ก.แรงงาน ชง พม.เสนอคณะกรรมการผู้สูงอายุที่มีนายกฯ เป็นประธานแต่งตั้งอนุกรรมการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ ด้านคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติแนะเร่งจัดทำแผนงานฝึกอาชีพ-จ้างงานผู้สูงอายุรองรับ
นางอำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กระทรวง แรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ที่มีนายกีรศักดิ์ จันทรจรัสวัฒน์ อดีตรองปลัดกระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานได้แสดงความเป็นห่วงและเสนอแนวทางการดูแลสูงอายุให้มีงานทำที่มีอายุหลัง 60 ปีขึ้นไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 8 ล้านคน ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 10.2 ล้านคน หรือคิดเป็นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4
นางอำมรกล่าวอีกว่า คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาฯ ได้เสนอให้กระทรวงแรงงานไปจัดทำนโยบาย แผนงาน และการบริหารจัดการการอบรมวิชาชีพ รวมถึงการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พม. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองในการฝึกอาชีพและประกอบอาชีพที่เหมาะสม ทั้งนี้ ตนจะนำข้อเสนอนี้ไปรายงานต่อนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ต่อไป
ที่ปรึกษาวิชาการ กระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้เสนอรายชื่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่ง คณะอนุกรรมการฯชุดนี้มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และกรรมการที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงแรงงาน กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเครือข่ายด้านผู้สูงอายุประมาณ 25 คน ไปยังปลัด พม.ที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเพื่อ พิจารณานำเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุฯที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯมีหน้าที่จัดทำแผนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำที่เหมาะสมกับวัย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยยึดตามแผนแม่บทด้านแรงงานปี 2555-2559 ที่ให้มีการส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาระบบการแนะแนวอาชีพที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
“ในส่วนของกระทรวงแรงงานก็สามารถแบ่งหน้าที่ในการดูแลการอบรมวิชาชีพและการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยกรมการจัดหางาน (กกจ.) ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และบริการจัดหางานให้แก่ผู้สูงอายุ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) จัดอบรมอาชีพ เช่น การเป็นวิทยากรอบรม ให้ความรู้ด้านช่างฝีมือ หรือตามความเชี่ยวชาญของผู้สูงอายุแต่ละคน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ดูแลให้ผู้สูงอายุที่อายุเกิน 55 ปี ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ อย่างไรก็ตาม อยากให้ พม.ช่วยจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ชัดเจนว่าปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด เท่าไร อยู่ในพื้นที่ใดบ้าง และความเชี่ยวชาญด้านอาชีพ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดอบรมอาชีพและจัดหางานให้แก่ผู้สูงอายุ” นางอำมรกล่าว
นางอำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กระทรวง แรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ที่มีนายกีรศักดิ์ จันทรจรัสวัฒน์ อดีตรองปลัดกระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานได้แสดงความเป็นห่วงและเสนอแนวทางการดูแลสูงอายุให้มีงานทำที่มีอายุหลัง 60 ปีขึ้นไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 8 ล้านคน ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 10.2 ล้านคน หรือคิดเป็นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4
นางอำมรกล่าวอีกว่า คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาฯ ได้เสนอให้กระทรวงแรงงานไปจัดทำนโยบาย แผนงาน และการบริหารจัดการการอบรมวิชาชีพ รวมถึงการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พม. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองในการฝึกอาชีพและประกอบอาชีพที่เหมาะสม ทั้งนี้ ตนจะนำข้อเสนอนี้ไปรายงานต่อนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ต่อไป
ที่ปรึกษาวิชาการ กระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้เสนอรายชื่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่ง คณะอนุกรรมการฯชุดนี้มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และกรรมการที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงแรงงาน กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเครือข่ายด้านผู้สูงอายุประมาณ 25 คน ไปยังปลัด พม.ที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเพื่อ พิจารณานำเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุฯที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯมีหน้าที่จัดทำแผนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำที่เหมาะสมกับวัย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยยึดตามแผนแม่บทด้านแรงงานปี 2555-2559 ที่ให้มีการส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาระบบการแนะแนวอาชีพที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
“ในส่วนของกระทรวงแรงงานก็สามารถแบ่งหน้าที่ในการดูแลการอบรมวิชาชีพและการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยกรมการจัดหางาน (กกจ.) ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และบริการจัดหางานให้แก่ผู้สูงอายุ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) จัดอบรมอาชีพ เช่น การเป็นวิทยากรอบรม ให้ความรู้ด้านช่างฝีมือ หรือตามความเชี่ยวชาญของผู้สูงอายุแต่ละคน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ดูแลให้ผู้สูงอายุที่อายุเกิน 55 ปี ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ อย่างไรก็ตาม อยากให้ พม.ช่วยจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ชัดเจนว่าปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด เท่าไร อยู่ในพื้นที่ใดบ้าง และความเชี่ยวชาญด้านอาชีพ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดอบรมอาชีพและจัดหางานให้แก่ผู้สูงอายุ” นางอำมรกล่าว