xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มหมอรุดฟ้องศาลปกครองเพิกถอนสิทธิการตาย ชี้ไม่เป็นธรรม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กลุ่มหมอ รุดฟ้องศาลปกครองสูงสุด ขอยกเลิก เพิกถอนกฎกระทรวง “สิทธิการตาย” ลั่นเป็นประเด็นที่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ยื่นฟ้องยกเซ็ต นายกฯ-รมว.สธ.เหตุ ครม.เห็นชอบให้ออกกฎไม่เป็นธรรม ด้าน “หมอเชิดชู” เสนอ สช.รับรองหนังสือเอง

วันนี้ (8 ส.ค.) นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ประจำ รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี เปิดเผยว่า เนื่องจากกฎกระทรวงการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 หรือ “สิทธิการตาย” นั้นออกโดยโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้น วันนี้ ตนพร้อมด้วย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ข้าราชการบำนาญ และ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล แพทย์ประจำ รพ.ราชวิถี ได้มอบหมายให้ทนายความเป็นตัวแทนยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุด พิจารณายกเลิก เพิกถอน กฎกระทรวงดังกล่าว
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ทำให้ตนตัดสินใจฟ้องศาลปกครอง คือ คือ 1.กฎกระทรวงดังกล่าวขัดต่อ มาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ซึ่งกำหนดให้แพทย์ต้องบำบัดโรค แต่กฎกระทรวงกลับให้แพทย์ยุติการรักษา อีกทั้งแพทย์ไม่ได้ถูกสอนมาให้หยุดช่วยชีวิตคน 2.ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน 3.สร้างภาระให้กับการจัดการบริการสาธารณสุข 4.ไม่มีการทำประชาพิจารณ์สอบถามความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะบุคลากรด้านสาธารณสุข ที่ถูกบังคับให้ทำตามกฎกระทรวงนี้ และอาจทำให้ประชาชนตายโดยไม่สมควรตาย เพราะไม่มีใครเป็นคนตัดสินว่าผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตที่แท้จริง ซึ่งหากทำการรักษาต่อไปอาจจะไม่เสียชีวิต และ 5.ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 80 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานแห่งวิชาชีพและเมื่อทำตามาตรฐานวิชาชีพจะได้รับการคุ้มครอง ดังนั้น หากตีความตามกฎกระทรวงนี้ว่าไม่เป็นการทำตามมาตรฐานวิชาชีพ แพทย์ก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ข้าราชการบำนาญ หนึ่งในผู้ยื่นฟ้อง กล่าวว่า การผลักดันให้ออกเป็นกฎกระทรวงนั้น เป็นการบังคับให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำตามความต้องการของผู้ป่วย หรือญาติ ทั้งที่แพทย์ต้องทำการรักษาผู้ป่วย จึงเหมือนเป็นการกระทำที่สวนทางกับความเป็นจริงที่แพทย์ควรจะเป็นผู้กำหนดแนวทางการรักษาผู้ป่วย แต่กลายเป็นผู้ป่วย หรือญาติมาสั่งให้แพทย์ไม่รักษา อาจเกิดปัญหาให้ลูก หรือญาติ มาร้องเรียนที่หลัง แพทย์อาจถูกฟ้องได้ง่าย จึงอยากให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะผู้ผลักดันกฎกระทรวงทำหน้าที่รับรองหนังสือแสดงเจตนาฯของผู้ป่วยว่าถูกต้องหรือไม่
กำลังโหลดความคิดเห็น