นายจ้าง ติง รัฐบาลติดหนี้ค้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมร่วม 6 หมื่นล้านบาท ทำให้ประกันสังคมสูญเสียรายได้จากการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ชี้ กระทบต่อกองทุนชราภาพแน่นอน ด้าน สปส.แจงรัฐติดหนี้สะสมตั้งแต่ปี 53-55 ห่วงเป็นภาระหนี้ก้อนใหญ่ ชี้ ขณะนี้ต้องนำเงินสำรองมาใช้ กระทบการเพิ่มสิทธิ ความมั่นคงกองทุนฯลดลง
จากเหตุการณ์สำนักงานประกันสังคมได้ เสนอขอรับจัดสรรงบเงินอุดหนุน (เงินสมทบกองทุนประกันสังคมฝ่ายรัฐบาล) เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนแก่ผู้ประกันตนรวม 7 กรณี จำนวนเงินทั้งสิ้น 62,532.0340 ล้านบาท ซึ่งได้รับจัดสรรเพียง 10,432.8306 ล้านบาทนั้น นายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภานายจ้างผู้ค้า และบริการเรื่องอุปโภคบริโภค กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตั้งแต่ปี 2553-2554 และในปี 2555 รวมกว่า 63,200 ล้านบาทเศษ ถือเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี สะท้อนถึงการไม่ได้ให้ความสำคัญ มองข้ามผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน ขณะที่รัฐบาลจัดสรรเงินจำนวนมากในการดูแลด้านรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและประชาชนทั่วไป อีกทั้งรัฐบาลจ่ายเงินสมทบในอัตราที่ต่ำกว่าทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 2.75 ขณะที่นายจ้าง ลูกจ้างที่จ่ายขณะที่สมทบอัตราร้อยละ 5
นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้นายจ้าง ลูกจ้าง ท้อใจ มองข้ามการจ่ายเงิน ที่ย่อมมีผลต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในระยะหลังเมื่อเกิดสถานการณ์อะไรขึ้น มาตรการหนึ่งที่มีการเสนอ คือ การลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ อาจเป็นว่ากองทุนมีเงินมาก จึงละเลยการจ่ายเงินสมทบ ซึ่งในเรื่องนี้ลูกจ้างจะเสียประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะในกองทุนชราภาพ สำหรับใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิต ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาทางวิชาการพบว่าเงินกองทุนชราภาพจะจ่ายมากนับตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2580 กองทุนจะถึงขั้นติดลบ
อดีตกรรมการบอร์ดประกันสังคม กล่าวอีกว่า การที่รัฐบาลค้างจ่ายเงินร่วม 6 หมื่นล้านบาท เป็นเรื่องที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับกองทุนประกันสังคม ในเรื่องการนำเงินลงทุนเป็นรายได้เข้ากองทุน ซึ่งที่ผ่านมาทำรายได้ ร้อยละ 5 ซึ่งหมายถึงการขาดรายได้ 1,000 ล้านบาทต่อปี
“รัฐบาลเป็นหนี้ค้างจ่ายเงินสมทบมากเท่าใด ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม หรือมีการคิดดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มแต่อย่างใด ขณะที่เมื่อนายจ้างจ่ายช้าต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับกองทุนด้วย”นายประสิทธิ์ กล่าวและว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวการเร่งติดตามหนี้สินค้างจ่ายเงินสมทบกับผู้ประกอบการ ในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สังคม และนายจ้าง ลูกจ้าง ต้องร่วมกันสะท้อนความคิดเห็น และเรียกร้องให้รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน ซึ่งเรื่องนี้สภาองค์การนายจ้างบางแห่งเริ่มมีการพูดคุยบ้างแล้ว จึงเชื่อว่าจะมีข้อสรุปในเร็วๆ นี้
ด้าน นายชวลิต อาคมธน ที่ปรึกษาคณะกรรมการประกันสังคม และโฆษกคณะกรรมการประกันสังคม กล่าวชี้แจงการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของรัฐบาลเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้ 3 ฝ่าย ได้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน และรัฐบาล จ่ายเงินสมทบร่วมกัน การที่รัฐบาลติดค้างเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตั้งแต่ปี 2553 ตั้งแต่งวดเดือนพฤษภาคม 2553 เป็นเงิน 10,432 ล้านบาท และเงินสมทบปี 2554 ทั้งปี เป็นเงิน 26,111 ล้านบาท รวมทั้งประมาณการเงินสมทบปี 2555 เป็นเงิน 26,670 ล้านบาท รวมเป็นภาระผูกพันที่รัฐบาลจะต้องจ่าย 63,200 ล้านบาทเศษ ทำให้คณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง มีความห่วงใยรัฐบาลว่าการค้างชำระเงินสมทบหลายปี จะทำให้เป็นภาระทางการเงินของรัฐบาลในปีต่อๆ ไป ที่จะต้องนำเงินมาชำระหนี้กองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปี 2554 ประเทศไทยประสบอุทกภัย สำนักงานประกันสังคมได้ออกมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนหลายมาตรการ อาทิเช่น ปรับลดเงินสมทบทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 2% ในหกเดือนแรก และ 1% ใน 6 เดือนหลังของปี 2555 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมยังขออนุมัติวงเงิน 10,000 ล้านบาท จากคณะกรรมการประกันสังคมนำมาปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ผู้ประกันตน กู้ซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยอีกด้วย
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลค้างชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนมากจะทำให้สำนักงานประกันสังคมต้องดึงเงินกองทุนที่มีอยู่มาเป็นเงินสำรองเพื่อจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน หากเมื่อนำเงินสำรองมาใช้จำนวนมาก อาจจะส่งผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมในการบริหารจัดการ เพื่อการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ และการจ่ายเงินบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนในระยะอันใกล้นี้
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการประกันสังคม ก็มีความเข้าใจในภาระการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลที่จะต้องบริหารจัดการงานด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก และหวังว่า เมื่อภาระต่างๆ ได้บรรเทา เบาบางเป็นปกติแล้ว รัฐบาลจะนำเงินมาชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
จากเหตุการณ์สำนักงานประกันสังคมได้ เสนอขอรับจัดสรรงบเงินอุดหนุน (เงินสมทบกองทุนประกันสังคมฝ่ายรัฐบาล) เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนแก่ผู้ประกันตนรวม 7 กรณี จำนวนเงินทั้งสิ้น 62,532.0340 ล้านบาท ซึ่งได้รับจัดสรรเพียง 10,432.8306 ล้านบาทนั้น นายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภานายจ้างผู้ค้า และบริการเรื่องอุปโภคบริโภค กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตั้งแต่ปี 2553-2554 และในปี 2555 รวมกว่า 63,200 ล้านบาทเศษ ถือเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี สะท้อนถึงการไม่ได้ให้ความสำคัญ มองข้ามผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน ขณะที่รัฐบาลจัดสรรเงินจำนวนมากในการดูแลด้านรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและประชาชนทั่วไป อีกทั้งรัฐบาลจ่ายเงินสมทบในอัตราที่ต่ำกว่าทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 2.75 ขณะที่นายจ้าง ลูกจ้างที่จ่ายขณะที่สมทบอัตราร้อยละ 5
นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้นายจ้าง ลูกจ้าง ท้อใจ มองข้ามการจ่ายเงิน ที่ย่อมมีผลต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในระยะหลังเมื่อเกิดสถานการณ์อะไรขึ้น มาตรการหนึ่งที่มีการเสนอ คือ การลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ อาจเป็นว่ากองทุนมีเงินมาก จึงละเลยการจ่ายเงินสมทบ ซึ่งในเรื่องนี้ลูกจ้างจะเสียประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะในกองทุนชราภาพ สำหรับใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิต ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาทางวิชาการพบว่าเงินกองทุนชราภาพจะจ่ายมากนับตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2580 กองทุนจะถึงขั้นติดลบ
อดีตกรรมการบอร์ดประกันสังคม กล่าวอีกว่า การที่รัฐบาลค้างจ่ายเงินร่วม 6 หมื่นล้านบาท เป็นเรื่องที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับกองทุนประกันสังคม ในเรื่องการนำเงินลงทุนเป็นรายได้เข้ากองทุน ซึ่งที่ผ่านมาทำรายได้ ร้อยละ 5 ซึ่งหมายถึงการขาดรายได้ 1,000 ล้านบาทต่อปี
“รัฐบาลเป็นหนี้ค้างจ่ายเงินสมทบมากเท่าใด ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม หรือมีการคิดดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มแต่อย่างใด ขณะที่เมื่อนายจ้างจ่ายช้าต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับกองทุนด้วย”นายประสิทธิ์ กล่าวและว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวการเร่งติดตามหนี้สินค้างจ่ายเงินสมทบกับผู้ประกอบการ ในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สังคม และนายจ้าง ลูกจ้าง ต้องร่วมกันสะท้อนความคิดเห็น และเรียกร้องให้รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน ซึ่งเรื่องนี้สภาองค์การนายจ้างบางแห่งเริ่มมีการพูดคุยบ้างแล้ว จึงเชื่อว่าจะมีข้อสรุปในเร็วๆ นี้
ด้าน นายชวลิต อาคมธน ที่ปรึกษาคณะกรรมการประกันสังคม และโฆษกคณะกรรมการประกันสังคม กล่าวชี้แจงการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของรัฐบาลเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้ 3 ฝ่าย ได้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน และรัฐบาล จ่ายเงินสมทบร่วมกัน การที่รัฐบาลติดค้างเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตั้งแต่ปี 2553 ตั้งแต่งวดเดือนพฤษภาคม 2553 เป็นเงิน 10,432 ล้านบาท และเงินสมทบปี 2554 ทั้งปี เป็นเงิน 26,111 ล้านบาท รวมทั้งประมาณการเงินสมทบปี 2555 เป็นเงิน 26,670 ล้านบาท รวมเป็นภาระผูกพันที่รัฐบาลจะต้องจ่าย 63,200 ล้านบาทเศษ ทำให้คณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง มีความห่วงใยรัฐบาลว่าการค้างชำระเงินสมทบหลายปี จะทำให้เป็นภาระทางการเงินของรัฐบาลในปีต่อๆ ไป ที่จะต้องนำเงินมาชำระหนี้กองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปี 2554 ประเทศไทยประสบอุทกภัย สำนักงานประกันสังคมได้ออกมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนหลายมาตรการ อาทิเช่น ปรับลดเงินสมทบทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 2% ในหกเดือนแรก และ 1% ใน 6 เดือนหลังของปี 2555 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมยังขออนุมัติวงเงิน 10,000 ล้านบาท จากคณะกรรมการประกันสังคมนำมาปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ผู้ประกันตน กู้ซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยอีกด้วย
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลค้างชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนมากจะทำให้สำนักงานประกันสังคมต้องดึงเงินกองทุนที่มีอยู่มาเป็นเงินสำรองเพื่อจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน หากเมื่อนำเงินสำรองมาใช้จำนวนมาก อาจจะส่งผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมในการบริหารจัดการ เพื่อการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ และการจ่ายเงินบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนในระยะอันใกล้นี้
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการประกันสังคม ก็มีความเข้าใจในภาระการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลที่จะต้องบริหารจัดการงานด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก และหวังว่า เมื่อภาระต่างๆ ได้บรรเทา เบาบางเป็นปกติแล้ว รัฐบาลจะนำเงินมาชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม