กลุ่มแรงงานเรียกร้อง ก.แรงงาน ประสานโรงงานถูกน้ำท่วม ให้ข้อมูลแรงงาน ทั้งช่วงเปิดโรงงาน-ค่าจ้างค้างจ่าย แนะรัฐตั้งกองทุนช่วยลูกจ้าง ชี้กลุ่มซับคอนแทรค-ต่างด้าวน่าห่วง วอนรัฐฟรีค่าเข้าไทย ลดภาระต่างด้าวกลับเข้าทำงาน ด้านปลัดแรงงานแจง ใช้เอ็มโอยูนำต่างด้าวกลับทำงาน ขู่หากเปลี่ยนนายจ้างจะกลายเป็นแรงงานเถื่อนทันที
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึง ปัญหาน้ำท่วมที่กระทบต่อแรงงานในขณะนี้ ว่า อยากให้ภาครัฐเข้าไปประสานกับโรงงานในนิคมฯ ทั้งหมดเพื่อแจ้งให้แรงงานทราบถึงข้อมูลว่า โรงงานที่ทำงานอยู่จะเปิดเมื่อไหร่ และเงินเดือนค้างเก่าจะมีการจ่ายให้แรงงานตอนไหน โดยให้ทางกระทรวงแรงงานเข้ามาช่วยประสาน รวมถึงอยากเรียกร้องให้ทางรัฐบาลจัดหาเงินกองทุนเพื่อบรรเทาลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ด้วย
“ขณะนี้ปัญหาของแรงงาน คือ ไม่รู้อนาคตตัวเองเพราะเข้าไม่ถึงข้อมูลว่าจะได้กลับเข้าทำงานเมื่อไหร่ จะได้รับเงินเดือนที่ค้างไว้ตอนไหน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานแบบเหมาช่วงที่ได้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาจำนวนมาก เพราะน้ำท่วมจึงต้องถูกหยุดงาน ซึ่งแรงงานประเภทนี้จะไม่มีสหภาพแรงงาน ไม่มีเงินสำรอง จึงทำให้แรงงานกลุ่มนี้กังวลมาก หากนายจ้างที่ดีก็โชคดีไป แต่หากนายจ้างลอยแพก็ต้องไปร้องเรียนหรือดิ้นรนเอาเอง” นายชาลีกล่าว
นายชาลี กล่าวอีกว่า ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือกลุ่มแรงงานต่างด้าว ทั้งกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกต้อง ไม่ถูกต้อง และกำลังตรวจสอบคุณสมบัติ เพราะแรงงานเหล่านี้เราอาศัยเขาตอนที่เราขาดแรงงาน จึงอยากให้ดูแลเขาตอนเขามีปัญหาด้วย โดยเฉพาะปัญหาการเดินทางข้ามเขตของแรงงานต่างด้าว ที่มีความจำเป็นเพราะต้องการอพยพหนีน้ำ แต่ถูกตำรวจจับ ก็ขอให้อนุโลมหหรือปล่อยตัวแรงงานกลุ่มนี้ด้วย
“แรงงานต่างด้าวจำนวนมากได้หนีน้ำท่วมกลับเข้าประเทศตัวเอง ทั้งที่สัญญาการทำงานยังไม่หมด จึงอยากเรียกร้องให้ทางกระทรวงแรงงานงดการจ่ายค่าธรรมเนียมผ่านด่านหรือเข้าประเทศ ในกรณีที่แรงงานดังกล่าวต้องการกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระให้แก่แรงงานต่างด้าวที่ประสบภัยเหมือนกัน” ประธาน คสรท.กล่าว
ด้าน นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนกลุ่มแรงงานต่างด้าวหนีน้ำท่วมเดินทางกลับประเทศไปกว่า 1.2 แสนคน ก็จะนำกลับเข้ามาในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยผ่านระบบข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า ลาว และเขมร จึงขอให้สถานประกอบการที่ต้องการจ้างงานแรงงานต่างด้าวแจ้งจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ต้องการมายัง กกจ.เพื่อที่กระทรวงแรงงานจะได้ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและประเทศเพื่อนบ้านนำเข้าแรงงานต่างด้าวผ่านระบบเอ็มโอยู
“ขอฝากไปถึงนายจ้างและกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่หนีน้ำท่วมกลับประเทศซึ่งได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในไทยชั่วคราวโดยได้รับใบ ทร.38/1 ไปแล้ว รวมทั้งแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว เมื่อกลับเข้ามาในไทยแล้วก็ขอให้กลับเข้ามาทำงานกับนายจ้างเดิม หากเปลี่ยนนายจ้างใหม่จะกลายเป็นแรงงานต่างด้าวเถื่อน และจะต้องถูกผลักดันกลับประเทศ เนื่องจากในปีหน้ากระทรวงแรงงานมีนโยบายที่จะให้สถานประกอบการต่างๆ จ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายเท่านั้น” ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึง ปัญหาน้ำท่วมที่กระทบต่อแรงงานในขณะนี้ ว่า อยากให้ภาครัฐเข้าไปประสานกับโรงงานในนิคมฯ ทั้งหมดเพื่อแจ้งให้แรงงานทราบถึงข้อมูลว่า โรงงานที่ทำงานอยู่จะเปิดเมื่อไหร่ และเงินเดือนค้างเก่าจะมีการจ่ายให้แรงงานตอนไหน โดยให้ทางกระทรวงแรงงานเข้ามาช่วยประสาน รวมถึงอยากเรียกร้องให้ทางรัฐบาลจัดหาเงินกองทุนเพื่อบรรเทาลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ด้วย
“ขณะนี้ปัญหาของแรงงาน คือ ไม่รู้อนาคตตัวเองเพราะเข้าไม่ถึงข้อมูลว่าจะได้กลับเข้าทำงานเมื่อไหร่ จะได้รับเงินเดือนที่ค้างไว้ตอนไหน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานแบบเหมาช่วงที่ได้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาจำนวนมาก เพราะน้ำท่วมจึงต้องถูกหยุดงาน ซึ่งแรงงานประเภทนี้จะไม่มีสหภาพแรงงาน ไม่มีเงินสำรอง จึงทำให้แรงงานกลุ่มนี้กังวลมาก หากนายจ้างที่ดีก็โชคดีไป แต่หากนายจ้างลอยแพก็ต้องไปร้องเรียนหรือดิ้นรนเอาเอง” นายชาลีกล่าว
นายชาลี กล่าวอีกว่า ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือกลุ่มแรงงานต่างด้าว ทั้งกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกต้อง ไม่ถูกต้อง และกำลังตรวจสอบคุณสมบัติ เพราะแรงงานเหล่านี้เราอาศัยเขาตอนที่เราขาดแรงงาน จึงอยากให้ดูแลเขาตอนเขามีปัญหาด้วย โดยเฉพาะปัญหาการเดินทางข้ามเขตของแรงงานต่างด้าว ที่มีความจำเป็นเพราะต้องการอพยพหนีน้ำ แต่ถูกตำรวจจับ ก็ขอให้อนุโลมหหรือปล่อยตัวแรงงานกลุ่มนี้ด้วย
“แรงงานต่างด้าวจำนวนมากได้หนีน้ำท่วมกลับเข้าประเทศตัวเอง ทั้งที่สัญญาการทำงานยังไม่หมด จึงอยากเรียกร้องให้ทางกระทรวงแรงงานงดการจ่ายค่าธรรมเนียมผ่านด่านหรือเข้าประเทศ ในกรณีที่แรงงานดังกล่าวต้องการกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระให้แก่แรงงานต่างด้าวที่ประสบภัยเหมือนกัน” ประธาน คสรท.กล่าว
ด้าน นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนกลุ่มแรงงานต่างด้าวหนีน้ำท่วมเดินทางกลับประเทศไปกว่า 1.2 แสนคน ก็จะนำกลับเข้ามาในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยผ่านระบบข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า ลาว และเขมร จึงขอให้สถานประกอบการที่ต้องการจ้างงานแรงงานต่างด้าวแจ้งจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ต้องการมายัง กกจ.เพื่อที่กระทรวงแรงงานจะได้ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและประเทศเพื่อนบ้านนำเข้าแรงงานต่างด้าวผ่านระบบเอ็มโอยู
“ขอฝากไปถึงนายจ้างและกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่หนีน้ำท่วมกลับประเทศซึ่งได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในไทยชั่วคราวโดยได้รับใบ ทร.38/1 ไปแล้ว รวมทั้งแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว เมื่อกลับเข้ามาในไทยแล้วก็ขอให้กลับเข้ามาทำงานกับนายจ้างเดิม หากเปลี่ยนนายจ้างใหม่จะกลายเป็นแรงงานต่างด้าวเถื่อน และจะต้องถูกผลักดันกลับประเทศ เนื่องจากในปีหน้ากระทรวงแรงงานมีนโยบายที่จะให้สถานประกอบการต่างๆ จ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายเท่านั้น” ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว