แพทยสภาออกแนวทางการรักษาและวิจัยสเต็มเซลล์ควบคุมแพทย์ ตามข้อบังคับแพทยสภา ก่อนมีผลบังคับใช้เอาจริง 11 พฤษภาคมนี้ เตือนหมอปฏิบัติตามข้อบังคับแพทยสภารีบยื่นขอรับรองการวิจัยในคนใน 120 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฝ่าฝืนผิดจริยธรรม โทษหนักถึงขึ้นยึดใบประกอบวิชาชีพ
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวภายหลังการสัมมนาแนวทางการรักษาและการวิจัยเกี่ยวกับข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมวิชาชีพเวชกรรมเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษา พ.ศ.2552 ว่า ข้อบังคับแพทยสภาดังกล่าว ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน ในการรักษาด้วยการใช้สเต็มเซลล์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาที่ได้รับการรับรองมีเพียงโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ส่วนการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในโรคอื่นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้
“การหารือวันนี้เป็นการชี้แจงถึงร่างวิธีการดำเนินการมาตรฐานคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภาเพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการมาตรฐานการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและควบคุมแพทย์ให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งคาดว่าจะเสร็จก่อนที่จะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 นี้ ทั้งนี้ มีแพทย์ส่วนหนึ่งกังวลว่าการนำเสนอโครงการวิจัยเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมฯ จะกลายเป็นคอขวด เนื่องจากมีที่ส่งเรื่องเกี่ยวกับการวิจัยสเต็มเซลล์ในการรักษามาเรื่อยๆ ทั้งการรักษาโรคหัวใจ ผิวหนัง ซึ่งต้องพิจารณาว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ ได้รับการยอมรับในการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือไม่ เป็นต้น” นพ.สมศักดิ์กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า แพทยสภามีอำนาจในการดูควบคุมมาตรฐานวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่แพทย์ทำการรักษาในคนไข้ เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนที่อยู่ระหว่างการทดลองในหลอดทดลองไม่สามารถครอบคลุมได้ ซึ่งหากกฎหมายมีผลบังคับใช้โรงพยาบาลใดมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสเต็มเซลล์ และจะมีการนำไปใช้รักษานั้น จำเป็นต้องส่งเรื่องมาเพื่อขอการรับรองจากแพทยสภาก่อน โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่มีการดำเนินการเรื่องนี้โดยไม่เคยได้รับการรับรองมาก่อน จะต้องยื่นเรื่องต่อแพทยสภาภายใน 120 วันหลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา หากฝ่าฝืนแพทยสภาจะฟ้องร้องต่อโรงพยาบาลฐานผิดจริยธรรม ซึ่งนำไปสู่การพัก หรือเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
“สำหรับคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา มีจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย นายกแพทยสภาเป็นประธาน ตัวแทนแพทยสภา ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนแพทย์จากราชวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงเรียนแพทย์ ทั้งศิริราชพยาบาลและโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยกรรมการทั้งหมดมีความรู้ความชำนาญ เป็นอาจารย์แพทย์ ซึ่งสามารถไว้ใจได้ ไม่มีการล้วงลูก หรือความไม่เป็นธรรมใดๆ ต่อการรับรองแน่นอน” นพ.สมศักดิ์กล่าว
อนึ่ง สำหรับขัอบังคับแพทย์สภามีสาระที่สำคัญ คือ 1.ต้องเป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาที่มีการวิจัยมาแล้ว จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานและแพทยสภาเห็นชอบ 2.ในกรณีที่เป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาโรคในคนที่ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย โครงการนั้นต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของสถาบันที่ผู้ทำวิจัยสังกัดและคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา และ 3.ผู้ทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนินเพื่อรักษาต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติของแพทยสภาหรือจากสถาบันที่แพทยสภารับรองในสาขาหรืออนุสาขาที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วยและต้องขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาว่าสามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาได้
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวภายหลังการสัมมนาแนวทางการรักษาและการวิจัยเกี่ยวกับข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมวิชาชีพเวชกรรมเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษา พ.ศ.2552 ว่า ข้อบังคับแพทยสภาดังกล่าว ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน ในการรักษาด้วยการใช้สเต็มเซลล์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาที่ได้รับการรับรองมีเพียงโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ส่วนการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในโรคอื่นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้
“การหารือวันนี้เป็นการชี้แจงถึงร่างวิธีการดำเนินการมาตรฐานคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภาเพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการมาตรฐานการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและควบคุมแพทย์ให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งคาดว่าจะเสร็จก่อนที่จะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 นี้ ทั้งนี้ มีแพทย์ส่วนหนึ่งกังวลว่าการนำเสนอโครงการวิจัยเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมฯ จะกลายเป็นคอขวด เนื่องจากมีที่ส่งเรื่องเกี่ยวกับการวิจัยสเต็มเซลล์ในการรักษามาเรื่อยๆ ทั้งการรักษาโรคหัวใจ ผิวหนัง ซึ่งต้องพิจารณาว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ ได้รับการยอมรับในการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือไม่ เป็นต้น” นพ.สมศักดิ์กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า แพทยสภามีอำนาจในการดูควบคุมมาตรฐานวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่แพทย์ทำการรักษาในคนไข้ เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนที่อยู่ระหว่างการทดลองในหลอดทดลองไม่สามารถครอบคลุมได้ ซึ่งหากกฎหมายมีผลบังคับใช้โรงพยาบาลใดมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสเต็มเซลล์ และจะมีการนำไปใช้รักษานั้น จำเป็นต้องส่งเรื่องมาเพื่อขอการรับรองจากแพทยสภาก่อน โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่มีการดำเนินการเรื่องนี้โดยไม่เคยได้รับการรับรองมาก่อน จะต้องยื่นเรื่องต่อแพทยสภาภายใน 120 วันหลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา หากฝ่าฝืนแพทยสภาจะฟ้องร้องต่อโรงพยาบาลฐานผิดจริยธรรม ซึ่งนำไปสู่การพัก หรือเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
“สำหรับคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา มีจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย นายกแพทยสภาเป็นประธาน ตัวแทนแพทยสภา ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนแพทย์จากราชวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงเรียนแพทย์ ทั้งศิริราชพยาบาลและโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยกรรมการทั้งหมดมีความรู้ความชำนาญ เป็นอาจารย์แพทย์ ซึ่งสามารถไว้ใจได้ ไม่มีการล้วงลูก หรือความไม่เป็นธรรมใดๆ ต่อการรับรองแน่นอน” นพ.สมศักดิ์กล่าว
อนึ่ง สำหรับขัอบังคับแพทย์สภามีสาระที่สำคัญ คือ 1.ต้องเป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาที่มีการวิจัยมาแล้ว จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานและแพทยสภาเห็นชอบ 2.ในกรณีที่เป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาโรคในคนที่ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย โครงการนั้นต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของสถาบันที่ผู้ทำวิจัยสังกัดและคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา และ 3.ผู้ทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนินเพื่อรักษาต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติของแพทยสภาหรือจากสถาบันที่แพทยสภารับรองในสาขาหรืออนุสาขาที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วยและต้องขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาว่าสามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาได้