สธ.-สถาบันประสาทวิทยา และ สปสช.จัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินดูแลโรคหลอดเลือดสมองแนวใหม่ ช่วยเหลือทันทีใน 3 ชั่วโมง หากมาสายมีสิทธิ์เสียชีวิตและพิการสูง หลังพบคนไทยเสี่ยงป่วยโรคหลอดเลือดสมองกว่า 10 ล้านคน มีรพ.เข้าร่วมนำร่อง 15 แห่ง มีระบบจัดการแบบครบวงจร สามารถลดอัตราเสียชีวิตเหลือเพียงร้อยละ 6 และลดความพิการได้มาก เหตุของโรคเกิดจากการบริโภคผิด ไม่ออกกำลังกาย เบาหวาน ความดัน หัวใจ คุกคาม
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการในระดับต้นๆ เมื่อเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อฉีดยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยก็มีอายุยืนยาวต่อไปและลดอัตราความพิการ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ารักษาได้ทันเวลามีเพียงร้อยละ 1.96 เท่านั้น ซึ่งทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการสูงมาก ดังนั้นการมีระบบการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว และมีความพร้อมจะช่วยลดความพิการและอัตราเสียชีวิตลงได้ สปสช.ร่วมมือกับสถาบันประสาทวิทยา และกระทรวงสาธารณสุข จัดแนวทางใหม่ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2550 มีสถานพยาบาลนำร่องฯเข้าร่วม 15 แห่ง โดยเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงทีเมื่อมีการร้องขอ
“สัญญาณของโรคนี้ที่สำคัญ ได้แก่ เวียนศีรษะ เดินเซ แขนขาอ่อนแรง มีอาการชาครึ่งซีก พูดไม่ได้ และพูดไม่ออก ปากเบี้ยว สับสน สำลักบ่อย อาจหมดสติ ต้องรีบพบแพทย์ด่วนภายใน 3 ชั่วโมง โดยสามารถแจ้งได้ที่สายด่วนบัตรทอง 1330 หรือ ศูนย์นเรนทร 1669 ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาแล้ว 65 ราย โดยสปสช.จ่ายชดเชยให้สถานพยาบาลที่ร่วมโครงการตามอัตราที่กำหนดกล่าว คือ 70,000 บาท/ราย และในปี 2552 โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการและระบบการส่งต่อ เพื่อคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป”เลขาธิการ สปสช.กล่าว
ขณะที่ นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา หน่วยประสาทวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เริ่มดำเนินการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรตั้งแต่ พฤษภาคม 2550 จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยกว่า 300 ราย จากทุกสิทธิในการรักษาพยาบาล ทั้งจากสิทธิประกันสุขภาพ สิทธิข้าราชการ และประกันสังคม ซึ่งรพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมโครงการกับ สปสช.ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2550
“อย่างไรก็ตาม จากการเข้าร่วมโครงการได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนหลังจากปรับรูปแบบการดำเนินการเป็นแบบครบวงจรคือ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตเหลือเพียงร้อยละ 6 และลดความพิการลงได้ แต่ที่ยังเป็นปัญหาที่สำคัญ คือ การให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดการดูแลเบื้องต้นยังมีไม่เพียงพอ และระบบการส่งต่อและระบบการสื่อสารในปัจจุบันยังไม่เอื้ออำนวย จึงต้องพัฒนาศักยภาพตรงจุดนี้ต่อไป” นพ.สมบัติ กล่าว
นพ.สมบัติ กล่าวต่อว่า คนไทยป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 250,000 รายต่อปี ในจำนวนนี้เสียชีวิต 50,000 รายต่อปี และยังมีประชาชนเสี่ยงที่จะป่วยจากโรคดังกล่าวอีกประมาณ 10 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมองหากเป็นแล้ว แม้รอดชีวิตก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ปัจจัยเสี่ยง คือ ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สามารถป้องกันโดยการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการกิน ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ล้วนๆ กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่ง ลดการกินอาหารไขมันสูง และงดการสูบบุหรี่ ซึ่งการจัดบริการแนวใหม่นี้ จะช่วยลดความพิการชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ นับว่าเป็นการพัฒนามาตรฐานและรูปแบบการป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการในระดับต้นๆ เมื่อเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อฉีดยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยก็มีอายุยืนยาวต่อไปและลดอัตราความพิการ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ารักษาได้ทันเวลามีเพียงร้อยละ 1.96 เท่านั้น ซึ่งทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการสูงมาก ดังนั้นการมีระบบการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว และมีความพร้อมจะช่วยลดความพิการและอัตราเสียชีวิตลงได้ สปสช.ร่วมมือกับสถาบันประสาทวิทยา และกระทรวงสาธารณสุข จัดแนวทางใหม่ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2550 มีสถานพยาบาลนำร่องฯเข้าร่วม 15 แห่ง โดยเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงทีเมื่อมีการร้องขอ
“สัญญาณของโรคนี้ที่สำคัญ ได้แก่ เวียนศีรษะ เดินเซ แขนขาอ่อนแรง มีอาการชาครึ่งซีก พูดไม่ได้ และพูดไม่ออก ปากเบี้ยว สับสน สำลักบ่อย อาจหมดสติ ต้องรีบพบแพทย์ด่วนภายใน 3 ชั่วโมง โดยสามารถแจ้งได้ที่สายด่วนบัตรทอง 1330 หรือ ศูนย์นเรนทร 1669 ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาแล้ว 65 ราย โดยสปสช.จ่ายชดเชยให้สถานพยาบาลที่ร่วมโครงการตามอัตราที่กำหนดกล่าว คือ 70,000 บาท/ราย และในปี 2552 โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการและระบบการส่งต่อ เพื่อคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป”เลขาธิการ สปสช.กล่าว
ขณะที่ นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา หน่วยประสาทวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เริ่มดำเนินการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรตั้งแต่ พฤษภาคม 2550 จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยกว่า 300 ราย จากทุกสิทธิในการรักษาพยาบาล ทั้งจากสิทธิประกันสุขภาพ สิทธิข้าราชการ และประกันสังคม ซึ่งรพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมโครงการกับ สปสช.ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2550
“อย่างไรก็ตาม จากการเข้าร่วมโครงการได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนหลังจากปรับรูปแบบการดำเนินการเป็นแบบครบวงจรคือ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตเหลือเพียงร้อยละ 6 และลดความพิการลงได้ แต่ที่ยังเป็นปัญหาที่สำคัญ คือ การให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดการดูแลเบื้องต้นยังมีไม่เพียงพอ และระบบการส่งต่อและระบบการสื่อสารในปัจจุบันยังไม่เอื้ออำนวย จึงต้องพัฒนาศักยภาพตรงจุดนี้ต่อไป” นพ.สมบัติ กล่าว
นพ.สมบัติ กล่าวต่อว่า คนไทยป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 250,000 รายต่อปี ในจำนวนนี้เสียชีวิต 50,000 รายต่อปี และยังมีประชาชนเสี่ยงที่จะป่วยจากโรคดังกล่าวอีกประมาณ 10 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมองหากเป็นแล้ว แม้รอดชีวิตก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ปัจจัยเสี่ยง คือ ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สามารถป้องกันโดยการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการกิน ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ล้วนๆ กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่ง ลดการกินอาหารไขมันสูง และงดการสูบบุหรี่ ซึ่งการจัดบริการแนวใหม่นี้ จะช่วยลดความพิการชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ นับว่าเป็นการพัฒนามาตรฐานและรูปแบบการป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย