สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ซัดนโยบายส่งเสริมสุขภาพประชาชนรัฐล้มเหลว รายงานสรุปผลดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าชัด ยอดผู้ป่วยโรคจากพฤติกรรมไม่ลด แถมพุ่งสูงต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่อนามัยหนุนรัฐยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่อย่าปรับแค่ตัวตึก ต้องเพิ่มอัตรากำลัง พัฒนาบุคลควบคู่ วอนเร่งออก พ.ร.บ.การส่งเสริมสุขภาพฯ ช่วยประสิทธิภาพงานส่งเสริมสุขภาพประชาชนเดินหน้าเต็ม 100%
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีการรายงานสรุปผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2551 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2547-2551 แสดงให้เห็นว่า ผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ได้ผลคุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป โดยเด็กอายุ 0-5 ปีที่มีภาวะโภชนาการบกพร่อง และเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมถึงอัตราการเจ็บป่วยของประชากรด้วยโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดในสมองอุดตัน โรคอ้วนจากภาวะโภชนาเกิน อุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคถุงลมโป่งพอง ยังคงเป็นโรคฮิตติด 10 อันดับต้นที่คนไทยป่วย และยังคงมีแนวโน้มการป่วยในอัตราเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่โรคเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่เพียงพอ สะท้อนความล้มเหลวของนโยบายการส่งเสริมสุขภาพประชาชน
นายไพศาล กล่าวต่อว่า จากการสอบถามความคิดเห็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานในสถานีอนามัยทุกภาคส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของรัฐบาล โดยภาคใต้เห็นด้วยมากถึง 91% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80% ภาคเหนือและภาคกลาง 60 % เนื่องจากเห็นว่าจะช่วยให้การดำเนินงานเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ มีการสำรวจข้อมูล พบว่า ภายหลังจากที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองเมื่อปี 2545 สัดส่วนการใช้บริการในสถานบริการสาธารณสุข ประชาชนมีแนวโน้มไปใช้บริการที่สถานีอนามัย หรือหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้น และประชาชนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมีผู้รับบริการที่สถานีอนามัยมากกว่าร้อยละ 48
“เจ้าหน้าที่ที่เป็นสมาชิกสมาคมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการดำเนินงานของโรงพยาบาลแห่งนี้จะต้องมีความแตกต่างจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีอยู่แล้ว ควรมุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนเป็นหลักมากกว่าการเน้นการตรวจและรักษาโรค ซึ่งงานส่งเสริมสุขภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้บุคลากรที่ประชาชนให้ความเชื่อถือและมีศักยภาพสูงในการปฏิบัติงาน จึงมีความเป็นห่วงว่าการดำเนินการยกระดับสถานีอนามัย รัฐบาลจะมุ่งแต่เฉพาะการปรับปรุงในส่วนที่เป็นอาคารสถานที่และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่อง จนลืมที่จะพัฒนาและเสริมศักยภาพของบุคลากร ที่เป็นกลุ่มคนที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์บรรลุเป้าที่แท้จริง”นายไพศาล กล่าว
นายไพศาล กล่าวอีกว่า สมาคมเห็นว่า รัฐบาลและพรรคการเมืองทุกพรรค หากต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและช่วยประหยัดงบประมาณในการรักษาประชาชน ควรที่จะเร่งพิจารณาร่างพ.ร.บ. 2 ฉบับให้แล้วเสร็จภายในการเปิดประชุมสภาสมัยการประชุมนี้ คือ พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข ที่มีการนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้ว โดยผู้แทน สส.พรรคประชาธิปัตย์ 20 ท่าน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา และ พ.ร.บ.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ ยังไม่มีการพิจารณาเพื่อนำเข้าสู่สภาฯ แต่ตัวแทนสมาคมฯได้ส่งมอบร่าง พ.ร.บ.2 ฉบับต่อนายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภา เพื่อเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในนามของรัฐบาลแล้ว
“มั่นใจว่า พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามนโยบายของรัฐบาลมีประสิทธิภาพเต็ม 100% ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชน ซึ่งมิติในระบบการสาธารณสุขจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเน้นในเรื่องนี้มากกว่าการรักษาอย่างที่ผ่านมา เพราะหากส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงไอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลไม่ต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาผู้ป่วยและช่วยให้เศรษฐกิจไทยพัฒนาขึ้นจากการที่กำลังคนมีสุขภาพแข็งแรง” นายไพศาล กล่าว
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีการรายงานสรุปผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2551 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2547-2551 แสดงให้เห็นว่า ผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ได้ผลคุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป โดยเด็กอายุ 0-5 ปีที่มีภาวะโภชนาการบกพร่อง และเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมถึงอัตราการเจ็บป่วยของประชากรด้วยโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดในสมองอุดตัน โรคอ้วนจากภาวะโภชนาเกิน อุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคถุงลมโป่งพอง ยังคงเป็นโรคฮิตติด 10 อันดับต้นที่คนไทยป่วย และยังคงมีแนวโน้มการป่วยในอัตราเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่โรคเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่เพียงพอ สะท้อนความล้มเหลวของนโยบายการส่งเสริมสุขภาพประชาชน
นายไพศาล กล่าวต่อว่า จากการสอบถามความคิดเห็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานในสถานีอนามัยทุกภาคส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของรัฐบาล โดยภาคใต้เห็นด้วยมากถึง 91% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80% ภาคเหนือและภาคกลาง 60 % เนื่องจากเห็นว่าจะช่วยให้การดำเนินงานเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ มีการสำรวจข้อมูล พบว่า ภายหลังจากที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองเมื่อปี 2545 สัดส่วนการใช้บริการในสถานบริการสาธารณสุข ประชาชนมีแนวโน้มไปใช้บริการที่สถานีอนามัย หรือหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้น และประชาชนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมีผู้รับบริการที่สถานีอนามัยมากกว่าร้อยละ 48
“เจ้าหน้าที่ที่เป็นสมาชิกสมาคมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการดำเนินงานของโรงพยาบาลแห่งนี้จะต้องมีความแตกต่างจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีอยู่แล้ว ควรมุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนเป็นหลักมากกว่าการเน้นการตรวจและรักษาโรค ซึ่งงานส่งเสริมสุขภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้บุคลากรที่ประชาชนให้ความเชื่อถือและมีศักยภาพสูงในการปฏิบัติงาน จึงมีความเป็นห่วงว่าการดำเนินการยกระดับสถานีอนามัย รัฐบาลจะมุ่งแต่เฉพาะการปรับปรุงในส่วนที่เป็นอาคารสถานที่และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่อง จนลืมที่จะพัฒนาและเสริมศักยภาพของบุคลากร ที่เป็นกลุ่มคนที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์บรรลุเป้าที่แท้จริง”นายไพศาล กล่าว
นายไพศาล กล่าวอีกว่า สมาคมเห็นว่า รัฐบาลและพรรคการเมืองทุกพรรค หากต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและช่วยประหยัดงบประมาณในการรักษาประชาชน ควรที่จะเร่งพิจารณาร่างพ.ร.บ. 2 ฉบับให้แล้วเสร็จภายในการเปิดประชุมสภาสมัยการประชุมนี้ คือ พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข ที่มีการนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้ว โดยผู้แทน สส.พรรคประชาธิปัตย์ 20 ท่าน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา และ พ.ร.บ.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ ยังไม่มีการพิจารณาเพื่อนำเข้าสู่สภาฯ แต่ตัวแทนสมาคมฯได้ส่งมอบร่าง พ.ร.บ.2 ฉบับต่อนายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภา เพื่อเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในนามของรัฐบาลแล้ว
“มั่นใจว่า พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามนโยบายของรัฐบาลมีประสิทธิภาพเต็ม 100% ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชน ซึ่งมิติในระบบการสาธารณสุขจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเน้นในเรื่องนี้มากกว่าการรักษาอย่างที่ผ่านมา เพราะหากส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงไอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลไม่ต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาผู้ป่วยและช่วยให้เศรษฐกิจไทยพัฒนาขึ้นจากการที่กำลังคนมีสุขภาพแข็งแรง” นายไพศาล กล่าว