รองปลัดแรงงาน เผย ประกันสังคมถูกตัดงบมากสุดกว่า 1 หมื่นล้าน ชี้ เป็นการผัดผ่อนหนี้ค้างจ่ายเงินสมทบของรัฐบาล เหตุต้องใช้เงินเพื่อการฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วม ยันไม่กระทบกองทุน หากสถานการณ์เลิกจ้างไม่รุนแรง
เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่กระทรวงแรงงาน น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี 2555 ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณในส่วนของกระทรวงแรงงาน 16,316 ล้านบาท จากที่เสนอขอไปทั้งหมด 27,265 ล้านบาท โดยถูกปรับลดไปทั้งหมด 10,948 ล้านบาท
ทั้งนี้ หน่วยงานที่ถูกปรับลดมากที่สุด คือ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้รับอนุมัติงบฯ 11,165 ล้านบาท จากที่เสนอขอไปทั้งหมด 21,821 ล้านบาท ถูกปรับลด 10,656 ล้านบาท ซึ่งยอดงบที่ถูกปรับลดดังกล่าวแยกออกเป็นงบในส่วนของเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนในสัดส่วน 2.75% เป็นเงิน 10,000 ล้านบาท และอีก 656 ล้านบาท เป็นงบเงินเดือน ค่าจ้างลูกจ้าง และค่าเช่าบ้าน ของข้าราชการของ สปส.
รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า งบ สปส.ที่ได้รับอนุมัติกว่า 1 หมื่นล้านบาทนั้น จะถูกนำไปใช้ชำระเงินค้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมได้แค่ช่วงเดือน พ.ค.-ก.ย.2553 เท่านั้น ทั้งนี้ รัฐบาลยังค้างจ่ายเงินสมทบประกันในช่วงเดือน ต.ค.2553-ก.พ.2554 เป็นเงินกว่า 10,656 ล้านบาท
“รัฐบาลขอผัดจ่ายเงินประกันสังคมไปก่อน เนื่องจากจะต้องนำเงินไปช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย การผัดผ่อนจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลทำมาอย่างต่อเนื่อง แต่เงินก้อนนี้ก็ไม่ได้เป็นหนี้สูญถึงอย่างไรรัฐบาลก็จะต้องจ่ายส่วนที่ค้างไว้ ซึ่งเฉลี่ยรัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบประมาณเดือนประมาณ 2 พันล้านบาท โดยทุกปี กระทรวงแรงงานได้ตั้งงบขอเงินส่วนนี้ บวกเข้าไปกับงบประมาณในแต่ละปีอยู่แล้ว” น.ส.ส่งศรี กล่าว
ส่วนกรณีที่เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานภาพกองทุนประกันสังคมนั้น น.ส.ส่งศรี กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การจ้างงานหลังจากนี้ หากมีการเลิกจ้างมากกว่าปีที่ผ่านมา 2-3 เท่า ก็น่าเป็นห่วง เพราะจะมีผลกระทบต่อกองทุนประกันการว่างงานที่มีอยู่ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากจะทำให้เงินไหลออกจากกองทุนนี้จำนวนมาก ขณะที่เงินไหลเข้าไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้างกว่า 2.5 หมื่นคน และยื่นเรื่องใช้สิทธิประกันว่างงานประมาณ 1.4 หมื่นคน ซึ่งถือว่ายังเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมาก อยู่ในภาวะที่กองทุนประกันว่างงานดูแลได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ บอร์ดประกันสังคมได้มีมติลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 3% ทั้งปี จะเป็นซ้ำเติมสถานะกองทุนหรือไม่ น.ส.ส่งศรี กล่าวว่า คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะเงินหายไป โดยเฉพาะในส่วนของผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุนด้านอื่นๆ เพื่อให้มีดอกผลเพิ่มขึ้น อาจจะหายไปบ้างแต่คงไม่มากนัก โดยเฉพาะเงินในส่วนของกองทุนชราภาพ ได้มีดูแลเป็นอย่างดี เพราะจะต้องเริ่มจ่ายบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนในปี 2557 ซึ่งคาดว่าเงินจะไหลออกจำนวนมาก
น.ส.ส่งศรี กล่าวด้วยว่า ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ที่ถูกปรับลดงบ ได้แก่ สำนักงานปลัด (สป.)กระทรวงแรงงาน ได้รับอนุมัติงบ 1,105 ล้านบาท จากที่ขอไป 1,195 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 90 ล้านบาท กรมการจัดหางาน (กกจ.) ได้รับอนุมัติงบกว่า 992 ล้านบาท จากที่ขอไปกว่า 1,060 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 67 ล้านบาท กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้รับอนุมัติงบกว่า 2,009 ล้านบาท จากที่ขอไป 2,113 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 104 ล้านบาท กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้รับอนุมัติงบกว่า 1,043 ล้านบาท จากที่ขอไปกว่า 1,073 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 30 ล้านบาท
ทั้งนี้ งบส่วนที่ถูกปรับลดออกไปของแต่ละหน่วยงานข้างต้นเป็นงบในส่วนของการปรับปรุงระบบไอซีที เฉลี่ยประมาณ 5% การจัดซื้อครุภัณฑ์ และงบอบรมสัมมนาและเดินทางไปต่างประเทศ เฉลี่ยประมาณ 10% ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของแต่ละกระทรวง
รองปลัดกระทรวงแรงงาน ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการฟื้นฟูช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณ 2 โครงการจากที่เสนอไป 7 โครงการ ได้แก่ โครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ในการช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้างรายละ 2,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเสนของบรอบแรกไว้ 606 ล้านบาท และรอบสองวงเงิน 1,212 ล้านบาท รวมวงเงิน 1,818 ล้านบาท เป้าหมาย 300,000 คน และอนุมัติงบโครงการยกระดับฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) วงเงินกว่า 61 ล้าน กลุ่มเป้าหมาย 1.5 หมื่นคน โดยได้รับเบี้ยเลี้ยง 120 บาทต่อวัน
ส่วนอีก 5 โครงการ เช่น โครงการพลิกฟื้นคืนอาชีพ โครงการฟื้นฟูความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ประสบอุทกภัยนั้น ครม.เห็นว่า เป็นงานปกติ และมีความซ้ำซ้อนกับโครงการที่แต่ละจังหวัดเสนอเข้ามา จึงไม่ได้อนุมัติ
เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่กระทรวงแรงงาน น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี 2555 ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณในส่วนของกระทรวงแรงงาน 16,316 ล้านบาท จากที่เสนอขอไปทั้งหมด 27,265 ล้านบาท โดยถูกปรับลดไปทั้งหมด 10,948 ล้านบาท
ทั้งนี้ หน่วยงานที่ถูกปรับลดมากที่สุด คือ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้รับอนุมัติงบฯ 11,165 ล้านบาท จากที่เสนอขอไปทั้งหมด 21,821 ล้านบาท ถูกปรับลด 10,656 ล้านบาท ซึ่งยอดงบที่ถูกปรับลดดังกล่าวแยกออกเป็นงบในส่วนของเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนในสัดส่วน 2.75% เป็นเงิน 10,000 ล้านบาท และอีก 656 ล้านบาท เป็นงบเงินเดือน ค่าจ้างลูกจ้าง และค่าเช่าบ้าน ของข้าราชการของ สปส.
รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า งบ สปส.ที่ได้รับอนุมัติกว่า 1 หมื่นล้านบาทนั้น จะถูกนำไปใช้ชำระเงินค้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมได้แค่ช่วงเดือน พ.ค.-ก.ย.2553 เท่านั้น ทั้งนี้ รัฐบาลยังค้างจ่ายเงินสมทบประกันในช่วงเดือน ต.ค.2553-ก.พ.2554 เป็นเงินกว่า 10,656 ล้านบาท
“รัฐบาลขอผัดจ่ายเงินประกันสังคมไปก่อน เนื่องจากจะต้องนำเงินไปช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย การผัดผ่อนจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลทำมาอย่างต่อเนื่อง แต่เงินก้อนนี้ก็ไม่ได้เป็นหนี้สูญถึงอย่างไรรัฐบาลก็จะต้องจ่ายส่วนที่ค้างไว้ ซึ่งเฉลี่ยรัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบประมาณเดือนประมาณ 2 พันล้านบาท โดยทุกปี กระทรวงแรงงานได้ตั้งงบขอเงินส่วนนี้ บวกเข้าไปกับงบประมาณในแต่ละปีอยู่แล้ว” น.ส.ส่งศรี กล่าว
ส่วนกรณีที่เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานภาพกองทุนประกันสังคมนั้น น.ส.ส่งศรี กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การจ้างงานหลังจากนี้ หากมีการเลิกจ้างมากกว่าปีที่ผ่านมา 2-3 เท่า ก็น่าเป็นห่วง เพราะจะมีผลกระทบต่อกองทุนประกันการว่างงานที่มีอยู่ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากจะทำให้เงินไหลออกจากกองทุนนี้จำนวนมาก ขณะที่เงินไหลเข้าไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้างกว่า 2.5 หมื่นคน และยื่นเรื่องใช้สิทธิประกันว่างงานประมาณ 1.4 หมื่นคน ซึ่งถือว่ายังเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมาก อยู่ในภาวะที่กองทุนประกันว่างงานดูแลได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ บอร์ดประกันสังคมได้มีมติลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 3% ทั้งปี จะเป็นซ้ำเติมสถานะกองทุนหรือไม่ น.ส.ส่งศรี กล่าวว่า คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะเงินหายไป โดยเฉพาะในส่วนของผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุนด้านอื่นๆ เพื่อให้มีดอกผลเพิ่มขึ้น อาจจะหายไปบ้างแต่คงไม่มากนัก โดยเฉพาะเงินในส่วนของกองทุนชราภาพ ได้มีดูแลเป็นอย่างดี เพราะจะต้องเริ่มจ่ายบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนในปี 2557 ซึ่งคาดว่าเงินจะไหลออกจำนวนมาก
น.ส.ส่งศรี กล่าวด้วยว่า ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ที่ถูกปรับลดงบ ได้แก่ สำนักงานปลัด (สป.)กระทรวงแรงงาน ได้รับอนุมัติงบ 1,105 ล้านบาท จากที่ขอไป 1,195 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 90 ล้านบาท กรมการจัดหางาน (กกจ.) ได้รับอนุมัติงบกว่า 992 ล้านบาท จากที่ขอไปกว่า 1,060 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 67 ล้านบาท กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้รับอนุมัติงบกว่า 2,009 ล้านบาท จากที่ขอไป 2,113 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 104 ล้านบาท กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้รับอนุมัติงบกว่า 1,043 ล้านบาท จากที่ขอไปกว่า 1,073 ล้านบาท ถูกปรับลดกว่า 30 ล้านบาท
ทั้งนี้ งบส่วนที่ถูกปรับลดออกไปของแต่ละหน่วยงานข้างต้นเป็นงบในส่วนของการปรับปรุงระบบไอซีที เฉลี่ยประมาณ 5% การจัดซื้อครุภัณฑ์ และงบอบรมสัมมนาและเดินทางไปต่างประเทศ เฉลี่ยประมาณ 10% ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของแต่ละกระทรวง
รองปลัดกระทรวงแรงงาน ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการฟื้นฟูช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณ 2 โครงการจากที่เสนอไป 7 โครงการ ได้แก่ โครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ในการช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้างรายละ 2,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเสนของบรอบแรกไว้ 606 ล้านบาท และรอบสองวงเงิน 1,212 ล้านบาท รวมวงเงิน 1,818 ล้านบาท เป้าหมาย 300,000 คน และอนุมัติงบโครงการยกระดับฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) วงเงินกว่า 61 ล้าน กลุ่มเป้าหมาย 1.5 หมื่นคน โดยได้รับเบี้ยเลี้ยง 120 บาทต่อวัน
ส่วนอีก 5 โครงการ เช่น โครงการพลิกฟื้นคืนอาชีพ โครงการฟื้นฟูความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ประสบอุทกภัยนั้น ครม.เห็นว่า เป็นงานปกติ และมีความซ้ำซ้อนกับโครงการที่แต่ละจังหวัดเสนอเข้ามา จึงไม่ได้อนุมัติ