xs
xsm
sm
md
lg

ปลัดแรงงานยัน 300 บ.ไม่ล้ม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


          

ปลัดแรงงาน ยันเดินหน้าค่าจ้าง 300 บาท ชงบอร์ดค่าจ้างกลางปลาย ก.ย.นี้ ให้ปรับฐานค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศขึ้น  40%  ชี้คณะกรรมการไตรภาคียึดหลักประชาธิปไตยเคาะตัวเลขสุดท้าย หากสรุปไม่ได้ ต้องใช้มติเสียงข้างมาก

           

 

วันนี้ (15 ก.ย.) นพ.สมเกียรติ  ฉายะศรีวงศ์   ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงกรณีกรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง ไม่เห็นด้วยกับการนำร่องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ใน 7 จังหวัด  เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี และเรียกร้องให้ปรับค่าจ้างแบบขั้นบันไดภายใน 4 ปี ว่า เมื่อนายจ้างไม่เห็นด้วยกับการนำร่องปรับค่าจ้าง 7 จังหวัด ก็ไม่มีปัญหาใดๆ    อย่างไรก็ตาม เรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนั้นภาครัฐจะต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน  เพื่อที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้ได้   ซึ่งโดยส่วนตัวมีจุดยืนว่า  จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 40% จากฐานค่าจ้างขั้นต่ำเดิมใน 77 จังหวัดพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม ปี 2555  และจะทยอยปรับค่าจ้างให้ได้  300 บาทต่อวันครบทุกจังหวัดภายในปี 2556  และจะเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างกลางในการประชุมครั้งหน้าช่วงสิ้นเดือนกันยายนนี้

          

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า  ในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางเมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการตั้งคณะทำงานของคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อสรุปมาตรการรอง รับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของแต่ละฝ่ายทั้งภาครัฐ  นายจ้างและลูกจ้างภายใน 2 สัปดาห์  รวม ทั้งจะเร่งให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดแต่ละจังหวัดสรุปข้อมูลผลสำรวจค่าครองชีพของลูกจ้างและค่าใช้จ่ายของนายจ้างโดยคณะทำงาน และคณะอนุกรรมการค่า จ้างจังหวัดฯสรุปข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างกลางในการประชุมครั้งหน้า

           

 

“เรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท  ต้อง มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร และทำให้ได้ตามเป้าหมายนั้น ตอนนี้ผ่านมาหลายเดือนแล้วที่มีการศึกษาข้อมูลและการเตรียมมาตรการรองรับ  แต่ยังไม่มีข้อยุติที่ชัดเจน ถ้ารอจนกว่าให้ทุกฝ่ายตกลงกันได้ก็คงจะช้าเกินไป ผมมีจุดยืนที่จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 40% จากฐานค่าจ้างขั้นต่ำเดิมใน 77 จังหวัดพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม ปี 2555  ไปเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางในช่วงสิ้นเดือนกันยายนนี้  ซึ่งการพิจารณาจะเป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย ให้ทั้ง 3 ฝ่าย ได้ร่วมลงมติตามระบบไตรภาคี  ทั้งนี้ มั่นใจว่ามาตรการรองรับของรัฐต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษีจะช่วยลดต้นทุนให้แก่นายจ้างได้” นพ.สมเกียรติ กล่าว

   
ทั้งนี้ การพิจารณาปรับค่าจ้างของคณะกรรมการค่าจ้างกลางประกอบด้วย 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐ 5 คน นายจ้าง 5 คนและลูกจ้าง 5 คน   หาก หาข้อสรุปไม่ได้จะใช้วิธีการโหวตและยึดเสียงข้างมาก ซึ่งที่ผ่านมาการใช้วิธีโหวตไม่ค่อยได้นำมาใช้ ส่วนใหญ่จะได้ข้อสรุปในที่ประชุม

          

นพ.เฉลิม  หาญพาณิชย์  ผู้ก่อตั้งกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ กล่าวว่า  ตามที่รัฐบาลมีนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท  และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทนั้นได้ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนต้องปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างให้แก่พยาบาลและบุคลากรให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล    ทำให้มีต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้นประมาณ 10%  หากไม่ดำเนินการ  จะทำให้พยาบาลและบุคลากรลาออกเป็นจำนวนมาก
กำลังโหลดความคิดเห็น