เครือข่ายผู้บริโภคเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ขอพบรัฐมนตรีสาธารณสุข อย่าเร่งรีบอนุมัติฉลากขนมจีดีเอเอาใจกลุ่มทุน ระบุฉลากจีดีเอไม่เป็นประโยชน์ผู้บริโภค
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะเสนอคณะกรรมการอาหาร พิจารณาร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด (ฉบับที่ 2) จากเดิมมีลักษณะเป็นตารางโภชนาการทั่วไป เป็นฉลาก “จีดีเอ” (GDA=Guideline Daily Amounts) โดยไม่เอาฉลากสัญญาณไฟจราจร ในวันที่ 7 เมษายนนี้ ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ภายในกลางปี 2554 นั้น
นายอิสราวุธ ทองคำ ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัด กล่าวว่า ในวันที่ 7 เมษายนนี้ ตัวแทนเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัดจะไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการอาหาร, นายจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อขอให้ชะลอร่างประกาศกระทรวงฉลากจีดีเอออกไปก่อน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนผู้บริโภคตามมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริงและหน่วยงานที่จะตราและบังคับใช้กฎหมายและกฎใดๆต้องรับฟังความคิดเห็น
“แม้จนถึงขณะนี้ยังไม่มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แต่อย.และคณะกรรมการอาหารต้องรับฟังความคิดเห็น มิเช่นนั้นจะเสี่ยงกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับคดีมาบตาพุด นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ให้ใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม แต่สิ่งที่ อย.กำลังดำเนินการอยู่ถือว่าขัดกับมติ ครม.อย่างชัดเจนซึ่งในวันที่ 7 นี้เราจะไปขอพบรัฐมนตรีสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์เพื่อสอบถามว่า เป็นความจริงหรือไม่ที่ขณะนี้มีข่าวลือหนาหูในสำนักงาน อย.ว่า งานนี้ เจ้ากระทรวงสั่งมาเพราะใกล้เลือกตั้งและยังมีคำสั่งปรามให้หน่วยราชการและทีมวิชาการในกระทรวงฯหยุดเคลื่อนไหวเรื่องนี้ จนถึงขณะนี้เรายังไม่อยากเชื่อข่าว เพราะคุณจุรินทร์ให้ความสนใจงานคุ้มครองผู้บริโภคมาโดยตลอด แต่กลุ่มทุนอุตสาหกรรมอาหารค้านการติดฉลากสัญญาณไฟจราจรอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้บริโภครู้จักเลือกซื้อ ดังนั้นอาจกำลังพยายามทำทุกทางเพื่อล็อบบี้เรื่องนี้ให้ผ่านในปลายรัฐบาลอย่างนี้ โดยมีทุนสำรองสำหรับการเลือกตั้งเป็นข้อแลกเปลี่ยน”
ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัด กล่าวอีกว่า อยากขอให้คณะกรรมการอาหารอย่าเพิ่งเร่งรีบอนุมัติ แม้ว่าขณะนี้กรรมการอาหารทุกท่านกำลังถูกโทรล็อบบี้ให้สนับสนุนอย่างหนักก็ตาม และขอให้สำนักอาหาร อย.หยุดการให้ข้อมูลที่สับสนแก่ประชาชน แต่ควรเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ในเชิงวิชาการอย่างชัดเจน และรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน
“รัฐธรรมนูญมาตรา 61 คุ้มครองสิทธิในการได้รับข้อมูลที่เป็นจริง หน่วยงานรัฐจะตรากฎอะไรต้องรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่มาบอกเราว่าฉลากจีดีเอดีอย่างเดียว ทั้งที่การใส่สีสัญญาณไฟจราจรและข้อความ สูง ปานกลาง และต่ำ ลงในฉลาก จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการเลือกบริโภคอาหารได้รวดเร็วและเหมาะสม ต่างกับการใช้เพียงจีดีเออย่างเดียว ที่ไม่มีการแยกระดับปริมาณสารอาหารระหว่าง สูง ปานกลาง และต่ำ ทำให้ผู้บริโภคพบปัญหาไม่สามารถเลือกอาหารเพื่อสุขภาพอย่างง่ายและรวดเร็วได้ อีกทั้งฉลากแบบจีดีเอ ที่มีสีเดียว ทำให้เห็นฉลากนี้ชัดเจนน้อยกว่าฉลากแบบอื่น จนบางครั้งกลืนไปกับบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมักใช้ฉลากแบบจีดีเอที่มีสีเดียวเพื่อหลบเลี่ยงความสนใจจากผู้บริโภคในค่าสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์แต่มีมากจนทำลายสุขภาพ
อนึ่ง เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัด ประกอบไปด้วย ตัวแทนจากเชียงใหม่, พะเยา, ขอนแก่น, ร้อยเอ็ด, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, กาญจนบุรี, สมุทรสงคราม, สตูล และกรุงเทพฯ เป็นสมาชิกของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะเสนอคณะกรรมการอาหาร พิจารณาร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด (ฉบับที่ 2) จากเดิมมีลักษณะเป็นตารางโภชนาการทั่วไป เป็นฉลาก “จีดีเอ” (GDA=Guideline Daily Amounts) โดยไม่เอาฉลากสัญญาณไฟจราจร ในวันที่ 7 เมษายนนี้ ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ภายในกลางปี 2554 นั้น
นายอิสราวุธ ทองคำ ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัด กล่าวว่า ในวันที่ 7 เมษายนนี้ ตัวแทนเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัดจะไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการอาหาร, นายจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อขอให้ชะลอร่างประกาศกระทรวงฉลากจีดีเอออกไปก่อน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนผู้บริโภคตามมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริงและหน่วยงานที่จะตราและบังคับใช้กฎหมายและกฎใดๆต้องรับฟังความคิดเห็น
“แม้จนถึงขณะนี้ยังไม่มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แต่อย.และคณะกรรมการอาหารต้องรับฟังความคิดเห็น มิเช่นนั้นจะเสี่ยงกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับคดีมาบตาพุด นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ให้ใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม แต่สิ่งที่ อย.กำลังดำเนินการอยู่ถือว่าขัดกับมติ ครม.อย่างชัดเจนซึ่งในวันที่ 7 นี้เราจะไปขอพบรัฐมนตรีสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์เพื่อสอบถามว่า เป็นความจริงหรือไม่ที่ขณะนี้มีข่าวลือหนาหูในสำนักงาน อย.ว่า งานนี้ เจ้ากระทรวงสั่งมาเพราะใกล้เลือกตั้งและยังมีคำสั่งปรามให้หน่วยราชการและทีมวิชาการในกระทรวงฯหยุดเคลื่อนไหวเรื่องนี้ จนถึงขณะนี้เรายังไม่อยากเชื่อข่าว เพราะคุณจุรินทร์ให้ความสนใจงานคุ้มครองผู้บริโภคมาโดยตลอด แต่กลุ่มทุนอุตสาหกรรมอาหารค้านการติดฉลากสัญญาณไฟจราจรอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้บริโภครู้จักเลือกซื้อ ดังนั้นอาจกำลังพยายามทำทุกทางเพื่อล็อบบี้เรื่องนี้ให้ผ่านในปลายรัฐบาลอย่างนี้ โดยมีทุนสำรองสำหรับการเลือกตั้งเป็นข้อแลกเปลี่ยน”
ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัด กล่าวอีกว่า อยากขอให้คณะกรรมการอาหารอย่าเพิ่งเร่งรีบอนุมัติ แม้ว่าขณะนี้กรรมการอาหารทุกท่านกำลังถูกโทรล็อบบี้ให้สนับสนุนอย่างหนักก็ตาม และขอให้สำนักอาหาร อย.หยุดการให้ข้อมูลที่สับสนแก่ประชาชน แต่ควรเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ในเชิงวิชาการอย่างชัดเจน และรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน
“รัฐธรรมนูญมาตรา 61 คุ้มครองสิทธิในการได้รับข้อมูลที่เป็นจริง หน่วยงานรัฐจะตรากฎอะไรต้องรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่มาบอกเราว่าฉลากจีดีเอดีอย่างเดียว ทั้งที่การใส่สีสัญญาณไฟจราจรและข้อความ สูง ปานกลาง และต่ำ ลงในฉลาก จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการเลือกบริโภคอาหารได้รวดเร็วและเหมาะสม ต่างกับการใช้เพียงจีดีเออย่างเดียว ที่ไม่มีการแยกระดับปริมาณสารอาหารระหว่าง สูง ปานกลาง และต่ำ ทำให้ผู้บริโภคพบปัญหาไม่สามารถเลือกอาหารเพื่อสุขภาพอย่างง่ายและรวดเร็วได้ อีกทั้งฉลากแบบจีดีเอ ที่มีสีเดียว ทำให้เห็นฉลากนี้ชัดเจนน้อยกว่าฉลากแบบอื่น จนบางครั้งกลืนไปกับบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมักใช้ฉลากแบบจีดีเอที่มีสีเดียวเพื่อหลบเลี่ยงความสนใจจากผู้บริโภคในค่าสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์แต่มีมากจนทำลายสุขภาพ
อนึ่ง เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 10 จังหวัด ประกอบไปด้วย ตัวแทนจากเชียงใหม่, พะเยา, ขอนแก่น, ร้อยเอ็ด, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, กาญจนบุรี, สมุทรสงคราม, สตูล และกรุงเทพฯ เป็นสมาชิกของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค