ASTVผู้จัดการรายวัน - ตำรวจยังไม่ชัดเพลิงไหม้ โรงแรมหรู เหตุไฟฟ้าลัดวงจร หรือประมาท รอ พฐ.ชี้ชัด คาด1 ศพแหม่มรัสเซีย บาดเจ็บทะลุ 21 ราย ด้าน“กทม.” สบช่องสั่งโยธา ฟันต่อเติมผิดกฎหมาย
เหตุเพลิงไหม้ช่วงค่ำวันที่ 8 มี.ค. ภายในห้องจัดเลี้ยงชั้นที่ 5 ของโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ ภายในซอยสุขุมวิท 22 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ทำให้ผู้ที่เข้าพักในโรงแรมพากันหนีตายอย่างอลหม่านจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และเบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 1 รายนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้(9 มี.ค.)ว่า ทางโรงแรม ได้ปิดให้บริการ โดยนำเชือกมากั้นบริเวณหน้าทางเข้าไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป สำหรับลูกค้าที่เข้าพักได้ทยอยเช็กเอาต์เก็บข้าวของออกจากโรงแรม บางรายที่ต้องการพักต่อทางโรงแรมได้ทำการย้ายให้ไปพักอยู่ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
**ติดป้ายผู้ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าโรงแรม
ด้านหน้าประตูทางเข้าสำนักงานเขตคลองเตยได้นำประกาศเรื่องห้ามใช้อาคารอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินมาติดไว้ โดยมีข้อความระบุว่า "เนื่องจากได้เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ สูง 15 ชั้น ตั้งอยู่เลขที่ 30 ซอยสุขุมวิท 22 แขวงคลองเตย และเขตคลองเตย ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัย เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2555 สำนักงานเขตคลองเตยจึงแจ้งความมายังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปหรือใช้อาคารตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับการตรวจสอบอาคารด้านความปลอดภัยจากวิศวกรโยธา ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถาบันที่เชื่อถือได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับวันละสามหมื่นบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน”
***บาดเจ็บ 22 เสียชีวิต 1
เวลา 09.00 น. พ.ต.อ.รัฐศักดิ์ รักสลาม ผกก.สน.ทองหล่อ เปิดเผยภายหลังเข้าตรวจสอบภายในที่เกิดเหตุ ว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 22 คน ก่อนส่งตัวไปรักษาตัวอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่นโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 10 ราย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 4 ราย โรงพยาบาลเทพธารินทร์ 5 ราย โรงพยาบาลกลาง 1 ราย และโรงพยาบาลจุฬาฯ 2 ราย
รายงานระบุว่า เวลา 04.00 น. ผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตลง 1 ราย เป็นหญิงชาวยุโรปไม่ทราบชื่อ ที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ขณะนี้ได้ส่งศพไปชันสูตรที่แผนนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ
จากการสอบสวนพนักงานโรงแรมคาดว่าผู้ตายเป็นชาวรัสเซีย เพราะภายในวันที่เกิดเหตุมีคณะทัวร์ที่เข้ามาพัก ส่วนใหญ่เป็นคณะทัวร์จากรัสเซีย อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กำลังเร่งตรวจสอบคณะทัวร์ชุดนี้ ว่ามีคณะใดมีผู้สูญหายจากเหตุดังกล่าวบ้างเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อสรุปคดีต่อไป
*** ยังไม่ชัดไฟฟ้าลัดวงจร หรือประมาท
ทั้งนี้ ทางคดีอาญา พนักงานสอบสวนพร้อมเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตยจะตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ว่า เกิดจากอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจร หรือเป็นความประมาทของตัวบุคคล รวมถึงจะให้พนักงานสอบสวนกับล่ามแปลภาษา กระจายกันไปสอบปากคำผู้ได้รับบาดเจ็บที่เป็นชาวต่างชาติ ก่อนดำเนินคดี
ส่วนคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร สำนักงานเขตคลองเตย และเจ้าหน้าที่สำนักการโยธาฯ จะ เข้าตรวจสอบ เบื้องต้นพบว่าโรงแรมนี้สร้างหลังปี 2535 ซึ่งมี พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับใหม่ควบคุมอยู่ จะต้องตรวจสอบว่าทางโรงแรมได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าหากพบว่าไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ถือว่ามีความผิดด้วย
***รอ พฐ.ชี้ชัดสาเหตุแท้จริง
เวลา 10.30 น. นางวิภารัตน์ ไชยานุกิจ ผอ.เขตคลองเตย เข้าตรวจสอบ ก่อนกล่าวภายหลังว่า ต้นเพลิงอยู่บริเวณห้องจัดเลี้ยงชั้นที่ 5 เพลิงไหม้วัสดุอุปกรณ์ตกแต่ง รวมทั้งพรม โดยเบื้องต้นโรงแรมอ้างว่าได้รับแจ้งจากห้องคอนโทรลสัญญาณว่ามีเหตุเพลิงไหม้ จึงเข้าไปตรวจสอบ และพบว่า มีกลุ่มควันเกิดขึ้นจำนวนมากเล็ดลอดออกมาจากห้อง ทำให้ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่สำลักควัน ส่วนสาเหตุแท้จริงนั้น ต้องรอเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน
***ตั้งข้อสังเกตอาจต่อเติมดัดแปลง
เวลา 11.00 น.นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. มาตรวจสอบ ก่อนเปิดเผยว่า อาคารดังกล่าวสูง 17 ชั้น มีการขออนุญาตต่อเติมในปี 2532 จากนั้นยื่นหนังสือขอดัดแปลงอาคารในปี 2535 โดยทางกทม.ได้อนุญาตในปี 2536 ในการต่อเติมส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ ห้องพักและบริเวณอื่นๆ ในโรงแรมนั้นพบว่ามีสปริงเกอร์ทั้งหมด แต่จุดเกิดเหตุภายในห้องจัดเลี้ยงนั้นไม่มีสปริงเกอร์ รวมทั้งความสูงระหว่างพื้นและเพดานนั้นเตี้ยมาก จนผิดสังเกต ด้านหลังของห้องนั้นสามารถทะลุเข้าไปยังลานจอดรถได้ จึงตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการแอบต่อเติมดัดแปลงในภายหลัง ได้สั่งการให้สำนักการโยธา ตรวจสอบแบบแปลนของอาคารว่าถูกต้องตรงตามที่ได้ยื่นขออนุญาตไว้หรือไม่ และหากตรงตามแบบแปลนจริงเหตุใดจึงไม่มีระบบสปริงเกอร์
ด้าน นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ว.ส.ท. กล่าวว่า จะตรวจดูว่าทำไมเหตุเพลิงไหม้ ควันไฟจึงแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้เหตุการณ์มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า มีบันไดทางขึ้นลงหลักของโรงแรมติดอยู่กับลิฟต์และห้องจัดเลี้ยง แต่ไม่มีผนังหรือประตูกั้นบริเวณบันไดระหว่างชั้น จึงทำให้ควันไฟลอยขึ้นไปยังชั้นอื่น และกระจายไปทั่วโรงแรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นข้อบกพร่องของอาคารเก่าที่บันไดไม่มีประตู หรือผนังกั้นบันไดทางขึ้นหลักอยู่
***ย้ำบันไดหนีไฟมีไม่ทั่วถึง
ยังพบว่าห้องพักแต่ละชั้นนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ฝั่ง แต่บันไดหนีไฟของโรงแรมที่มีอยู่นั้นมีอยู่เพียงฝั่งเดียว และมีลักษณะไม่ถูกต้อง เนื่องจากแคบ ส่วนห้องพักอีก 2 ด้านนั้น ไม่มีบันไดหนีไฟอยู่ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ จึงทำให้แขกที่พักอยู่ในห้องอีก 2 ฝั่ง ต้องวิ่งออกมาหาบันไดหนีไฟที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งมีความห่างเกิน 10 เมตร ไม่ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของ กทม.ปี 2544 อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบในเรื่องความเสียหายเบื้องต้น พบว่า ห้องจัดเลี้ยงจุดเกิดเหตุนั้นเสียหายมากที่สุด นอกจากนั้น ก็บริเวณชั้น 5-6 ส่วนชั้นอื่นๆ นั้นได้รับความเสียหายไม่มากนัก ส่วนความเสียหายในเรื่องโครงสร้างนั้นต้องให้ทางวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเรื่องโครงสร้างอาคารเข้ามาตรวจสอบอีกครั้ง
เหตุเพลิงไหม้ช่วงค่ำวันที่ 8 มี.ค. ภายในห้องจัดเลี้ยงชั้นที่ 5 ของโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ ภายในซอยสุขุมวิท 22 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ทำให้ผู้ที่เข้าพักในโรงแรมพากันหนีตายอย่างอลหม่านจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และเบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 1 รายนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้(9 มี.ค.)ว่า ทางโรงแรม ได้ปิดให้บริการ โดยนำเชือกมากั้นบริเวณหน้าทางเข้าไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป สำหรับลูกค้าที่เข้าพักได้ทยอยเช็กเอาต์เก็บข้าวของออกจากโรงแรม บางรายที่ต้องการพักต่อทางโรงแรมได้ทำการย้ายให้ไปพักอยู่ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
**ติดป้ายผู้ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าโรงแรม
ด้านหน้าประตูทางเข้าสำนักงานเขตคลองเตยได้นำประกาศเรื่องห้ามใช้อาคารอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินมาติดไว้ โดยมีข้อความระบุว่า "เนื่องจากได้เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารโรงแรมแกรนด์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ สูง 15 ชั้น ตั้งอยู่เลขที่ 30 ซอยสุขุมวิท 22 แขวงคลองเตย และเขตคลองเตย ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัย เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2555 สำนักงานเขตคลองเตยจึงแจ้งความมายังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปหรือใช้อาคารตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับการตรวจสอบอาคารด้านความปลอดภัยจากวิศวกรโยธา ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถาบันที่เชื่อถือได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับวันละสามหมื่นบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน”
***บาดเจ็บ 22 เสียชีวิต 1
เวลา 09.00 น. พ.ต.อ.รัฐศักดิ์ รักสลาม ผกก.สน.ทองหล่อ เปิดเผยภายหลังเข้าตรวจสอบภายในที่เกิดเหตุ ว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 22 คน ก่อนส่งตัวไปรักษาตัวอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่นโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 10 ราย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 4 ราย โรงพยาบาลเทพธารินทร์ 5 ราย โรงพยาบาลกลาง 1 ราย และโรงพยาบาลจุฬาฯ 2 ราย
รายงานระบุว่า เวลา 04.00 น. ผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตลง 1 ราย เป็นหญิงชาวยุโรปไม่ทราบชื่อ ที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ขณะนี้ได้ส่งศพไปชันสูตรที่แผนนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ
จากการสอบสวนพนักงานโรงแรมคาดว่าผู้ตายเป็นชาวรัสเซีย เพราะภายในวันที่เกิดเหตุมีคณะทัวร์ที่เข้ามาพัก ส่วนใหญ่เป็นคณะทัวร์จากรัสเซีย อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กำลังเร่งตรวจสอบคณะทัวร์ชุดนี้ ว่ามีคณะใดมีผู้สูญหายจากเหตุดังกล่าวบ้างเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อสรุปคดีต่อไป
*** ยังไม่ชัดไฟฟ้าลัดวงจร หรือประมาท
ทั้งนี้ ทางคดีอาญา พนักงานสอบสวนพร้อมเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตยจะตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ว่า เกิดจากอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจร หรือเป็นความประมาทของตัวบุคคล รวมถึงจะให้พนักงานสอบสวนกับล่ามแปลภาษา กระจายกันไปสอบปากคำผู้ได้รับบาดเจ็บที่เป็นชาวต่างชาติ ก่อนดำเนินคดี
ส่วนคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร สำนักงานเขตคลองเตย และเจ้าหน้าที่สำนักการโยธาฯ จะ เข้าตรวจสอบ เบื้องต้นพบว่าโรงแรมนี้สร้างหลังปี 2535 ซึ่งมี พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับใหม่ควบคุมอยู่ จะต้องตรวจสอบว่าทางโรงแรมได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าหากพบว่าไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ถือว่ามีความผิดด้วย
***รอ พฐ.ชี้ชัดสาเหตุแท้จริง
เวลา 10.30 น. นางวิภารัตน์ ไชยานุกิจ ผอ.เขตคลองเตย เข้าตรวจสอบ ก่อนกล่าวภายหลังว่า ต้นเพลิงอยู่บริเวณห้องจัดเลี้ยงชั้นที่ 5 เพลิงไหม้วัสดุอุปกรณ์ตกแต่ง รวมทั้งพรม โดยเบื้องต้นโรงแรมอ้างว่าได้รับแจ้งจากห้องคอนโทรลสัญญาณว่ามีเหตุเพลิงไหม้ จึงเข้าไปตรวจสอบ และพบว่า มีกลุ่มควันเกิดขึ้นจำนวนมากเล็ดลอดออกมาจากห้อง ทำให้ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่สำลักควัน ส่วนสาเหตุแท้จริงนั้น ต้องรอเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน
***ตั้งข้อสังเกตอาจต่อเติมดัดแปลง
เวลา 11.00 น.นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. มาตรวจสอบ ก่อนเปิดเผยว่า อาคารดังกล่าวสูง 17 ชั้น มีการขออนุญาตต่อเติมในปี 2532 จากนั้นยื่นหนังสือขอดัดแปลงอาคารในปี 2535 โดยทางกทม.ได้อนุญาตในปี 2536 ในการต่อเติมส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ ห้องพักและบริเวณอื่นๆ ในโรงแรมนั้นพบว่ามีสปริงเกอร์ทั้งหมด แต่จุดเกิดเหตุภายในห้องจัดเลี้ยงนั้นไม่มีสปริงเกอร์ รวมทั้งความสูงระหว่างพื้นและเพดานนั้นเตี้ยมาก จนผิดสังเกต ด้านหลังของห้องนั้นสามารถทะลุเข้าไปยังลานจอดรถได้ จึงตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการแอบต่อเติมดัดแปลงในภายหลัง ได้สั่งการให้สำนักการโยธา ตรวจสอบแบบแปลนของอาคารว่าถูกต้องตรงตามที่ได้ยื่นขออนุญาตไว้หรือไม่ และหากตรงตามแบบแปลนจริงเหตุใดจึงไม่มีระบบสปริงเกอร์
ด้าน นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ว.ส.ท. กล่าวว่า จะตรวจดูว่าทำไมเหตุเพลิงไหม้ ควันไฟจึงแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้เหตุการณ์มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า มีบันไดทางขึ้นลงหลักของโรงแรมติดอยู่กับลิฟต์และห้องจัดเลี้ยง แต่ไม่มีผนังหรือประตูกั้นบริเวณบันไดระหว่างชั้น จึงทำให้ควันไฟลอยขึ้นไปยังชั้นอื่น และกระจายไปทั่วโรงแรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นข้อบกพร่องของอาคารเก่าที่บันไดไม่มีประตู หรือผนังกั้นบันไดทางขึ้นหลักอยู่
***ย้ำบันไดหนีไฟมีไม่ทั่วถึง
ยังพบว่าห้องพักแต่ละชั้นนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ฝั่ง แต่บันไดหนีไฟของโรงแรมที่มีอยู่นั้นมีอยู่เพียงฝั่งเดียว และมีลักษณะไม่ถูกต้อง เนื่องจากแคบ ส่วนห้องพักอีก 2 ด้านนั้น ไม่มีบันไดหนีไฟอยู่ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ จึงทำให้แขกที่พักอยู่ในห้องอีก 2 ฝั่ง ต้องวิ่งออกมาหาบันไดหนีไฟที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งมีความห่างเกิน 10 เมตร ไม่ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของ กทม.ปี 2544 อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบในเรื่องความเสียหายเบื้องต้น พบว่า ห้องจัดเลี้ยงจุดเกิดเหตุนั้นเสียหายมากที่สุด นอกจากนั้น ก็บริเวณชั้น 5-6 ส่วนชั้นอื่นๆ นั้นได้รับความเสียหายไม่มากนัก ส่วนความเสียหายในเรื่องโครงสร้างนั้นต้องให้ทางวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเรื่องโครงสร้างอาคารเข้ามาตรวจสอบอีกครั้ง