“วิทยา” ยันเศรษฐกิจซบเซา รพ.รัฐ ไม่กระทบ มีเงินพอ สั่ง สปสช.ทบทวนงบกลางใหม่เสนอเข้า ครม.ก.ย.-ต.ค.นี้ แนะคำนวณตัวเลขจริงคนว่างงานย้ายสิทธิ์มาอยู่บัตรทอง ขณะที่สมาคม รพ.เอกชน งง ไม่รู้มาก่อนว่า รพ.เอกชน ขาดทุน ปิด ICU ปลดพนักงาน แต่เจอผลกระทบช่วงปิดสนามบินจริง ผู้บริหาร รพ.สมิติเวช บำรุงราษฎร์ พร้อมเปิดอกแถลงข่าวแจง 3 ก.พ.นี้
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีแนวโน้มจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ว่า ก่อนหน้านี้ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รายงานให้ทราบถึงผลกระทบของผู้ประกันตนที่ว่างงานและจะย้ายสิทธิ์จากประสันสังคม (สปส.) มาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประมาณ 1 ล้านคน ซึ่ง สปสช.ได้เสนอของบกลางจำนวน 1,900 ล้านบาท มาดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ทาง ครม.ให้ สปสช.ทบทวนงบประมาณส่วนนี้ใหม่ เนื่องจาก สปส.ยังดูแลผู้ประกันตนต่อไปอีก 6 เดือน ดังนั้น ในช่วงนี้จึงยังไม่กระทบกับ สปสช.มากนัก
“ในระหว่างนี้ สปสช.จะต้องจัดทำตัวเลขเสนอของบกลางใหม่ และเสนอกลับเข้า ครม.อีกครั้งประมาณเดือนกันยายน หรือตุลาคมนี้ โดย สปสช.จะต้องคำนวณจากผู้ประกันตนที่ย้ายสิทธิ์มาอยู่กับ สปสช.จริง เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ชัดเจน ไม่ใช่ประมาณการ ซึ่ง นพ.วินัย ก็รับทราบ และให้ความมั่นใจว่า ในระหว่างที่ยังไม่ได้งบกลางจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สปสช.ยังมีงบประมาณเพียงพอรองรับปัญหาเบื้องต้นได้ ส่วนงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2553 เบื้องต้น สปสช.ได้เสนอขอจำนวน 2,694.43 บาทต่อประชากร เพิ่มจากเดิม 492.43 บาท” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยมาใช้สิทธิ์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มมากขึ้น มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการรักษาโรคแบบไม่คิดค่าตอบแทน รักษาฟรี ทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจที่จะเข้ารับบริการได้ง่ายกว่าที่จะไปรักษาที่สถานพยาบาลอื่นที่ต้องเสียเงินเอง 2.ปัจจุบันมีผู้ป่วยสูงวัย ซึ่งป่วยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานไขข้อ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูง
“การแก้ปัญหาในเบื้องต้น มีนโยบายให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่จะได้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มเดือนละ 600 บาท ในเดือนเมษายนนี้ ทำให้หน้าเป็นหน่วยแรกในการรณรงค์ป้องกันสุขภาพของประชาชนตั้งแต่แรกเกิด เริ่มจากการดูแลสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด อสม.จะมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเด็กทารกจนกระทั่งเด็กโตไปด้วย ซึ่งหากทำสำเร็จมั่นใจว่าต่อไปประชาชนจะมีสุขภาพดีขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างแผนการดำเนินงานของ อสม.คาดว่า จะแล้วเสร็จทันวัน อสม.แห่งชาติ วันที่ 20 มีนาคมนี้” นายวิทยา กล่าว
ด้าน นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ไม่เคยทราบข่าวว่า มีห้องฉุกเฉิน (ICU) ของโรงพยาบาลใดต้องปิด และไม่ทราบข่าวว่ามีโรงพยาบาลเอกชนใดต้องให้พนักงานออกจากงาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการปิดสนามบินนานาสุวรรณภูมิ ปิด 1 สัปดาห์ อาจมีโรงพยาบาลได้รับผลกระทบบ้าง แต่หลักจากเปิดใช้สนามบินแล้วจะมีการกลับคืนสู่สภาพปกติอย่างไร ก็ไม่ทราบ เพราะไม่มีการรายงานผล ส่วนปัญหาการปรับเพิ่ม หรือลดค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ถือเป็นเรื่องการบริหารงานของโรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และที่สำคัญ ยังไม่เคยที่โรงพยาบาลใดรายงานมายังสมาคมให้ทราบว่า ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้สูญเสียรายได้ไปเท่าไร
“หากใครสนใจอยากทราบว่าโรงพยาบาลเอกชนได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจริงหรือไม่ ให้มาฟังจากปากผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการชาวต่างชาติ อาทิ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สมิติเวช เป็นต้น ซึ่งจะมีการแถลงข่าวในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 10.00 น.ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซอยศูนย์วิจัย ส่วนกรณีของโรงพยาบาลบางกอก 9 เอ็นเตอร์แนชั่นแนล ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ก็ไม่เคยทราบมาก่อน แม้จะเป็นสมาชิกในสมาคมก็ตาม เพราะไม่ได้รายงานมายังสมาคม” นพ.เอื้อชาติ กล่าว
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีแนวโน้มจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ว่า ก่อนหน้านี้ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รายงานให้ทราบถึงผลกระทบของผู้ประกันตนที่ว่างงานและจะย้ายสิทธิ์จากประสันสังคม (สปส.) มาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประมาณ 1 ล้านคน ซึ่ง สปสช.ได้เสนอของบกลางจำนวน 1,900 ล้านบาท มาดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ทาง ครม.ให้ สปสช.ทบทวนงบประมาณส่วนนี้ใหม่ เนื่องจาก สปส.ยังดูแลผู้ประกันตนต่อไปอีก 6 เดือน ดังนั้น ในช่วงนี้จึงยังไม่กระทบกับ สปสช.มากนัก
“ในระหว่างนี้ สปสช.จะต้องจัดทำตัวเลขเสนอของบกลางใหม่ และเสนอกลับเข้า ครม.อีกครั้งประมาณเดือนกันยายน หรือตุลาคมนี้ โดย สปสช.จะต้องคำนวณจากผู้ประกันตนที่ย้ายสิทธิ์มาอยู่กับ สปสช.จริง เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ชัดเจน ไม่ใช่ประมาณการ ซึ่ง นพ.วินัย ก็รับทราบ และให้ความมั่นใจว่า ในระหว่างที่ยังไม่ได้งบกลางจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สปสช.ยังมีงบประมาณเพียงพอรองรับปัญหาเบื้องต้นได้ ส่วนงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2553 เบื้องต้น สปสช.ได้เสนอขอจำนวน 2,694.43 บาทต่อประชากร เพิ่มจากเดิม 492.43 บาท” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยมาใช้สิทธิ์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มมากขึ้น มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการรักษาโรคแบบไม่คิดค่าตอบแทน รักษาฟรี ทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจที่จะเข้ารับบริการได้ง่ายกว่าที่จะไปรักษาที่สถานพยาบาลอื่นที่ต้องเสียเงินเอง 2.ปัจจุบันมีผู้ป่วยสูงวัย ซึ่งป่วยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานไขข้อ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูง
“การแก้ปัญหาในเบื้องต้น มีนโยบายให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่จะได้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มเดือนละ 600 บาท ในเดือนเมษายนนี้ ทำให้หน้าเป็นหน่วยแรกในการรณรงค์ป้องกันสุขภาพของประชาชนตั้งแต่แรกเกิด เริ่มจากการดูแลสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด อสม.จะมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเด็กทารกจนกระทั่งเด็กโตไปด้วย ซึ่งหากทำสำเร็จมั่นใจว่าต่อไปประชาชนจะมีสุขภาพดีขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างแผนการดำเนินงานของ อสม.คาดว่า จะแล้วเสร็จทันวัน อสม.แห่งชาติ วันที่ 20 มีนาคมนี้” นายวิทยา กล่าว
ด้าน นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ไม่เคยทราบข่าวว่า มีห้องฉุกเฉิน (ICU) ของโรงพยาบาลใดต้องปิด และไม่ทราบข่าวว่ามีโรงพยาบาลเอกชนใดต้องให้พนักงานออกจากงาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการปิดสนามบินนานาสุวรรณภูมิ ปิด 1 สัปดาห์ อาจมีโรงพยาบาลได้รับผลกระทบบ้าง แต่หลักจากเปิดใช้สนามบินแล้วจะมีการกลับคืนสู่สภาพปกติอย่างไร ก็ไม่ทราบ เพราะไม่มีการรายงานผล ส่วนปัญหาการปรับเพิ่ม หรือลดค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ถือเป็นเรื่องการบริหารงานของโรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และที่สำคัญ ยังไม่เคยที่โรงพยาบาลใดรายงานมายังสมาคมให้ทราบว่า ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้สูญเสียรายได้ไปเท่าไร
“หากใครสนใจอยากทราบว่าโรงพยาบาลเอกชนได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจริงหรือไม่ ให้มาฟังจากปากผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการชาวต่างชาติ อาทิ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สมิติเวช เป็นต้น ซึ่งจะมีการแถลงข่าวในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 10.00 น.ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซอยศูนย์วิจัย ส่วนกรณีของโรงพยาบาลบางกอก 9 เอ็นเตอร์แนชั่นแนล ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ก็ไม่เคยทราบมาก่อน แม้จะเป็นสมาชิกในสมาคมก็ตาม เพราะไม่ได้รายงานมายังสมาคม” นพ.เอื้อชาติ กล่าว