารว่าถูกต้องตรงตามที่ได้ยื่นขออนุญาตไว้หรือไม่ และหากตรงตามแบบแปลนจริงเหตุใดจึงไม่มีระบบสปริงเกอร์
นายธีระชน กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีการประชุมแนวดิ่งกับฝ่ายโยธา กทม.และได้ข้อสรุปว่าจะจัดให้มีการจัดชุดตรวจสอบอาคาร ที่ประกอบไปด้วย สำนักการโยธา สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักเทศกิจ และตัวแทนของสำนักงานเขต จำนวน 50 ชุด โดยให้ระบุชื่อคณะกรรมการให้ชัดเจนซึ่ง นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม.ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติงานได้ในสัปดาห์หน้าในการเข้าตรวจสอบอาคารขนาดใหญ่ทุกพื้นที่ 50 เขต ว่า มีจำนวนกี่อาคาร และมีการขออนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่ ทั้งก่อนและหลังการขออนุญาตก่อสร้างปี 2535 หากพบว่าไม่มีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง ก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจจะมีการปรับรายวัน นอกจากนี้ ในส่วนของเจ้าของอาคารสูงที่ก่อสร้างทั้งก่อนและหลังปี 2535 รวมถึงเจ้าของป้ายโฆษณา อาคารมหรสพ จะต้องยื่นใบขออนุญาตและแบบก่อสร้างกับทางสำนักงานเขต เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบ โดยจะต้องยื่นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.2555 จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ กทม.จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ดี ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารปีพ.ศ.2548 ได้มีการผ่อนผันการตรวจสอบอาคารขนาด 2,000-5,000 ตารางเมตรในส่วนของอาคารชุดไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 เพราะฉะนั้นวันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป อาคารทุกประเภทจะต้องได้รับการตรวจสอบ ดังนั้น เบื้องต้นตนเองได้สั่งการให้สำนักการโยธาไปสำรวจทั้งหมดเลยว่าในกทม.มีอาคารขนาดใหญ่ รวมทั้งป้าย และอาคารมหรสพ อาคารชุมนุมคนตามกฎหมายกำหนด 9 ประเภทมีจำนวนเท่าไหร่ที่จะต้องได้รับการตรวจสอบอาคาร จากนั้นขั้นตอนที่ 2 ก็จะไปตรวจสอบใบอนุญาตทั้งหมด ว่า มีการยื่นและไม่ยื่นไม่อนุญาตเท่าไหร่ เพราะรายที่ไม่ยื่นใบอนุญาตก็จะมีโทษตามข้างต้น ดังนั้น เราจะบังคับใช้กฎหมายสำหรับกรณีที่ไม่มีการยื่น ส่วนรายที่ยื่นแล้ว เช่น ตึกนี้มีการยื่นตั้งแต่ปี 2550 แต่ว่าสำนักการโยธาให้มีการแก้ไขแต่ในกฎหมายเดิมไม่ได้ระบุโทษ หากเจ้าของอาคารแก้ไขล่าช้า และไม่มีการรายงานมายังสำนักการโยธาเพราะฉะนั้นในการออกข้อบัญญัติ โดยสภา กทม.ก็อาจจะต้องมีการกำหนด
โทษกรณีที่ยื่นแบบแล้วไม่ดำเนินการแก้ไขตามที่หน่วยงานขอให้มีการแก้ไขเพื่อความปลอดภัย
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า ส่วนที่ 3 หลังจากที่ตรวจสอบจำนวนอาคาร และใบอนุญาตแล้วเสร็จก็จะดูว่าเราจะสามารถให้เอกชนที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยได้ออกใบอนุญาตการตรวจสอบอาคารประมาณ 1,000 กว่าราย ว่า จะเข้ามาช่วยอย่างไรได้บ้างเพราะเบื้องต้นอาคารน่าจะมีเป็นหมื่นแห่งขณะที่เจ้าหน้าที่กองควบคุมอาคารมีเพียง 30 กว่าซึ่งไม่มีทางตรวจทัน ดังนั้น จึงจะเชิญเอกชน 1,000 กว่าราย เข้ามาช่วยตรวจสอบ ซึ่งหากเจ้าของอาคารไม่ยอมให้ตรวจสอบก็จะต้องโทษจำคุก 3 เดือนปรับไม่เกิน 60,000 บาท และปรับรายวันๆ ละ 10,000 บาท ทั้งนี้ หลังจากที่เอกชนเข้ามาช่วยตรวจสอบแล้ว กทม.โดยสำนักการโยธาก็จะจ้างหน่วยงานจากภายนอก (Outsorce) ให้มีวิศวกร สถาปนิกมาช่วยตรวจสอบอีกครั้งเพราะใบอนุญาตอาคาร (ใบ ร.1) ต้องตรวจทุกปีและต้องทำให้ครบโดยกำหนดเป้าหมาย คือ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เมื่อกฎหมายบังคับครอบคลุมให้ใช้ทุกอาคารในกทม.เราต้องให้มีการยื่นแบบทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ และต้องตรวจสอบอาคารทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
วันนี้ (9 มี.ค.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังร่วมกับกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักการโยธา (สนย.) กทม.และสำนักงานเขต ตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้น 5 โรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ ซอยสุขุมวิท 22 เขตคลองเตย ซึ่งเบื้องต้นได้ประกาศห้ามเข้า ห้ามใช้อาคารชั่วคราว แต่ได้อนุญาตผู้เข้าพักอาศัยเข้าเก็บของซึ่งเจ้าของโรงแรมได้ประสานโรงแรมอิมพีเรียล ควีนสปาร์ค ให้เข้าพักชั่วคราว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบอย่างละเอียด โดยล่าสุดมีผู้เสียชีวิต 1 คน เป็นหญิงชาวรัสเซีย เสียชีวิตที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 เมื่อช่วง 04.00 น.ที่ผ่านมา และมีผู้บาดเจ็บ จำนวน 21 คน พักรักษาตัวอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ประกอบด้วย โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 9 ราย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 4 ราย โรงพยาบาลเทพธารินทร์ 5 ราย โรงพยาบาลกลาง 1 ราย และโรงพยาบาลจุฬาฯ 2 ราย
นายธีระชน กล่าวถึงสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ว่า ต้นเพลิงเกิดจากบริเวณชั้น 5 ที่เป็นห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม ซึ่งขณะเกิดเหตุไม่มีการใช้งาน จึงไหม้เฉพาะพรม และอุปกรณ์ตกแต่งห้อง จากการตรวจสอบเบื้องต้นบริเวณดังกล่าวไม่มีสปริงเกอร์และความสูงระหว่างพื้นกับเพดานอยู่ในระดับที่ต่ำมาก อีกทั้งข้างหลังห้องดังกล่าวมีทางเชื่อมที่จอดรถ จึงตั้งข้อสังเกตว่า บริเวณที่เกิดเหตุน่าจะเป็นลานจอดรถและได้มีการดัดแปลงต่อเติมอาคารเป็นห้องจัดเลี้ยงภายหลังใช่หรือไม่ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นเดิมอาคารแห่งนี้ขอจดทะเบียนเป็นอาคารที่พักอาศัย เมื่อปี 2532 และในปี 2536 ได้ขออนุญาตเปิดเป็นโรงแรม ซึ่งตนได้สั่งการให้สำนักการโยธา ตรวจสอบแบบแปลนของอาคารว่าถูกต้องตรงตามที่ได้ยื่นขออนุญาตไว้หรือไม่ และหากตรงตามแบบแปลนจริงเหตุใดจึงไม่มีระบบสปริงเกอร์
นายธีระชน กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีการประชุมแนวดิ่งกับฝ่ายโยธา กทม.และได้ข้อสรุปว่าจะจัดให้มีการจัดชุดตรวจสอบอาคาร ที่ประกอบไปด้วย สำนักการโยธา สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักเทศกิจ และตัวแทนของสำนักงานเขต จำนวน 50 ชุด โดยให้ระบุชื่อคณะกรรมการให้ชัดเจนซึ่ง นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม.ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติงานได้ในสัปดาห์หน้าในการเข้าตรวจสอบอาคารขนาดใหญ่ทุกพื้นที่ 50 เขต ว่า มีจำนวนกี่อาคาร และมีการขออนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่ ทั้งก่อนและหลังการขออนุญาตก่อสร้างปี 2535 หากพบว่าไม่มีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง ก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจจะมีการปรับรายวัน นอกจากนี้ ในส่วนของเจ้าของอาคารสูงที่ก่อสร้างทั้งก่อนและหลังปี 2535 รวมถึงเจ้าของป้ายโฆษณา อาคารมหรสพ จะต้องยื่นใบขออนุญาตและแบบก่อสร้างกับทางสำนักงานเขต เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบ โดยจะต้องยื่นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.2555 จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ กทม.จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ดี ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารปีพ.ศ.2548 ได้มีการผ่อนผันการตรวจสอบอาคารขนาด 2,000-5,000 ตารางเมตรในส่วนของอาคารชุดไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 เพราะฉะนั้นวันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป อาคารทุกประเภทจะต้องได้รับการตรวจสอบ ดังนั้น เบื้องต้นตนเองได้สั่งการให้สำนักการโยธาไปสำรวจทั้งหมดเลยว่าในกทม.มีอาคารขนาดใหญ่ รวมทั้งป้าย และอาคารมหรสพ อาคารชุมนุมคนตามกฎหมายกำหนด 9 ประเภทมีจำนวนเท่าไหร่ที่จะต้องได้รับการตรวจสอบอาคาร จากนั้นขั้นตอนที่ 2 ก็จะไปตรวจสอบใบอนุญาตทั้งหมด ว่า มีการยื่นและไม่ยื่นไม่อนุญาตเท่าไหร่ เพราะรายที่ไม่ยื่นใบอนุญาตก็จะมีโทษตามข้างต้น ดังนั้น เราจะบังคับใช้กฎหมายสำหรับกรณีที่ไม่มีการยื่น ส่วนรายที่ยื่นแล้ว เช่น ตึกนี้มีการยื่นตั้งแต่ปี 2550 แต่ว่าสำนักการโยธาให้มีการแก้ไขแต่ในกฎหมายเดิมไม่ได้ระบุโทษ หากเจ้าของอาคารแก้ไขล่าช้า และไม่มีการรายงานมายังสำนักการโยธาเพราะฉะนั้นในการออกข้อบัญญัติ โดยสภา กทม.ก็อาจจะต้องมีการกำหนด
โทษกรณีที่ยื่นแบบแล้วไม่ดำเนินการแก้ไขตามที่หน่วยงานขอให้มีการแก้ไขเพื่อความปลอดภัย
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า ส่วนที่ 3 หลังจากที่ตรวจสอบจำนวนอาคาร และใบอนุญาตแล้วเสร็จก็จะดูว่าเราจะสามารถให้เอกชนที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยได้ออกใบอนุญาตการตรวจสอบอาคารประมาณ 1,000 กว่าราย ว่า จะเข้ามาช่วยอย่างไรได้บ้างเพราะเบื้องต้นอาคารน่าจะมีเป็นหมื่นแห่งขณะที่เจ้าหน้าที่กองควบคุมอาคารมีเพียง 30 กว่าซึ่งไม่มีทางตรวจทัน ดังนั้น จึงจะเชิญเอกชน 1,000 กว่าราย เข้ามาช่วยตรวจสอบ ซึ่งหากเจ้าของอาคารไม่ยอมให้ตรวจสอบก็จะต้องโทษจำคุก 3 เดือนปรับไม่เกิน 60,000 บาท และปรับรายวันๆ ละ 10,000 บาท ทั้งนี้ หลังจากที่เอกชนเข้ามาช่วยตรวจสอบแล้ว กทม.โดยสำนักการโยธาก็จะจ้างหน่วยงานจากภายนอก (Outsorce) ให้มีวิศวกร สถาปนิกมาช่วยตรวจสอบอีกครั้งเพราะใบอนุญาตอาคาร (ใบ ร.1) ต้องตรวจทุกปีและต้องทำให้ครบโดยกำหนดเป้าหมาย คือ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เมื่อกฎหมายบังคับครอบคลุมให้ใช้ทุกอาคารในกทม.เราต้องให้มีการยื่นแบบทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ และต้องตรวจสอบอาคารทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้