คงไม่มีใครคาดคิดว่าโลกจะต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติต่างๆ ที่ทวีความรุนแรง เช่น ทุกวันนี้ ทั้งที่เกิดจากการใช้กำลังเพื่อยุติความขัดแย้งในบางประเทศ การทำสงคราม และ ภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว อุทกภัยหรือสึนามิ เป็นต้น อันนำมาซึ่งความเสียหายและความสูญเสีย ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตหรือบางกรณีหายไปอย่างไร้ร่องรอย
เนื่องจากบุคคลทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น สภาพความเป็นบุคคลจึงมีความสำคัญ
กรณีเสียชีวิตนั้น ญาติพี่น้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตสามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเพื่อออกใบมรณะบัตรไว้เป็นหลักฐานการเสียชีวิต เพื่อนำไปดำเนินการกับทรัพย์สินหรือสิทธิหน้าที่ต่างๆของผู้ตายต่อไป เช่น การจัดการมรดก การประกันชีวิต เป็นต้น
แต่ในกรณีหายไปอย่างไร้ร่อยรอย มีปัญหาตามมาว่าญาติพี่น้องหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้สูญหายต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 61 กำหนดว่า “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือ 2 ปี
(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปางถูกทำลาย หรือสูญหายไป
(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน(1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”
การสาบสูญ หมายถึง การสิ้นสภาพบุคคล เมื่อศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี
ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้ที่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์หากศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ เช่น บิดา มารดา บุตร สามี ภริยา เป็นต้น หรือพนักงานอัยการ อาจมีคำร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ผู้ไม่มีส่วนได้เสียไม่สามารถร้องขอให้ศาลสั่งแสดงความสาบสูญได้ เช่น ผู้ไม่มีสิทธิรับมรดกจะร้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าเจ้ามรดกสาบสูญไม่ได้ ถ้าไม่ได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์จากการที่ศาลสั่งแสดงความสาบสูญ ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้สาบสูญ
การรบหรือสงครามนั้น สงครามตามกฎหมายระหว่างประเทศต้องมีการประกาศสงคราม เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศที่เข้าร่วมสงครามได้ประกาศสงคราม แต่สงครามที่เกิดขึ้นในเวียดนามหรือที่กำลังเป็นอยู่ในลิเบียขณะนี้นั้นไม่มีประเทศใดประกาศสงคราม ดังนั้น ในกรณีสงครามกลางเมืองที่ไม่มีการประกาศสงครามและฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าร่วมสงคราม ซึ่งถ้าพิจารณาตามกฎหมายระหว่างประเทศอาจจะไม่เป็นสงคราม แต่เมื่อพิจารณาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว บริเวณที่มีการรบถือได้ว่าเป็นสงครามตามนัยของมาตรา 61 แล้ว
กรณียานพาหนะที่บุคคลเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป หมายความรวมถึงอากาศยาน เรือ และพาหนะอื่นซึ่งรวมถึงรถยนต์ด้วย เช่น ในกรณีเรืออับปางศาลจังหวัดสตูลได้มีคำสั่งให้ นาย ก. เป็นคนสาบสูญ เนื่องจากศาลได้ไต่สวนพยานหลักฐานผู้ร้องแล้ว ได้ความว่า นาย ก. ประสบเหตุเรืออับปางกลางทะเล และไม่มีใครรู้แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ มาเป็นเวลา 2 ปีเศษ
ภยันตรายแก่ชีวิตประการอื่น หมายถึง กรณีทั่วๆไป นอกจากการรบหรือสงคราม นอกจากยานพาหนะอับปาง เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้โรงงาน อุทกภัย อัคคีภัย โรคระบาดต่างๆ เป็นต้น
ผลของคำสั่งว่าบุคคลใดเป็นคนสาบสูญนั้น กฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ทรัพย์สินของผู้สาบสูญก็จะกลายเป็นมรดก สิทธิหรือฐานะทั้งหลายอันเป็นการเฉพาะตัวของผู้สาบสูญก็สิ้นสุดลง และหากผู้สาบสูญได้ทำประกันชีวิตไว้ ผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตก็สามารถเรียกเงินจากสัญญาประกันชีวิตได้
แต่การสาบสูญไม่ได้ทำให้ความเป็นสามีภริยาสิ้นสุดลงเพราะกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า การถึงแก่ความตายที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลง ต้องเป็นการถึงแก่ความตายโดยธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้น คู่สมรสของผู้สาบสูญต้องฟ้องหย่าเพื่อให้การสมรสสิ้นสุดลง โดยนำคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนี้ไปเป็นหลักฐานในการฟ้องหย่า
สำหรับสถิติคดีที่ยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญทั่วประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – 2553 มีทั้งหมด 3,406 คดี เฉพาะจากเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 นั้นมีผู้สูญหายมากกว่า 2,000 คน
แม้กฎหมายจะสันนิษฐานเด็ดขาดว่า ผู้สาบสูญถึงแก่ความตาย แต่หากต่อมาปรากฏว่าบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ ผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการหรือ ผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญสามารถร้องขอให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้ แต่การถอนคำสั่งนี้ไม่กระทบกระเทือนต่อความสมบรูณ์แห่งการทั้งหลายที่ได้ทำไปโดยสุจริตในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาที่ถอนคำสั่งนั้น คำสั่งให้เป็นสาบสูญหรือคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้น เมื่อบุคคลใดหายไปโดยไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นมีชีวิตอยู่หรือไม่เป็นเวลา 5 ปีหรือ 2 ปีแล้วแต่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ สามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญหรือฟ้องหย่าได้
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
เนื่องจากบุคคลทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น สภาพความเป็นบุคคลจึงมีความสำคัญ
กรณีเสียชีวิตนั้น ญาติพี่น้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตสามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเพื่อออกใบมรณะบัตรไว้เป็นหลักฐานการเสียชีวิต เพื่อนำไปดำเนินการกับทรัพย์สินหรือสิทธิหน้าที่ต่างๆของผู้ตายต่อไป เช่น การจัดการมรดก การประกันชีวิต เป็นต้น
แต่ในกรณีหายไปอย่างไร้ร่อยรอย มีปัญหาตามมาว่าญาติพี่น้องหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้สูญหายต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 61 กำหนดว่า “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือ 2 ปี
(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปางถูกทำลาย หรือสูญหายไป
(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน(1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”
การสาบสูญ หมายถึง การสิ้นสภาพบุคคล เมื่อศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี
ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้ที่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์หากศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ เช่น บิดา มารดา บุตร สามี ภริยา เป็นต้น หรือพนักงานอัยการ อาจมีคำร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ผู้ไม่มีส่วนได้เสียไม่สามารถร้องขอให้ศาลสั่งแสดงความสาบสูญได้ เช่น ผู้ไม่มีสิทธิรับมรดกจะร้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าเจ้ามรดกสาบสูญไม่ได้ ถ้าไม่ได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์จากการที่ศาลสั่งแสดงความสาบสูญ ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้สาบสูญ
การรบหรือสงครามนั้น สงครามตามกฎหมายระหว่างประเทศต้องมีการประกาศสงคราม เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศที่เข้าร่วมสงครามได้ประกาศสงคราม แต่สงครามที่เกิดขึ้นในเวียดนามหรือที่กำลังเป็นอยู่ในลิเบียขณะนี้นั้นไม่มีประเทศใดประกาศสงคราม ดังนั้น ในกรณีสงครามกลางเมืองที่ไม่มีการประกาศสงครามและฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าร่วมสงคราม ซึ่งถ้าพิจารณาตามกฎหมายระหว่างประเทศอาจจะไม่เป็นสงคราม แต่เมื่อพิจารณาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว บริเวณที่มีการรบถือได้ว่าเป็นสงครามตามนัยของมาตรา 61 แล้ว
กรณียานพาหนะที่บุคคลเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป หมายความรวมถึงอากาศยาน เรือ และพาหนะอื่นซึ่งรวมถึงรถยนต์ด้วย เช่น ในกรณีเรืออับปางศาลจังหวัดสตูลได้มีคำสั่งให้ นาย ก. เป็นคนสาบสูญ เนื่องจากศาลได้ไต่สวนพยานหลักฐานผู้ร้องแล้ว ได้ความว่า นาย ก. ประสบเหตุเรืออับปางกลางทะเล และไม่มีใครรู้แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ มาเป็นเวลา 2 ปีเศษ
ภยันตรายแก่ชีวิตประการอื่น หมายถึง กรณีทั่วๆไป นอกจากการรบหรือสงคราม นอกจากยานพาหนะอับปาง เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้โรงงาน อุทกภัย อัคคีภัย โรคระบาดต่างๆ เป็นต้น
ผลของคำสั่งว่าบุคคลใดเป็นคนสาบสูญนั้น กฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ทรัพย์สินของผู้สาบสูญก็จะกลายเป็นมรดก สิทธิหรือฐานะทั้งหลายอันเป็นการเฉพาะตัวของผู้สาบสูญก็สิ้นสุดลง และหากผู้สาบสูญได้ทำประกันชีวิตไว้ ผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตก็สามารถเรียกเงินจากสัญญาประกันชีวิตได้
แต่การสาบสูญไม่ได้ทำให้ความเป็นสามีภริยาสิ้นสุดลงเพราะกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า การถึงแก่ความตายที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลง ต้องเป็นการถึงแก่ความตายโดยธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้น คู่สมรสของผู้สาบสูญต้องฟ้องหย่าเพื่อให้การสมรสสิ้นสุดลง โดยนำคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนี้ไปเป็นหลักฐานในการฟ้องหย่า
สำหรับสถิติคดีที่ยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญทั่วประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – 2553 มีทั้งหมด 3,406 คดี เฉพาะจากเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 นั้นมีผู้สูญหายมากกว่า 2,000 คน
แม้กฎหมายจะสันนิษฐานเด็ดขาดว่า ผู้สาบสูญถึงแก่ความตาย แต่หากต่อมาปรากฏว่าบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ ผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการหรือ ผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญสามารถร้องขอให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้ แต่การถอนคำสั่งนี้ไม่กระทบกระเทือนต่อความสมบรูณ์แห่งการทั้งหลายที่ได้ทำไปโดยสุจริตในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาที่ถอนคำสั่งนั้น คำสั่งให้เป็นสาบสูญหรือคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้น เมื่อบุคคลใดหายไปโดยไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นมีชีวิตอยู่หรือไม่เป็นเวลา 5 ปีหรือ 2 ปีแล้วแต่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ สามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญหรือฟ้องหย่าได้
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม