สธ.จัดประชุมวิชาการประจำปี 2554 เปิดเวทีเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพบุคลากร หวังยกระดับการบริการด้านสุขภาพไทยให้เป็นผู้นำเมดิคัลฮับในเอเชีย
วันนี้ (8 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2554 “เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา สุขภาพดีถ้วนหน้า ด้วยสาธารณสุขไทย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2554 มีแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พยาบาล นักวิชาการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศร่วมประชุมกว่า 4,000 คน
นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าและขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในอุตสาหกรรมภาคบริการ ซึ่งรวมถึงบริการทางการแพทย์ด้วย เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการศึกษาวิจัย เพื่อนำนวตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการตรวจ วินิจฉัยโรค และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ ให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการรักษาพยาบาล
นายวิทยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งประเทศ จะต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การประชุมวิชาการในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่วิชาการ การศึกษาวิจัยพัฒนาจากพื้นที่ต่างๆ สู่กลุ่มบุคลากรด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับการบริการด้านสุขภาพของไทย ให้เป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ในเอเชียด้วย และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมใจสนองพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี แข็งแรง และพระราชกรณียกิจของพระองค์มาเป็นหลักในการทำบทบาทภารกิจหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด เพื่อถวายเป็นเบื้องพระยุคลบาท
ด้าน นพ.ไพจิตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้ มีการนำเสนอและประกวดผลงานศึกษาวิจัย 7 สาขา ได้แก่ การแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข และการบริหารจัดการ รวม 507 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ 205 เรื่อง
นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมประจำปี 2553 ทั้งหมด 5 รางวัล รางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยม 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ฝ่าวิกฤตตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลขอนแก่น” ของ นางพิมพ์วรา อัครเธียรสิน โรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับโล่และเงินรางวัล 30,000 บาท รางวัลวิชาการดีเด่น 3 รางวัล ได้รับโล่และเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ 1.เรื่องปริมาณไวรัสและระยะเวลาในการขับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ขณะเกิดโรคระบาดในสถาบัน จังหวัดนครราชสีมา 2552 ของนพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
2.เรื่องการพัฒนาการผลิตกุ้งจ่อม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ของนางขวัญเนตร ศรีเสมอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ 3.เรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยขึ้น - ลงรถเข็นคนพิการ ของนางทัศวรรณ กันทาทอง โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และรางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ผลการลดระยะเวลาภายหลังการใช้ระบบทางด่วนสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลกำแพงเพชร”ของนพ.สมเพ็ง โชคเฉลิมวงศ์ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้รับโล่และเงินรางวัล 10,000 บาท
นอกจากนี้กลุ่มสภาอุตสาหกรรมมาบตาพุต ยังขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหารือแก้ไขปัญหามาตาพุต โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หารือแทน ซึ่งทางผู้ประกอบการเรียกร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับเป็นกลางในการแก้ไข ปัญหา หลังจากที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และในพื้นที่มีปัญหาเรื่องความหวาดระแวงของชาวบ้าน โดยคาดว่าจะมีหน่วยกลาง 4 ฝ่าย เข้ามาร่วมแก้ไข ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และนักวิชาการ เพื่อหารือร่วมกัน โดยในอนาคตอาจเป็นโมเดลในการใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ในนิคมอุสาหกรรมหลายพื้นที่
สำหรับสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน ยังคงมีการติดตามปัญหาผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และได้มีการยกระดับรพ.มาบตาพุต ให้เป็นรพ.ขนาดใหญ่ 200 เตียงแล้ว
วันนี้ (8 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2554 “เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา สุขภาพดีถ้วนหน้า ด้วยสาธารณสุขไทย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2554 มีแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พยาบาล นักวิชาการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศร่วมประชุมกว่า 4,000 คน
นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าและขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในอุตสาหกรรมภาคบริการ ซึ่งรวมถึงบริการทางการแพทย์ด้วย เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการศึกษาวิจัย เพื่อนำนวตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการตรวจ วินิจฉัยโรค และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ ให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการรักษาพยาบาล
นายวิทยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งประเทศ จะต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การประชุมวิชาการในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่วิชาการ การศึกษาวิจัยพัฒนาจากพื้นที่ต่างๆ สู่กลุ่มบุคลากรด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับการบริการด้านสุขภาพของไทย ให้เป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ในเอเชียด้วย และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมใจสนองพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี แข็งแรง และพระราชกรณียกิจของพระองค์มาเป็นหลักในการทำบทบาทภารกิจหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด เพื่อถวายเป็นเบื้องพระยุคลบาท
ด้าน นพ.ไพจิตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้ มีการนำเสนอและประกวดผลงานศึกษาวิจัย 7 สาขา ได้แก่ การแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข และการบริหารจัดการ รวม 507 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ 205 เรื่อง
นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมประจำปี 2553 ทั้งหมด 5 รางวัล รางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยม 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ฝ่าวิกฤตตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลขอนแก่น” ของ นางพิมพ์วรา อัครเธียรสิน โรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับโล่และเงินรางวัล 30,000 บาท รางวัลวิชาการดีเด่น 3 รางวัล ได้รับโล่และเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ 1.เรื่องปริมาณไวรัสและระยะเวลาในการขับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ขณะเกิดโรคระบาดในสถาบัน จังหวัดนครราชสีมา 2552 ของนพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
2.เรื่องการพัฒนาการผลิตกุ้งจ่อม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ของนางขวัญเนตร ศรีเสมอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ 3.เรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยขึ้น - ลงรถเข็นคนพิการ ของนางทัศวรรณ กันทาทอง โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และรางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ผลการลดระยะเวลาภายหลังการใช้ระบบทางด่วนสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลกำแพงเพชร”ของนพ.สมเพ็ง โชคเฉลิมวงศ์ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้รับโล่และเงินรางวัล 10,000 บาท
นอกจากนี้กลุ่มสภาอุตสาหกรรมมาบตาพุต ยังขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหารือแก้ไขปัญหามาตาพุต โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หารือแทน ซึ่งทางผู้ประกอบการเรียกร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับเป็นกลางในการแก้ไข ปัญหา หลังจากที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และในพื้นที่มีปัญหาเรื่องความหวาดระแวงของชาวบ้าน โดยคาดว่าจะมีหน่วยกลาง 4 ฝ่าย เข้ามาร่วมแก้ไข ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และนักวิชาการ เพื่อหารือร่วมกัน โดยในอนาคตอาจเป็นโมเดลในการใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ในนิคมอุสาหกรรมหลายพื้นที่
สำหรับสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน ยังคงมีการติดตามปัญหาผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และได้มีการยกระดับรพ.มาบตาพุต ให้เป็นรพ.ขนาดใหญ่ 200 เตียงแล้ว