สภานายจ้างผนึกสภาลูกจ้าง ยื่นข้อเสนอกระทรวงแรงงาน ขอร่วมเป็นคณะกรรมการเยียวยาน้ำท่วมชุดใหญ่ ชี้ภาคเอกชนไม่ใช่มีแต่สภาอุตฯ
วันนี้ (3 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน ได้มีการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงแรงงาน สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย และสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย รวม 26 องค์กร โดยนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน พร้อมทั้งนายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรมว.แรงงาน ร่วมประชุมเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
นพ.สมเกียรติกล่าวหลังประชุมว่า ที่ ประชุมมีความเห็นร่วมกันที่จะให้ตั้งคณะกรรมการไตรภาคี 3 ฝ่าย โดยมีฝ่ายกระทรวงแรงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้าง ทุกองค์กร เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้างที่เดือดร้อน จากน้ำท่วม รวมทั้งตั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 1-2 คน เพื่อเข้าไปเป็นกรรมการร่วมในคณะกรรมการเยียวยาเพื่อสังคมที่มี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
ทั้งนี้ คณะกรรมการไตรภาคีกระทรงแรงงานจะจัดทำรายละเอียดในการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินนายจ้างและลูกจ้างที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปเหล่านี้ตนจะเสนอต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ร่วมหารือด้วย โดยวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ไอแอลโอจะพาผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาหารือร่วมกับกระทรวงแรงงาน พร้อมกับนายจ้างและลูกจ้าง หลังจากนั้นจะลงพื้นที่สำรวจผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อเยียวยาและฟื้นฟู โดยจะเริ่มที่จังหวัดนครสวรรค์และลพบุรีก่อน เนื่องจากน้ำเริ่มลดลงแล้ว
นายสรยุทธ ศิริวรรณ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานเสรีแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้นายจ้างและลูกจ้างได้รับความเดือดร้องอย่างมาก จึงอยากให้รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับแค่ 75% ของค่าจ้างแต่ละเดือน ทำอย่างไรที่จะให้ได้เต็ม 100% รวมทั้งกรณีลูกจ้างไปทำงานที่อื่นชั่วคราว ก็ไม่อยากให้ถูกสถานประกอบการเดิมเลิกจ้าง
“ที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มากกว่า สภาองค์การนายจ้างและลูกจ้างทั้งที่พวกเราต่างได้รับความเดือดร้อนเหมือนกัน ซี่งมาตรการความช่วยเหลือควรจะต้องออกมาจากทุกภาคส่วนไม่ใช่มองแค่สภาอุตฯ อย่างเดียว” นายสรยุทธกล่าว
ขณะที่นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับบทบาทของสภาองค์การนายจ้างและลูกจ้างมากขึ้น เพราะเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เนื่องจากหากเปรียบไปแล้วสภาองค์กรนายจ้างเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งให้ความสำคัญแรงงานควบคู่ไปกับการจ้างงาน ขณะที่สภาอุตฯเขาดูแต่เครื่องจักร และการผลิต โดยอยากให้ทางสภาองค์การนายจ้างและลูกจ้างเข้ามามีบทบาทบ้าง เพราะทั้ง 2 สภานี้ทำงานและมีส่วนร่วมกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างใกล้ชิด โดยข้อเสนอในวันนี้คืออยากให้ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเข้าไปในรูปแบบของคณะกรรมการ พร้อมกับกระทรวงแรงงานในรูปแบบไตรภาคี
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีที่มีความเป็นห่วงว่าหลังวิกฤติน้ำท่วมแล้วแรงงานจะตก งานจำนวนมากนั้น นางสิริวันกล่าวว่า หากเป็นลูกจ้างในระบบนั้น ช่วงระหว่างน้ำท่วมจะไม่ตกงาน ห่วงแต่ลูกจ้างเหมาช่วงและลูกจ้างต่างด้าวที่อาจได้รับผลกระทบ ส่วนช่วงหลังน้ำท่วมนั้นคิดว่าผู้ประกอบการจะต้องการแรงงานจำนวนมาก และไม่อยากเสียแรงงานเก่า เพราะโรงงานปิดไปนานจึงต้องมีการเร่งการผลิต ซึ่งตอนนี้เป็นช่วงที่ต้องรักษาแรงงานไว้ และอยากเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบประกันสังคมแทนนายจ้างและลูกจ้างใน บางส่วน
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมกรสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ อยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า โดย การออกเป็นคูปองแจกให้กับแรงงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน เพื่อนำไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และขอให้รัฐบาลพักชำระหนี้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ เนื่องจากขณะนี้แรงงานได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมขาดรายได้จากการ หยุดงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมโดยเฉพาะฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างต่างออกมาคัดค้านเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ควรที่จะลดเงินสมทบประกันสังคมเพื่อช่วยน้ำท่วม เนื่องจากเกรงว่าจะส่งกระทบต่อกองทุนในระยะยาว และยังเห็นว่าไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
วันนี้ (3 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน ได้มีการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงแรงงาน สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย และสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย รวม 26 องค์กร โดยนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน พร้อมทั้งนายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรมว.แรงงาน ร่วมประชุมเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
นพ.สมเกียรติกล่าวหลังประชุมว่า ที่ ประชุมมีความเห็นร่วมกันที่จะให้ตั้งคณะกรรมการไตรภาคี 3 ฝ่าย โดยมีฝ่ายกระทรวงแรงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้าง ทุกองค์กร เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้างที่เดือดร้อน จากน้ำท่วม รวมทั้งตั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 1-2 คน เพื่อเข้าไปเป็นกรรมการร่วมในคณะกรรมการเยียวยาเพื่อสังคมที่มี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
ทั้งนี้ คณะกรรมการไตรภาคีกระทรงแรงงานจะจัดทำรายละเอียดในการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินนายจ้างและลูกจ้างที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปเหล่านี้ตนจะเสนอต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ร่วมหารือด้วย โดยวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ไอแอลโอจะพาผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาหารือร่วมกับกระทรวงแรงงาน พร้อมกับนายจ้างและลูกจ้าง หลังจากนั้นจะลงพื้นที่สำรวจผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อเยียวยาและฟื้นฟู โดยจะเริ่มที่จังหวัดนครสวรรค์และลพบุรีก่อน เนื่องจากน้ำเริ่มลดลงแล้ว
นายสรยุทธ ศิริวรรณ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานเสรีแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้นายจ้างและลูกจ้างได้รับความเดือดร้องอย่างมาก จึงอยากให้รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับแค่ 75% ของค่าจ้างแต่ละเดือน ทำอย่างไรที่จะให้ได้เต็ม 100% รวมทั้งกรณีลูกจ้างไปทำงานที่อื่นชั่วคราว ก็ไม่อยากให้ถูกสถานประกอบการเดิมเลิกจ้าง
“ที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มากกว่า สภาองค์การนายจ้างและลูกจ้างทั้งที่พวกเราต่างได้รับความเดือดร้อนเหมือนกัน ซี่งมาตรการความช่วยเหลือควรจะต้องออกมาจากทุกภาคส่วนไม่ใช่มองแค่สภาอุตฯ อย่างเดียว” นายสรยุทธกล่าว
ขณะที่นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับบทบาทของสภาองค์การนายจ้างและลูกจ้างมากขึ้น เพราะเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เนื่องจากหากเปรียบไปแล้วสภาองค์กรนายจ้างเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งให้ความสำคัญแรงงานควบคู่ไปกับการจ้างงาน ขณะที่สภาอุตฯเขาดูแต่เครื่องจักร และการผลิต โดยอยากให้ทางสภาองค์การนายจ้างและลูกจ้างเข้ามามีบทบาทบ้าง เพราะทั้ง 2 สภานี้ทำงานและมีส่วนร่วมกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างใกล้ชิด โดยข้อเสนอในวันนี้คืออยากให้ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเข้าไปในรูปแบบของคณะกรรมการ พร้อมกับกระทรวงแรงงานในรูปแบบไตรภาคี
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีที่มีความเป็นห่วงว่าหลังวิกฤติน้ำท่วมแล้วแรงงานจะตก งานจำนวนมากนั้น นางสิริวันกล่าวว่า หากเป็นลูกจ้างในระบบนั้น ช่วงระหว่างน้ำท่วมจะไม่ตกงาน ห่วงแต่ลูกจ้างเหมาช่วงและลูกจ้างต่างด้าวที่อาจได้รับผลกระทบ ส่วนช่วงหลังน้ำท่วมนั้นคิดว่าผู้ประกอบการจะต้องการแรงงานจำนวนมาก และไม่อยากเสียแรงงานเก่า เพราะโรงงานปิดไปนานจึงต้องมีการเร่งการผลิต ซึ่งตอนนี้เป็นช่วงที่ต้องรักษาแรงงานไว้ และอยากเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบประกันสังคมแทนนายจ้างและลูกจ้างใน บางส่วน
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมกรสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ อยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า โดย การออกเป็นคูปองแจกให้กับแรงงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน เพื่อนำไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และขอให้รัฐบาลพักชำระหนี้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ เนื่องจากขณะนี้แรงงานได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมขาดรายได้จากการ หยุดงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมโดยเฉพาะฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างต่างออกมาคัดค้านเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ควรที่จะลดเงินสมทบประกันสังคมเพื่อช่วยน้ำท่วม เนื่องจากเกรงว่าจะส่งกระทบต่อกองทุนในระยะยาว และยังเห็นว่าไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง