xs
xsm
sm
md
lg

มช.เผยไทยครองแชมป์โรคพยาธิใบไม้ตับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ร่วมมือ ไออาร์ดี ประชุมวิชาการ “มิติทางสังคมและนิเวศวิทยาของโรคติดเชื้อ” ร่วมนานาชาติ  ชูโรคนำโดยแมลงและโรคจากสัตว์สู่คน เป็นฐานพัฒนางานวิจัย ต้องรับมือโรคระบาด ขณะ มช.เผยไทยครองแชมป์โรคพยาธิใบไม้ตับ เร่งระดมสมองแก้ปัญหา 
 

วันนี้ (6 ต.ค.) รศ.ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการเปิดประชุมวิชาการ “มิติทางสังคมและนิเวศวิทยาของโรคติดเชื้อ (Social and Ecological Dimension of Infectious Diseases)” หรือชื่อย่อว่า SEDID ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 ต.ค. 2554 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนา  สถานทูตฝรั่งเศส หรือ ไออาร์ดี (Institut de recherche pour le développement : IRD  ประจำประเทศไทย และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ว่า  ในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมรวมของนักวิชาการและผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อสุขภาพและการอุบัติของโรคติดเชื้อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญแต่ละศาสตร์สาขาเกี่ยวกับ การระบาดของโรคติดเชื้อเมื่อสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  การจัดการทรัพยากร และการศึกษาความสัมพันธ์ของโรคต่างๆที่สัมพันธ์กันระหว่าง คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการระดมสมอง ของนักวิจัยต่างสาขาและเกิดการสังเคราะห์แนวทางการทำวิจัยที่เชื่อมโยงความ รู้แขนงต่างเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างยั่งยืน โดยมีบุคลากรจากหลายประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ ไทย ฝรั่งเศส ลาว อินเดีย  เวียดนาม นอร์เวย์ กัมพูชา และ บรูไน
               

รศ.ประตาป กล่าวต่อว่า  สำหรับประเด็นหลักที่น่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด ก็คือ เรื่องของการนำเสนอวิกฤติการณ์ของโรคที่นำโดยแมลง เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย และโรคจากสัตว์สู่คน เช่น ไข้สมองอักเสบ ไข้ฉี่หนู รวมทั้งไข้หวัดนกด้วย   และโรคซึ่งเกิดจากเชื้อซาโมเนลลาที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะใช้แค่ความรู้ทางการแพทย์เข้ามาป้องกันและควบคุมไม่ได้ แต่จำเป็นต้องบูรณาการหลากหลายอย่าง ทั้งด้านสัตวแพทย์ นิเวศวิทยา ระบาด และกระทั่งด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัจจุบันมีทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีอัตราการป่วยทางกายที่มีสาเหตุจากสัตว์เป็นพาหะมากถึง 70-80 % และมีแนวโน้มจะเกิดโรคดังกล่าวในเขตเมืองถึง 50% ของพื้นที่ทั่วประเทศ เช่นกรณีโรคฉี่หนูที่ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเตือนบ่อยๆ ก็น่าห่วงเช่นกันโดยเฉพาะช่วงน้ำท่วม

“จากความเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ไปฝืนธรรมชาตินั้น ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพหลายอย่าง เช่น การรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำเกษตร โอกาสที่สัตว์เลี้ยงกับสัตว์ป่าเจอกันแล้วก่อโรคก็มีอยู่มาก อย่างกรณีเชื้อนิปปาที่มีต้นกำเนิกจากมาเลเซีย ซึ่งถ่ายทดจากค้างคาวป่าสู่หมูที่เลี้ยงแล้วถ่ายทอดสู่คน ก็นับเป็นปรากฏการณ์หลากมิตติที่กระทบต่อสุขภาพประชากรโลกเช่นกัน หรือกรณีการทำเกษตรเชิงอุตสาหกรรมที่พยายามจะเพิ่มผลผลิตให้มากโดยการเร่งฮอร์โมน ใช้สารเคมี ใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์เลี้ยงก็ล้วนแล้วแต่ก่อเกิดเชื้อดื้อยาง่ายดาย ซึ่งส่วนนี้ทุกภาคส่วนต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง หากสามารถศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคน สัตว์ สิ่งแวดล้อมได้ก็ย่อมจะป้องกันง่ายขึ้น”  รศ.ประตาป กล่าว

รศ.ประตาป กล่าวด้วยว่า และเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปีนี้องค์การ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development-USAID) ได้มอบงบประมาณให้มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.)ได้พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการป้องกันและรักษาโรคแบบบูรณาการ ทั้งด้านแพทยศาสตร์ สัตวศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เพื่อผลิตกำลังคนที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และ ไทย ซึ่งจะจัดประชุมแผนในเดือน ธ.ค.นี้ที่เวียดนาม

ด้าน รศ.น.สพ.ดร.เลิศรัก ศรีกิจการ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงตัวอย่างพฤติกรรมของคนที่บริโภคเนื้อสัตว์ว่า  สำหรับโรคที่น่าห่วงเกี่ยวกับการบรอโภคจองคนไทย ในขณะนี้นั้น คือ โรคพยาธิใบไม้ตับ (Liver Fluke) ซึ่งในปี 2551 นั้นพบว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน มีอัตราการเกิดโรคดังกล่าวสูงถึง 70% ขณะที่ประเทศไทยเป็นแชมป์ของโลกที่มีผู้ป่วยมะเร็งตับอันมีสาเหตุจากการกินเนื้อดิบ  ทั้งๆ ที่โรคดังกล่าวเกิดขึ้นในครั้งแรกที่เวียดนาม แต่อัตราการบริโภคของคนไทยกลับรุนแรงกว่า ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประชุมวางแผนการรับมืออย่างจริงจังเพื่อให้ประชาชนรับรู้ถึงสัญญาณอันตรายของโรคที่กำลังคุกคาม  

รศ.น.สพ.ดร.เลิศรัก กล่าวต่อว่า นอกจาโรคพยาธิแล้วสิ่งที่น่ากังวลว่าอาจเกิดขึ้นในไม่ช้า ก็คือโรคไข้หวัดนกเพราะเพียงแค่พื้นที่เดียวใน จ.เชียงใหม่ พบว่า เกษตรกรนิยมเลี้ยงสัตว์ปีกแบบเปิดในบริเวณบ้านเรือนซึ่งมีมากกราว 25% ของพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้นหากโรคไข้หวัดนกมีการกลายพันธ์ก็หมายความว่า กลุ่มที่เลี้ยงในบริเวณบ้านเรือนมีโอกาสเสี่ยงที่จะรับเชื้อได้ง่าย

“ขณะเดียวกัน เรื่องของการประเมินความเสี่ยงเชื้อโรคจากสุนัขก็ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ เพราะจากเหตุการณ์การนำสุนัขส่งขายในต่างประเทศที่ผ่านมานั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้เลี้ยงไม่สามารถรักษาสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัยได้ บางรายเลี้ยงแล้วปล่อยอิสระจนไปเผชิญโรคภัยภายนอก ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเมื่อไม่สามารถประคองชีวิตของสัตว์เลี้ยงได้มักจบลงด้วยการขาย คือ ทำลายทางอ้อม ส่วนนี้นักวิชาการกำลังเร่งศึกษาอยู่ว่า จะก่อโรคในลักษณะใดได้บ้าง ดังนั้นเมื่อความสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ  มนุษย์ก้ต้องรู้เท่าทันและเตรียมรับมือ โดยคาดว่าการประชุมวิชาการคครั้งนี้จะช่วยให้แลกเปลี่ยนความรู้การจักการสุขภาพได้ในระดับนานาชาติ” รศ.น.สพ.ดร.เลิศรัก กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น