สปส.ทุ่มงบลงทุนต่างประเทศ 6 พันล้าน หวังฟันกำไรตลอดปี 55 กว่า 3.4 หมื่นล้านโปะเงินกองทุนหดกว่า 1.6 หมื่นล้านจากลดเงินสมทบ โชว์กำไร 20 ปีกว่า 2.2 แสนล้าน เล็งเพิ่มสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 40 นำร่องบัตรใบเดียวรักษาได้ทุก รพ.ต้นปีหน้า
วันนี้ (22 ธ.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวในการแถลงข่าวผลการดำเนินงานในปีที่ผ่าน และนโยบายประกันสังคมในปี 2555 ที่ สปส.ว่า ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมกว่า 10.4 ล้านคน มีสถานประกอบการที่ต้องส่งเงินสมทบกว่า 4 แสนแห่ง มียอดเงินกองทุนประกันสังคมรวมทั้งสิ้น 846,544 ล้าน บาท ทั้งนี้ จากมติ ครม.ล่าสุดที่ให้ลดเงินสมทบทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างในปีหน้ารวมร้อยละ 3 ตลอดทั้งปี เพื่อเยียวยาลูกจ้างและนายจ้างที่ประสบภัยน้ำท่วม ทำให้ยอดเงินสมทบหายไป 16,700 ล้านบาท ทั้งนี้ สปส.จะเร่งลงทุนเพื่อให้เกิดผลกำไรมาชดเชยเงินที่หายไปในส่วนนี้
ขณะเดียวกัน ในปี 2557 มีการคาดการณ์ว่าเงินจะไหลออกจากกองทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเริ่มมีการจ่ายเงินบำนาญชราภาพ และหลังจากนั้นภายใน 6 ปี เงินไหลเข้า-ออกกองทุนจะอยู่ในระดับที่เท่ากัน ทำให้เงินสะสมของกองทุน สปส.ในอนาคตที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.1 ล้านล้านบาทจะเหลือศูนย์บาททันที เพราะฉะนั้นสปส.จำเป็นต้องนำเงินที่มีอยู่ทั้งหมดไปลงทุนเพื่อสร้างผลกำไร เพื่อความมั่นคงของกองทุน
นายจีรศักดิ์กล่าวถึงแผนการลงทุนในปีหน้าว่า สปส.แบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ในประเทศและต่างประเทศ โดยจะลงทุนใน 2 ลักษณะ คือ 1.การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนคิดเป็น 80% เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล-รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน 2.การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนคิดเป็น 20% เช่น ตราสารหนี้ หุ้นสามัญ และหน่วยลงทุน เป็นต้นซึ่งในปีที่ผ่านมา สปส.สามารถสร้างผลกำไรกว่า 27,462 ล้านบาท (ม.ค.-ก.ย.54) คาดว่าผลตอบแทนตลอดทั้งปี 54 จะมากกว่า 34,000 ล้านบาท ส่วนผลกำไรในภาพรวมของกองทุน ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 20 ปีคิดเป็น 35% เป็นเงิน 226,497 ล้านบาท นอกจากนี้ การลงทุนในส่วนของกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 33,115 ล้านบาท ได้กำไรคิดเป็น 65% เป็นเงิน 931 ล้านบาท คาดตลอดทั้งปีจะได้กำไรมากกว่า 1,200 ล้านบาท
เลขาธิการ สปส.กล่าวต่อไปว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 สปส.เตรียมนำเงินลงทุนในต่างประเทศกว่า 6 พันล้านบาท จากเงินลงทุนในต่างประเทศที่เตรียมไว้ทั้งหมดกว่า 1,800 ล้านบาทโดยเน้นการลงทุนตราสารหนี้ ตราสารทุน และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและมีปัจจัยพื้นฐานดีในระดับเอ (A) ขึ้นไปจนถึงทริปเปิลเอ (AAA) ในประเทศที่มีไม่มีปัญหาหนี้สิน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน นอร์เวย์ ซึ่งไม่ได้ประเทศใดประเทศหนึ่งจะกระจายไปทั่วโลกโดยเลือกประเทศที่มีปัญหาหนี้น้อยที่สุด
“ผมมั่นใจจากแผนการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จะนำเงินมาทดแทนเงินกองทุนประกันสังคมที่หายไปจากการลดเงินสมทบได้ไม่ยาก เนื่องจากเรามีหุ้นที่สามารถทำรายได้ประจำอยู่แล้ว” เลขาธิการ สปส.กล่าว
นายจีรศกดิ์กล่าวด้วว่า นอกจากนี้ ในปีหน้าสปส.ยังมีแผนงานที่จะพัฒนาระบบประกันสังคม ในภารกิจหลักๆ ได้แก่ การพัฒนาสิทธิประโยชน์ควบคู่กับการสร้างเสถียรภาพการลงทุน เช่น การปรับรูปแบบการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล บัตร 1 ใบใช้ได้ทุกโรงพยาบาล โดยคาดว่าผู้ประกันตนจะเริ่มใช้ระบบนี้ได้ในช่วงกลางปีหน้า โดยจะเริ่มจากการแบ่งกลุ่มโรงพยาบาลออกเป็น กลุ่มโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มโรงพยาบาลสังกัด กทม. โรงพยาบาลตำรวจ และกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่มีสาขาในจังหวัดต่างๆโดยคาดว่าจะเริ่มได้ในกลางปี 2555 ส่วนระยะยาวจะขยายให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าได้ในโรงพยาบาลทุกแห่งที่เป็นคู่สัญญากับประกันสังคม รวม ทั้งเตรียมศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบโดยคาดว่าจะเพิ่มในส่วนของการบริการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย และเงินสงเคราะห์บุตร จากเดิมที่มีสิทธิประโยชน์ 4 กรณี ได้แก่ เงินชดเชยการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ กรณีทุพพลภาพ กรณีตายและบำเหน็จชราภาพ และขยายไปกลุ่มเป้าหมายไปยังแรงงานภาคเกษตรและผู้รับงานไปงานไปทำที่บ้าน ให้ได้ 1.2 ล้านคนภายในเดือนกันยายน 2555 จากปัจจุบันมีอยู่ 5.8 แสนคน
นอกจากนี้ยังจะมีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทั้งช่องทางการการส่งเงินสมทบ การจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไปบริการในห้างสรรพสินค้าต่างๆ อีกทั้ง สปส. ยังมีภารกิจสนับสนุนการมีงานและการปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับเม็ดเงินที่จะเริ่มไหลออกจากกองทุนชราภาพในปี 2557 ซึ่งได้ศึกษาไว้ในหลายรูปแบบ เช่น การขยายระยะเวลาการเกษียณอายุของผู้ประกันตนจาก 55 ปี เป็น 60 ปี หรือ 62 ปี การเพิ่มอัตราการส่งเงินสมทบ หรือแม้แต่เปลี่ยนวิธีการคำนวณจ่ายสิทธิ์
วันนี้ (22 ธ.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวในการแถลงข่าวผลการดำเนินงานในปีที่ผ่าน และนโยบายประกันสังคมในปี 2555 ที่ สปส.ว่า ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมกว่า 10.4 ล้านคน มีสถานประกอบการที่ต้องส่งเงินสมทบกว่า 4 แสนแห่ง มียอดเงินกองทุนประกันสังคมรวมทั้งสิ้น 846,544 ล้าน บาท ทั้งนี้ จากมติ ครม.ล่าสุดที่ให้ลดเงินสมทบทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างในปีหน้ารวมร้อยละ 3 ตลอดทั้งปี เพื่อเยียวยาลูกจ้างและนายจ้างที่ประสบภัยน้ำท่วม ทำให้ยอดเงินสมทบหายไป 16,700 ล้านบาท ทั้งนี้ สปส.จะเร่งลงทุนเพื่อให้เกิดผลกำไรมาชดเชยเงินที่หายไปในส่วนนี้
ขณะเดียวกัน ในปี 2557 มีการคาดการณ์ว่าเงินจะไหลออกจากกองทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเริ่มมีการจ่ายเงินบำนาญชราภาพ และหลังจากนั้นภายใน 6 ปี เงินไหลเข้า-ออกกองทุนจะอยู่ในระดับที่เท่ากัน ทำให้เงินสะสมของกองทุน สปส.ในอนาคตที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.1 ล้านล้านบาทจะเหลือศูนย์บาททันที เพราะฉะนั้นสปส.จำเป็นต้องนำเงินที่มีอยู่ทั้งหมดไปลงทุนเพื่อสร้างผลกำไร เพื่อความมั่นคงของกองทุน
นายจีรศักดิ์กล่าวถึงแผนการลงทุนในปีหน้าว่า สปส.แบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ในประเทศและต่างประเทศ โดยจะลงทุนใน 2 ลักษณะ คือ 1.การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนคิดเป็น 80% เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล-รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน 2.การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนคิดเป็น 20% เช่น ตราสารหนี้ หุ้นสามัญ และหน่วยลงทุน เป็นต้นซึ่งในปีที่ผ่านมา สปส.สามารถสร้างผลกำไรกว่า 27,462 ล้านบาท (ม.ค.-ก.ย.54) คาดว่าผลตอบแทนตลอดทั้งปี 54 จะมากกว่า 34,000 ล้านบาท ส่วนผลกำไรในภาพรวมของกองทุน ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 20 ปีคิดเป็น 35% เป็นเงิน 226,497 ล้านบาท นอกจากนี้ การลงทุนในส่วนของกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 33,115 ล้านบาท ได้กำไรคิดเป็น 65% เป็นเงิน 931 ล้านบาท คาดตลอดทั้งปีจะได้กำไรมากกว่า 1,200 ล้านบาท
เลขาธิการ สปส.กล่าวต่อไปว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 สปส.เตรียมนำเงินลงทุนในต่างประเทศกว่า 6 พันล้านบาท จากเงินลงทุนในต่างประเทศที่เตรียมไว้ทั้งหมดกว่า 1,800 ล้านบาทโดยเน้นการลงทุนตราสารหนี้ ตราสารทุน และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและมีปัจจัยพื้นฐานดีในระดับเอ (A) ขึ้นไปจนถึงทริปเปิลเอ (AAA) ในประเทศที่มีไม่มีปัญหาหนี้สิน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน นอร์เวย์ ซึ่งไม่ได้ประเทศใดประเทศหนึ่งจะกระจายไปทั่วโลกโดยเลือกประเทศที่มีปัญหาหนี้น้อยที่สุด
“ผมมั่นใจจากแผนการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จะนำเงินมาทดแทนเงินกองทุนประกันสังคมที่หายไปจากการลดเงินสมทบได้ไม่ยาก เนื่องจากเรามีหุ้นที่สามารถทำรายได้ประจำอยู่แล้ว” เลขาธิการ สปส.กล่าว
นายจีรศกดิ์กล่าวด้วว่า นอกจากนี้ ในปีหน้าสปส.ยังมีแผนงานที่จะพัฒนาระบบประกันสังคม ในภารกิจหลักๆ ได้แก่ การพัฒนาสิทธิประโยชน์ควบคู่กับการสร้างเสถียรภาพการลงทุน เช่น การปรับรูปแบบการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล บัตร 1 ใบใช้ได้ทุกโรงพยาบาล โดยคาดว่าผู้ประกันตนจะเริ่มใช้ระบบนี้ได้ในช่วงกลางปีหน้า โดยจะเริ่มจากการแบ่งกลุ่มโรงพยาบาลออกเป็น กลุ่มโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มโรงพยาบาลสังกัด กทม. โรงพยาบาลตำรวจ และกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่มีสาขาในจังหวัดต่างๆโดยคาดว่าจะเริ่มได้ในกลางปี 2555 ส่วนระยะยาวจะขยายให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าได้ในโรงพยาบาลทุกแห่งที่เป็นคู่สัญญากับประกันสังคม รวม ทั้งเตรียมศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบโดยคาดว่าจะเพิ่มในส่วนของการบริการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย และเงินสงเคราะห์บุตร จากเดิมที่มีสิทธิประโยชน์ 4 กรณี ได้แก่ เงินชดเชยการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ กรณีทุพพลภาพ กรณีตายและบำเหน็จชราภาพ และขยายไปกลุ่มเป้าหมายไปยังแรงงานภาคเกษตรและผู้รับงานไปงานไปทำที่บ้าน ให้ได้ 1.2 ล้านคนภายในเดือนกันยายน 2555 จากปัจจุบันมีอยู่ 5.8 แสนคน
นอกจากนี้ยังจะมีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทั้งช่องทางการการส่งเงินสมทบ การจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไปบริการในห้างสรรพสินค้าต่างๆ อีกทั้ง สปส. ยังมีภารกิจสนับสนุนการมีงานและการปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับเม็ดเงินที่จะเริ่มไหลออกจากกองทุนชราภาพในปี 2557 ซึ่งได้ศึกษาไว้ในหลายรูปแบบ เช่น การขยายระยะเวลาการเกษียณอายุของผู้ประกันตนจาก 55 ปี เป็น 60 ปี หรือ 62 ปี การเพิ่มอัตราการส่งเงินสมทบ หรือแม้แต่เปลี่ยนวิธีการคำนวณจ่ายสิทธิ์